|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : กวิน ถามเมื่อวันที่
17 พ.ย. 2546 |
การพิจารณาธรรมขณะจิตไม่เป็นสมาธิจะพิจารณาได้หรือไม่
กราบเท้าพ่อแม่ครูอาจารย์ เกล้ากระผม ดำเนินตามคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์มาตลอด เป็นเวลาร่วมสี่เดือนแล้ว คือภาวนาโดยยึดคำบริกรรม เกล้ากระผมภาวนาพุทโธ เรื่อยๆ แรกๆก็ไม่นิ่ง แต่อาศัยความทน ข่มเวทนาไว้ ข่มความปวดเมื่อยง่วงเหงาหาวนอนเอาไว้ ช่วงหลังจิตมันเลยรวมนิ่งลงไปมาก ในความรู้สึกมันรู้สึกว่ามันว่างไปหมด แต่ยังรู้ตัวอยู่ทุกขณะ สักพักใหญ่ๆ เกล้าก็ไปนึกเอาคำบริกรรมก็กลับมาอีก แล้วก็นิ่งอีก มันสลับกันอยู่แบบนี้ ไม่ทราบว่าเกล้ามาถูกทางแล้วหรือยัง
และอยากทราบว่า การพิจารณานั้น ขณะจิตไม่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิ จะสามารถ พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเกล้าลองทำดู ลองนั่งแล้วพิจารณาเลย ได้ไม่นานมันก็หลุด อยู่ได้ไม่นาน
เกล้ากระผมขอความเมตตาจากพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยครับ ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงในความเมตตาครับ
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2546 |
เรียนคุณกวิน หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบปัญหาภาวนาของคุณ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้
โยม : กระผมภาวนา พุทโธ เรื่อยๆ แรกๆ ก็ไม่นิ่ง แต่อาศัยความอดทนข่มเวทนาไว้ ข่มความเจ็บปวดเมื่อย ง่วงเหงาหาวนอนเอาไว้ ช่วงหลังจิตมันก็เลยรวมนิ่งลงไปมาก ในความรู้สึกรู้สึกว่ามันว่างไปหมด แต่ยังรู้ตัวอยู่ทุกขณะ สักพักใหญ่ๆ ก็ไปนึกเอาคำบริกรรม พุทโธ ก็กลับมาอีกแล้วก็นิ่งอีก มันสลับกันอยู่แบบนี้ ไม่ทราบว่ากระผมมาถูกทางแล้วหรือยัง
หลวงตา : ถูก อันนี้ถูกแล้ว โยม : และอยากทราบว่า การพิจารณานั้น ขณะจิตไม่นิ่งไม่เป็นสมาธิจะสามารถพิจารณาได้หรือไม่
หลวงตา : ได้ ถ้าเป็นความจริงความจังของความตั้งใจของเรา เช่น อย่างแสดงไว้ว่าปัญญาอบรมสมาธิ คือจิตมันวุ่นวี่วุ่นวาย เมื่อมันวุ่นมาก ๆ ก็ตั้งฐานทัพรับกันสู้กัน มันจะวุ่นไปไหนนะ เอ้า ติดตามมันดู ทีนี้ก็ซัดกัน ความวุ่นทั้งหลายเลยสู้ปัญญาไม่ได้ ไล่ต้อนเข้าสู่ความสงบแน่วได้เลย อันนี้ก็เหมือนกัน แต่จะปล่อยให้มันคิดธรรมดา ๆ เถลไถลไม่ได้ อันนี้เรียกว่าพิจารณาปัญญาไม่ได้ ถ้าเราไม่ตั้งเอาจริงเอาจังจริง ๆ นะ มันก็เถลไถลไปตามกิเลสที่มันลากไปนั้นเสีย เข้าใจเหรอ เออ เอ้า ว่าไป
(ขออนุโมทนาในธรรมปฏิบัติมา ณ ที่นี้ และโปรดหาอ่านธรรมะหลวงตาเพิ่มเติมในหน้าธรรมะประจำวัน และหน้าหนังสือธรรมะ)
|
|
|