|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : n ถามเมื่อวันที่
27 เม.ย. 2546 |
พิจารณาความไม่เที่ยงเป็นทุกข์
ขอเมตตาจากหลวงตากราบเรียนเรื่องการปฏิบัติธรรมภาวนาดังนี้ครับ กระผมปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิภาวนา โดยกำหนดคำบริกรรมภาวนาพุทโธให้สติติดแนบกับคำบริกรรมพุทโธ บริกรรมภาวนาไปจนกระทั่งลมหายใจละเอียดมาก เสมือนไม่มีลมหายใจอยู่เลยครับ ปรากฏว่าร่างกายเริ่มเบา และมีอาการคล้ายกับร่างกายหายไป เหลือแต่ตัวรู้คือจิต ทุกสิ่งทุกอย่างว่างไปหมด สว่างไปหมด ขาวไปหมด จิตมีอาการสงบเย็น เบาสบายอย่างน่าอัศจรรย์ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลยครับ คล้ายกับว่าเหลือแต่ตัวรู้คือจิต เมื่อกระผมดีใจอาการของจิตก็ถอนออกมาทันที เมื่อกระผมเสียใจหรืออยากที่จะเข้าไปสัมผัสกับอาการดังกล่าวอีก ปรากฏว่าไม่เป็นอาการอย่างที่ผ่านมา กระผมจึงปล่อยวางจิต ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ปล่อยวางเฉย ๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับอาการดังกล่าว ปรากฏว่าจิตยิ่งดำดิ่งลึกมาก สว่างมาก ขาว และว่างไปหมดเลยครับ ร่างกายเหมือนหายไป เหลือแต่ตัวรู้คือจิต เมื่อถอนออกจากสมาธิปรากฏว่าร่างกายเบามาก จิตใจมีความสงบเย็น สุขุม มองอะไรคิดอะไรเห็นเป็นธรรมไปหมด ต่างจากสภาวะปกติทั่วไป จากนั้นกระผมก็หัดพิจารณาธรรม กำหนดลงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในขันธ์ห้า รวมทั้งพิจารณาอสุภะภายใน น้อมเข้ามาสู่ไตรลักษณ์ จิตก็ค่อย ๆ วางความยึดมั่นถือมั่นลง ในขณะที่กำลังปฏิบัติธรรมภาวนา กระผมขอกราบเรียนถามหลวงตาว่า ปฏิบัติตามนี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ)
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2546 |
เรียนคุณ n หลวงตาได้เมตตาแสดงธรรมตอบปัญหาธรรมของคุณให้ คืนวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๖ ณ สวนแสงธรรม กรุงเทพฯ ดังนี้
หลวงตา : บอกเลยว่าถูกต้องแล้ว ให้พิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ นะ มันจะเหมือนเก่า ไม่เหมือนเก่า อย่าไปกังวล ให้ถือหลักปัจจุบันด้วยความมีสติในการภาวนาเสมอไป
|
|
|