|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : โต้ง ถามเมื่อวันที่
8 ม.ค. 2547 |
สวดมนต์ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
กระผมอยากเรียนถามหลวงตาว่าหลักที่แท้จริงของการสวดมนต์คืออะไร เพราะกระผมสวดมนต์ไปก็ไม่เข้าใจในความหมายของภาษาบาลี (แต่ทุกวันนี้กระผมยังสวดมนต์อยู่ประจำทุกคืน) จึงอยากเรียนถามหลวงตาว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของการสวดมนต์คืออะไรครับและการสวดมนต์ที่ถูกต้องควรจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติต้องทำอย่างไรครับ
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2547 |
เรียนคุณโต้ง หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบให้คุณ วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๗ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้ (กดอ่านเต็มกัณฑ์ได้ที่ http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=2606&CatID=0)
หลวงตา : คือให้มีสติ จะแปลความหมายได้ไม่ได้ไม่สำคัญ ให้มีสติอยู่กับคำสวดมนต์ จะเป็นธรรมอยู่ที่สติ ธรรมนั้นเป็นธรรมกลางๆ เราจะแปลแยกหรือไม่แยกก็ตาม คนที่ไม่เคยสนใจกับธรรม เขาไม่มาท่องบทบาท บาลงบาลี อะไรแหละ เขาทำบาปเป็นบาปวันยังค่ำ เข้าใจไหม เราเป็นบุญแปลได้ไม่ได้ก็ตาม เรามีสติอยู่กับคำบริกรรมนี้เป็นบุญได้วันยังค่ำ เข้าใจเหรอ ก็มีเท่านั้นแหละ แปลได้ไม่ได้ไม่สำคัญ ขอให้สติกับคำบริกรรมติดแนบกันไป นั้นแลคือการบำเพ็ญธรรมอยู่ในนั้น แปลได้ไม่ได้ไม่สำคัญ อยากแปลก็ค่อยไปแปลเอาตามคัมภีร์ใบลานท่านเขียนไว้แล้ว แปลไว้แล้วมีไปอ่านเอาเลยนะ ถ้าอยากแปลในเจ้าของให้แปลสติ อย่าให้เผลอ เรียกว่าแปลสติออกไม่เผลอ ตั้งสติให้ดีแล้วจะกระจายทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับสติทั้งหมดนะ รวมความเรื่องการทำความเคลื่อนไหวทุกอย่างขึ้นอยู่กับสติ ไม่ว่าทางโลกทางธรรม ถ้าสติดีทำอะไรไม่ค่อยผิดพลาด ถ้าสติไม่ดีผิดพลาดไปเรื่อย ๆ แม้เขียนหนังสือก็ไม่ถูก ลบๆ เขียนๆ อยู่นั่นแหละ
พากันจำเอานะ สติสำคัญมาก นี่ได้ซัดกันมาแล้ว ก็เคยพูดให้พี่น้องทั้งหลายฟังแล้ว เหมือนว่าตกนรกทั้งเป็น นี่เราได้หลักมาพูด ฝึกหาหลักจนจับได้แล้วแน่ใจ พูดอย่างอาจหาญทีนี้ได้ผลมาแล้ว ทั้งเหตุทั้งผลสมบูรณ์แล้ว ได้ผลเป็นที่พอใจ ที่ว่าจิตเราเจริญแล้วเสื่อมๆ มันเพราะเหตุใดนี่ เราก็ตั้งสติดูอยู่นั่น แต่ทำไมจิตก็เสื่อมได้ๆ เราอาจจะขาดคำบริกรรม สติไม่แนบเนียน ไม่แน่นหนามั่นคงพอ คราวต่อไปนี้ เอ้า เราจะเอาสติให้อยู่กับคำบริกรรม เพราะเราไม่มีคำบริกรรม แล้วสติคิดจ่อเฉย ๆ มันเผลอไปได้
คราวนี้เอาคำบริกรรมติดไว้กับจิต สติติดกับคำบริกรรมให้เกี่ยวโยงกันอยู่นี้ไม่ให้ออก ซัดเข้าไป ได้ สรุปความลงเลย เอาอย่างแน่นหนามั่นคง ถึงตกนรกทั้งเป็น คือไม่ให้เผลอทั้งวันเลย เว้นแต่หลับ จะไม่ให้มีขณะใดเผลอเลยทั้งวัน คราวนี้ไม่ให้จิตออกไปไหน ให้จิตอยู่ในความควบคุมของสติกับคำบริกรรมมัดเอาไว้ๆ วันแรกกระแสของกิเลสมันหนามาก แรงมากฟาดเอาเราจนเหมือนกับว่าล้มทั้งคว่ำทั้งหงาย แต่ไม่ยอมปล่อยสติละซิ ล้มไปกับสติ หงายไปกับสติ สุดท้ายได้ นั่น แล้ววันหลังๆ มาค่อยเบาลง ๆ ทีนี้จิตใจค่อยสว่างขึ้น นั่นกระแสของกิเลสที่มันกวนให้คิดไปทางอื่นนอกจากทางธรรม มันกำลังรุนแรงมากสติจับไม่อยู่มันก็ไปของมัน แล้วก็ลากเข็นเราไปด้วย
ทีนี้พอเราล้มก็ล้มไปด้วยกันกับสติ นั่งก็นั่งด้วยกัน ลุกก็ลุกไปด้วยกันกับสติ สุดท้ายสู้สติไม่ได้ อารมณ์อันนั้นอ่อนลงๆ ต่อไปสติของเราก็เบิกกว้าง คือจิตใจของเราความรู้นี้เบิกกว้างไป สติก็ยิ่งเด่นขึ้นๆ จับปุ๊บเลย อ๋อ ได้เพราะสติเท่านั้น นั่น ถ้าสติไม่ปล่อยไม่เป็นไร ว่างั้นเลย ล้มก็ไปด้วยกันสติไม่ยอมปล่อย มันจะล้มทั้งคว่ำทั้งหงายสติไม่ยอมปล่อย เอาอย่างนั้นจริงๆ นะ คำว่าเผลอไม่ให้มีเลย นั่น ใช้ได้ จึงได้เอามาพูด แล้วกระจายออกไป อะไรก็ตามเรื่องสติเป็นพื้นฐานสำคัญมาก กระจายไปได้หมดเลย ถ้ามีสติแม้เราจะทำการทำงานนี้ คนมีสติกับคนไม่มีสติต่างกัน นี่งานนอก ๆ ถ้ายิ่งงานในนี้ยิ่งละเอียดเข้าไปอีก ก็เท่านั้นแหละ
___________
|
|
|