"…เวลามีชีวิตอยู่นี้ เราจะทำความดีให้โลกทั้งหลายได้เป็นคติตัวอย่างอันดีงาม และทำด้วยความเมตตาสงสาร เพราะหลังจากนี้แล้ว… เราตายแล้ว…เราจะไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีกต่อไป เป็นตลอดอนันตกาล…"

ปณิธานของหลวงตาฯ

"พระช่วยโลกไม่ได้..ใครเล่าจะช่วยได้"

สำหรับการสงเคราะห์ด้านการศึกษานั้น ท่านให้ความช่วยเหลือตั้งแต่รายการขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเป็นล้านๆ บาท อาทิเช่น สื่อการเรียนการสอน, โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์การเรียน, ค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียนยากจน, ทุนการศึกษาเด็กกำพร้า, สร้างอาคาร, สะพานลอยสำหรับนักเรียน, ตึก, ที่ดิน ฯลฯ สำหรับบุคคลผู้ด้อยโอกาส ท่านก็ไม่เคยมองข้าม ด้วยการช่วยเหลือสถานสงเคราะห์เด็กหญิงภาคอีสานเป็นประเภทต่างๆ เช่น สร้างห้องสมุดและอุปกรณ์(คอมพิวเตอร์-ตกแต่งภายใน), รถตู้, ช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ถึงปัจจุบัน เป็นต้น นอกจากนี้หลวงตาฯ ยังให้ความอนุเคราะห์แก่สถานสงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนหลายแห่ง บางแห่งท่านให้เงินเป็นค่าจ้างพี่เลี้ยงผู้อภิบาลเด็กพิการทางสมองและปัญญา แม้แต่บุคคลไร้ญาติที่เสียชีวิตลง(ศพไร้ญาติ) ความเมตตาของท่านก็ยังก้าวเข้าไปถึง อีกประการหนึ่งในยามเกิดอุทกภัย วาตภัย หรืออัคคีภัย หลวงตาฯ ยังสั่งซื้อข้าวสาร อาหารสดและแห้ง ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น ใส่รถบรรทุกหลายสิบคันรถนำไปบริจาคแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหลายครั้งหลายหนทั้งในจังหวัดใกล้เคียง, ในภาคอื่นๆ หรือแม้แต่พี่น้องชาวลาวที่ประสบภัย
    ซึ่งล่าสุด ในปี 2549 หลวงตาได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางภาคกลาง ใน 4 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่
1. อ.สองพี่น้อง, อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
2. อ.บางเลน จ.นครปฐม
3. อ.ลาดบัวหลวง จ.ปทุมธานี

หน่วยงานราชการ และอื่นๆ

หน่วยงานที่ได้รับความอนุเคราะห์จากหลวงตา (อย่างน้อย 85 แห่ง) (แก้ไขเพิ่มเติม 6พ.ย. 2553 )

