|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : ศิษย์นอกคอก ถามเมื่อวันที่
14 ม.ค. 2547 |
กลัวจิตเสื่อม
กราบนมัสการหลวงตาที่เคารพอย่างสูง
การปฏิบัติธรรมของหนูคืออยู่กับรู้กายและจิต ครั้งหนึ่งเกิดทุกข์แทบจะร้องไห้ก็ยังอยู่กับรู้ ฉับพลันก็เกิดความว่างขึ้นมากระทันหันโดยไม่เจตนา จิตเกิดความองอาจกล้าหาญเหนือความคิดนั้น รู้สึกปลอดภัย เกิดความรู้แจ้งว่าไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เป็นอันตรายนอกจากความคิดเท่านั้น ซึ่งความคิดก็ดับไปไร้วี่แวว ไม่ได้เป็นตัวตนอะไร ไม่มีอะไรเลยที่เป็นจริงเป็นจัง จิตแสดงอาการหัวเราะเยาะกิเลสที่มันเป็นจริงเป็นจังก่อนหน้านี้
หลังจากนั้นมาเมื่อมันเริ่มมีความคิดที่จะทำให้จิตเศร้าหมองทีไรก็ฟัดกันทันที เนื่องจากยังมีภาระงานทางโลกทำให้มีโอกาสลงไปสู่ความคิดปรุงแต่งได้ง่าย จะใช้ชีวิตอย่างชาวโลกทั่วไปที่เขาว่าสุขไม่ได้เลย มันรู้สึกอยู่ไม่สบายทุกที เมื่ออ่านธรรมของหลวงตาจึงใช้คำบริกรรม พุทโธ แทรกตลอดในการทำงานของโลกเท่าที่ระลึกได้ ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยสนใจคำบริกรรม แล้วมันเคยเสื่อมมาจึงได้เข็ดหลาบ
หนูบริกรรม พุทโธ อย่างนี้ค่ะ คือเมื่อสมาธิอ่อน หนูก็เป็นผู้นึกคำว่า พุทโธ เองดัง ๆ ในใจไม่หยุด แต่พอได้ระดับหนึ่ง มันนึกเองไม่เข้าค่ะ มันกลายเป็นรู้คำภาวนา พุทโธ ในใจนั้น แล้วรู้อาการของจิตด้วย ก็เลยอยู่อย่างนี้สลับกัน เนื่องจากทุกอย่างไม่เที่ยง สักวันมันคงเสื่อมจึงดิ้นรนเพื่อความอยู่สบาย
ขอความเมตตาจากหลวงตาช่วยแนะนำสั่งสอนหนูด้วยนะคะหนูจะนำคำสอนนั้นไปปฏิบัติยิ่งชีวิตค่ะ
กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง จากศิษย์นอกคอก
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2545 |
เรียนคุณใช้นาม ศิษย์นอกคอก หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบคุณให้ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๗ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้ (กดอ่านเต็มกัณฑ์ได้ที http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=2606&CatID=0)
หลวงตา : หลวงตาในคอกตอบลูกศิษย์นอกคอก ฟังเอา ที่ปฏิบัติมานี้ถูกต้องแล้ว มีสูงมีต่ำเป็นธรรมดาของการเดินทาง จนกระทั่งถึงที่จุดหมายปลายทางแล้ว การผ่านสูง ๆ ต่ำ ๆ มันก็ผ่านไปของมันเอง อันนี้การพิจารณาอย่างนี้ถูกต้องแล้ว ที่ว่ากลัวจิตจะเสื่อมหรือกำลังจะไม่พออะไร ให้ตั้งสติ บริกรรมพุทโธเข้าให้ดีแล้วจะไม่เสื่อม พากันเข้าใจเอานะ ถ้ารู้สึกว่ามันอ่อนก็แสดงว่า ความเผลอเรามากขึ้น สติมีน้อย ตั้งสติแน่นหนามั่นคงขึ้นความเผลอมีน้อยลง ทีนี้จิตก็ทรงตัวได้ผาสุกร่มเย็นโล่งโถง ที่อธิบายมานี้ถูกต้องแล้วแหละ เราตอบรวมๆ เลยถูกต้องแล้ว ตั้งแต่ทุกข์อะไรขึ้นมาจนกระทั่งถึงความว่างเปล่า ความคิดเป็นการทำลายตัวเองถูกต้องหมดเลย ให้ปฏิบัติต่อความคิดอย่างนี้ด้วยสติดังที่เคยปฏิบัติมา เท่านั้นแหละนะ
___________
|
|
|