|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : กฤษณะ.........โคราช ถามเมื่อวันที่
21 พ.ย. 2546 |
เราควรดูการรับรู้ที่จิตใช่หรือไม่
คือผมภาวนาเป็นอย่างนี้ คือเมื่อทำจิตไห้เป็นสมาธิจนถึงระดับหนึ่งแล้วทำใจไห้ว่างมีสติอยู่กับสิ่งหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในจิตคือความคิดความปรุงแต่งแล้วใช้ปัญญาพิจจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ คือผมรู้สึกว่าไม่มีตัวผมไม่รู้ว่าผมเป็นใคร คือสติมันที่ไช้พิจารณามันตามทันตลอดทุกการปรุงแต่ง แม้แต่ตัวที่ไช้พิจจารณามันยังรู้สึกว่าไม่ไช่ตัวเอง คือรู้สึกว่าตัวเองเป็นเพียงอะไม่รู้ที่ผุดขึ้นมาแล้วหายไป ช่วงนั้นสติจะตามจี้สิ่งที่ผุดขึ้นมาแนบแน่นมากครับ คือไม่ว่ามันจะมาทางไหนสติตามตลอดแล้วเกิดความรู้สึกที่ว่านี้ละครับ เมื่อออกจากการภาวนาแลัวเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่สัมผัสทาง กาย หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันไม่มีความหมายก็ไม่ไช่มีความหมายก็ไม่ไช่พูดยากครับ เช่นมองเห็นน้ำก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร จนขันเมื่อมองเห็นน้ำเป็นอยู่นานพอสมควรจึงจะเป็นปกติ และมีข้อสังเกตคือบังคับไห้มันเป็นอย่างไม่ได้ ตัองทำจิตไห้ว่างก่อนเสมอ
ผมอยากถามหลวงตา 3 ข้อครับ 3.1ทำไมจึงรู้สึกว่าสิ่งที่รับรู้ได้เหมือนมันไม่มีความหมายครับและรู้สึกว่าไม่มีตัวเอง 3.2ทุกสิ่งมันเกิดที่จิตและมันดับที่จิตคือจิตไปรับรู้แล้วมาปรุงไห้เกิดทุกข์ คนเราไปโทษสิ่งภายนอกจิต เราควรดูการรับรู้ที่จิตไช่หรือไม่ครับคนเราทุกข์สิ่งที่ผุดขึ้นในจิตไช่ไหมครับ 3.3ผมควรภาวนาอย่างไรต่อไปครับผมจึงจะหลุดเหมือนหลวงตาครับ ขอความกรุณาตอบปัญหาธรรมด้วยครับเพราะผมไม่รู้จะไปถามใครผมอาศัยเพียงหนังสือของครูอาจารย์เท่านั้น ขอบพระคุณมากครับ
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2546 |
เรียนคุณกฤษณะ หลวงตาเมตตาตอบปัญหาจิตตภาวนาของคุณ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้
โยม : ข้อ ๓.๑ ทำไมจึงรู้สึกว่า สิ่งที่รับรู้ได้เหมือนมันไม่มีความหมายครับ และรู้สึกว่าไม่มีตัวเอง
หลวงตา : อันนั้นคือจิตมันไม่วิพากษ์วิจารณ์ มีแต่ความรู้อยู่เฉยๆ ก็รู้ ไม่ตีความหมายออกไป เรียกว่าจิตรู้อยู่ไม่เคลื่อนไหวเข้าใจไหม รู้นิ่ง ๆ จิตไม่เคลื่อนไหวก็ไม่ทราบอะไรเป็นอะไร พออาการของจิตเคลื่อนไหวออกไป ถ้าเป็นนักภาวนาก็เรียกว่าปัญญาจะเริ่มออกพิจารณา อันนี้มันก็รู้ว่าอันนั้นเป็นนั้นอันนี้เป็นนี้ไป ถ้ามันอยู่นิ่ง ๆ อะไรมันก็ไม่ว่า มันอยู่ของมันเฉย ๆ อย่างที่ว่าน้ำก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะจิตมันไปให้ความหมายเขา ตัวจิตนี้เป็นตัวให้ความหมายทุกสิ่งทุกอย่างแล้วเป็นบ้ากับความหมายที่ตนไปให้นั่นแหละอยู่เสมอมา เวลาพิจารณาเข้าไปจริง ๆ แล้ว ความหมายเหล่านั้นมันจะถอนตัวเข้ามาหมด มันไม่หมาย ถ้าหมายก็ออกพิจารณาเป็นทางปัญญาไปเสีย หมายทางปัญญาที่จะเกิดผลเกิดประโยชน์ ไม่ใช่หมายไปธรรมดาลม ๆ แล้ง ๆ เข้าใจเหรอ มันก็มีเท่านั้นจะให้ว่ายังไง
โยม : ข้อ ๓.๒ ครับ ทุกสิ่งมันเกิดที่จิตแล้วมันดับที่จิต คือจิตไปรับรู้แล้วมาปรุงให้เกิดทุกข์ คนเราไปโทษสิ่งภายนอก จิตเราควรดูแล้วก็รับรู้ที่จิตใช่หรือไม่ครับ
หลวงตา : ใช่ ใช่เราอยากจะพูดว่าใช่ ๆ ๆ ๆ วันยังค่ำตรงนี้เพราะมันใช่จริง ๆ เข้าใจไหม นี่ละอันนี้พูดถูกต้องดี เพราะอย่างนั้นเราจึงตอบว่า ใช่ ๆ ๆ ๆ เรื่อยไปเลยเข้าใจไหมให้มันถึงใจ มันไม่มีใครมาพูดอย่างนี้สักทีนะ เออ เอาละ
โยม : เขาบอกคนเราทุกข์เพราะสิ่งที่ผุดขึ้นในจิตใช่ไหมครับ
หลวงตา : มันไม่ใช่เสมอไป ทุกข์เพราะสิ่งที่ผุดขึ้นในจิต ธรรมผุดขึ้นในจิตก็ได้ กิเลสผุดขึ้นในจิตก็ได้เข้าใจไหม ถ้ากิเลสผุดขึ้นในจิตแล้วสร้างทุกข์ ถ้าธรรมผุดขึ้นในจิตแล้วสร้างสุขเข้าใจไหม เพราะอย่างนั้นมันจึงไม่เสมอไป ให้ผุดเป็นธรรมแล้วเป็นสุขเข้าใจไหม
โยม : ข้อ ๓.๓ ครับ ผมควรภาวนาอย่างไรต่อไปครับ จึงจะหลุดพ้นเหมือนหลวงตา ขอความกรุณาตอบปัญหาธรรมด้วยครับ เพราะผมไม่รู้จะไปถามใคร
หลวงตา : ไม่ตอบ กลัวเป็นบ้าเหมือนคุณผู้ถาม
(ขออนุโมทนาในธรรมภาวนามา ณ ที่นี้ และโปรดหาอ่านธรรมะหลวงตาเพิ่มเติมได้ในหน้าหนังสือธรรมะ และหน้าธรรมะประจำวัน)
|
|
|