อุดรธานี (39 แห่ง) : ตชด.ค่ายเสนีย์รณยุทธ, ตำรวจทางหลวงจังหวัด, ตำรวจภูธร อ.เมืองอุดรธานี, สถานีตำรวจภูธร อ.กุมภวาปี, ตำรวจสันติบาลจังหวัด, เรือนจำกลางจังหวัด, รพช.จังหวัด, สถานีรถไฟจังหวัด, สถานสงเคราะห์เด็กหญิงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, บ้านเด็กแสงตะวัน, ศูนย์เลี้ยงเด็ก อ.โนนสะอาด, โรงเรียนบ้านตาด, โรงเรียนอุดรธรรมานุสรณ์, โรงเรียนสตรีราชินูทิศ, โรงเรียนหนองแสงวิทยา, โรงเรียนบ้านดงเมือง, โรงเรียนบ้านหนองตุ, โรงเรียนค่ายประจักษ์ศิลปาคม, โรงเรียนโนนสะอาดพิทยาสรรค์, โรงเรียนบ้านถ่อน, โรงเรียนบ้านเสาเล้าผักชี, โรงเรียนบ้านหาดสถาพร อ.โนนสะอาด, โรงเรียนหนองตูม, โรงเรียนโนนสะอาดผาสุข อ.เมือง, โรงเรียนหนองหานวิทยา อ.หนองหาน, ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อ.โนนสะอาด ,สภอ.เมืองอุดรธานี นาข่า ,โรงเรียนบ้านกกสะทอน ,มูลนิธิอุดรสว่างเมธาธรรม, กองพันทหารราบที่3 กรมทหารราบที่3 ค่ายเจ้าพระยาสุริวงศ์วัฒนศักดิ์, กองบิน 23 กองพลที่2 กองบัญชาการยุทธการทางอากาศ, ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.อุดร, สถานีตำรวจภูธร อ.เพ็ญ , ค่ายทหารปืนใหญ่ อ.โนนสูง, โรงเรียนบ้านตูม อ.กุมภวาปี, โรงเรียนอนุบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม, สถานสงเคราะห์สุนัข บ้านหนองแสง อ.เมือง , สนง.สัสดีจังหวัดอุดรธานี่
กรุงเทพมหานคร (5 แห่ง) : ทัณฑสถานหญิงกรมราชทัณฑ์, บ้านเลี้ยงสุนัขถนนพุทธมณฑล 3, สวนสัตว์ดุสิต , เรือนจำลาดยาว, สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง
เพชรบูรณ์ (4 แห่ง) : สถานีตำรวจภูธร อ.น้ำหนาว, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว(ห้วยสนามทราย), ป้อมตำรวจห้วยสนามทราย , บ้านรวมใจรักษ์ ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชน อ.หล่มสัก
นนทบุรี (2 แห่ง) : บ้านสงเคราะห์เด็กปากเกร็ด, สถานสงเคราะห์สัตว์พิการ
สกลนคร (3 แห่ง) : สถานีตำรวจภูธรกิ่ง อ.ภูพาน, โครงการพระราชดำริฝนหลวง, เรือนจำสว่างแดนดิน
อุตรดิตถ์ (3 แห่ง) : โรงเรียนฟากท่าวิทยา, โรงเรียนบ้านนาหน่ำ, โรงเรียนวัดบ้านปากไพร
หนองบัวลำภู (2 แห่ง) : เรือนจำกลางจังหวัด , กองกำกับการตำรวจภูธร
ลำปาง (1 แห่ง) : ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด
กาญจนบุรี (1 แห่ง) : มูลนิธิวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ขอนแก่น (3 แห่ง) : อุทยานแห่งชาติภูเวียง , เรือนจำอำเภอพล, กองพันทหารปืนใหญ่
นครราชสีมา (3 แห่ง) : อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ , สำนักงานหน่วยป้องกันรักษาป่า นม.10 (วะภูแก้ว) อ.สูงเนิน, กองทัพภาคที่ 2
หนองคาย (2 แห่ง) : สถานีเรือรัตนวาปี , เรื่อนจำอำเภอบึงกาฬ
กระบี่ ( 1 แห่ง) : โรงเรียนปลายพระยาวิทยาคม อ.ปลายพระยา
เลย (2 แห่ง) : โรงเรียนบ้านนาแห้ว อ.นาแห้ว, , เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูเรือ
พังงา (2 แห่ง) : โรงเรียนบางเตย,โรงเรียนเกาะเคี่ยม อ.เมือง
สมุทรปราการ (1 แห่ง) : โรงเรียนคลองหลวง
ชัยภูมิ(4 แห่ง) : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว,ศูนย์พิทักษ์ป่าภูเขียวที่ 2 (ปางม่วง), สถานีตำรวจภูธร อ.เกษตรสมบูรณ์ , สถานีตำรวจภูธร ต.บ้านเดื่อ อ.เกษตรสมบูรณ์
นครนายก(1แห่ง) : บ้านสงเคราะห์สุนัข วัดโปร่งไผ่จันทรังษี ต.เขาเพิ่ม อ.บ้านนา
ศรีษะเกษ(1แห่ง) : สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอ ศิลาลาด
กาฬสินธ์ (1 แห่ง) : ที่ว่าการอำเภอคำม่วง
เชียงใหม่ (1 แห่ง): มูลนิธิช่วยเหลือชนบท
จันทบุรี (1 แห่ง): กองพันทหารราบที่2 กองพลทหารราบที่1 กรมนาวิกโยธิน
นครพนม (1 แห่ง): กรมทหารราบที่ 3
มหาสารคาม (1 แห่ง) : เรือนจำจังหวัด
ประเทศลาว(1 แห่ง) : มูลนิธิช่วยเหลือคนทุกข์ยากแห่ง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว

ประเภทของการช่วยเหลือเป็นสาธารณะประโยชน์มีหลายประการ เช่น สร้างและขยายถนน, สร้างสะพาน, ขุดสระน้ำให้ชาวบ้านใช้, ขุดสระให้สัตว์ได้ใช้กิน ฯลฯ ในด้านการสงเคราะห์หน่วยงานราชการก็มีหลายสิบแห่งด้วยกัน โดยให้การช่วยเหลือหลายลักษณะ อาทิเช่น
-สร้างถนน -ลานฝึกและอาคารปันน้ำใจ -สถานที่ทำงาน
-สร้างป้อมตำรวจ -อุปกรณ์สำนักงาน -เครื่องมือทำงาน
-สิ่งก่อสร้างภายในหน่วยงาน -เครื่องอุปโภคบริโภคข้าราชการ -จ่ายเงินค่าจ้างเจ้าหน้าที่
-สร้างสถานีรถไฟ -รถบัสปรับอากาศ -รถกระบะ
-รถยนต์ -รถตู้พยาบาลพร้อมอุปกรณ์ -ตั้งกองทุนมูลนิธิ
-สมทบสร้างอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ -ต่อเติมเรือนนอนผู้ต้องขังหญิง -ซ่อมแซมและก่อสร้างเรือนอาคารสำหรับเด็กแรกเกิดในเรือนจำหญิง
-ห้องอาบน้ำรวมในเรือนจำ -อาคารในเรือนจำ -เครื่องอุปโภคแก่นักโทษ
-ห้องสุขานักโทษชายและหญิง -เจาะบาดาล ถังน้ำ ติดตั้งไฟฟ้าในอุทยาน -ช่วยเหลือการเกษตร
-ซื้อที่ดินกว่าแสนไร่ฟื้นฟูสภาพป่า -เงินว่าจ้างเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ -สร้างห้องน้ำและประปาในอุทยาน
-สร้างป้อมป่าไม้ -ทำฝนเทียม - ฯลฯ

อีกด้านหนึ่งซึ่งแสดงถึงความเมตตาอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณของหลวงตาฯก็คือ ไม่ว่าท่านมีโอกาสได้เดินทางไปยังสถานที่ใด ท่านจะต้องจัดหาอาหารสด อาหารแห้ง ไปแจกจ่ายเป็นทานแก่สัตว์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือจังหวัดใกล้เคียง ชนิดของสัตว์ที่ให้การสงเคราะห์มีหลายประเภท เช่น สุนัข, ปลา, จระเข้, เสือ, เก้ง, กวาง, ชะนี, ลิง, ไก่ป่า, กระรอก, กระแต, กระต่ายป่า, หมูป่า รวมไปถึงสัตว์ที่อยู่ตามห้วยหนองคลองบึงทั่วไป ตลอดจนในสวนสัตว์หลายแห่ง ฯลฯ นอกจากนี้ ความเมตตาของท่านยังครอบคลุมไปถึงแม้แต่สัตว์พิการกว่าพันชีวิตที่อยู่ในสถานสงเคราะห์สัตว์พิการหรือบ้านสัตว์พิการ หลวงตาฯก็ไม่เคยมองข้ามไป การช่วยเหลือจึงมีหลายประเภท อาทิเช่น ค่าอาหารต่อเดือนกว่า 200,000 บาท, ซื้อที่ดิน, สร้างอาคาร 3 ชั้นเป็นที่พักสัตว์พิการ, ค่าจ้างสัตวแพทย์ดูแลสัตว์, ค่าน้ำ, ค่าไฟ ฯลฯ


สำหรับการสงเคราะห์ช่วยเหลือเกี่ยวกับการศาสนา นั้น หลวงตาฯ ให้ความสำคัญกับวัดกรรมฐานเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมอันเป็นงานหลักในพระพุทธศาสนา ท่านจึงให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูในด้านต่างๆ จำนวนมาก เช่น

  • ซื้อที่ดินสร้างวัด, ศาลา, ขุดสระ
  • สร้างกำแพงล้อมรอบเพื่อรักษาสัตว์ป่าและสภาพป่าภายในวัด
  • จัดตั้งวัดโดยร่วมมือกับกรมป่าไม้ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมและรักษาสถานที่สงบสงัดไว้ให้กุลบุตรสุดท้ายได้บำเพ็ญธรรม
  • จัดหาอาหารสด อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภค พร้อมจัดส่งด้วยรถบรรทุกเป็นประจำทุกเดือนแก่วัดยากจนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อรับเลี้ยงพระผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรมให้มีชีวิตพอเป็นไปในการประพฤติปฏิบัติธรรม
  • บริจาครถกระบะแก่วัดกรรมฐาน สำหรับบรรทุกอาหารเลี้ยงดูสัตว์ป่า
  • บริจาคจตุปัจจัยไทยทานแก่วัดกรรมฐานในถิ่นทุรกันดารกว่า 100 วัดในจังหวัดใกล้เคียงทั้งในยามปกติ และในเทศกาลบุญสำคัญ เช่น กฐิน, บุญประทายข้าว, บุญเข้าพรรษา, เทศกาลปีใหม่, เทศกาลสงกรานต์ ฯลฯ
  • ช่วยเหลือค่าอาหาร น้ำตาล แก่วัดที่เรียนด้านปริยัติธรรมในจังหวัดอุดรธานี
  • วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างฌาปนสถานและศาลาพักศพ
  • ฯลฯ
Previous | 1 | 2



หน้าแรก