|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : ผู้ภาวนา ถามเมื่อวันที่
10 ก.ย. 2546 |
จะเริ่มพิจารณากาย แต่ตัดให้เข้านิ่งสงบในสมาธิ
ลูกภาวนาพุทโธประกอบทุกอิริยาบถ พยายามไม่ให้เผลอสติ ตามหลวงตาเมตตาสอนทางตอบปัญหาอินเตอร์เน็ต สติกับพุทโธมันเหมือนแน่นตลอดเวลาในปัจจุบันนี้ที่กลางอก มีเรื่องอะไรแทรกเข้ามาให้คิดหงุดหงิด มันเหมือนพุทโธกับสติธรรม ทั้งรู้สึกว่าสัมปชัญญะก็ตามแน่น ๆ อยู่กลางอก เรื่องอะไร ๆ ก็ไม่อยากรับทราบเข้ามา จะหงุดหงิด จะโกรธอะไรดูมันนิ่ง ๆ เย็น ๆ ของมันเจ้าค่ะ มันไม่อยากเคลื่อนจากที่เป็นอยู่นี้ไปไหน นึกถึงหลวงตาสอนว่าเป็นการติดสมาธิ จึงเริ่มใช้ปัญญาพิจารณา แต่มันเหมือนไม่ยอมให้พิจารณา พอจะเริ่มพิจารณาร่างกายบ้าง มันตัดให้เข้านิ่งสงบในสมาธิ เป็นอยู่หลายครั้งเจ้าค่ะ ลูกพยายามบังคับให้พิจารณาก็พึ่งได้ระยะนี้บ้าง ค่อยพิจารณาส่วนร่างกายไปทีละขั้น แต่สมาธิมันก็คงความแน่น นิ่งสงบเย็นอยู่ ขอเมตตาหลวงตาค่ะ ที่ลูกปฏิบัตินี้ผิดถูกประการใดในขั้นนี้ ขอเมตตาแนะขั้นต่อไป กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูงสุด (ผู้ภาวนา)
Sep1046
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2546 |
เรียนคุณใช้นาม ผู้ภาวนา หลวงตาได้เมตตาแสดงธรรมตองปัญหาภาวนาของคุณ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้
หลวงตา : เวลาสงบก็ให้สงบ อย่าไปรบกวนด้วยความคิดความปรุงใด ๆ แม้เรื่องปัญญาก็ไม่รบกวนในขณะที่จิตสงบ ปล่อยให้สงบเต็มกำลังของความสงบนั่นแหละ ทีนี้เวลาจิตคลี่คลายออกมาแล้ว ทีนี้เราจะพิจารณาทางด้านปัญญา เอาทางด้านปัญญาไป อย่าเอาความสงบเข้ามากวนใจ ให้ทำงานตามวาระของตน คือเวลาใช้ปัญญาก็ให้ทำงานไป เวลานอนหลับก็หลับเสียไม่ต้องไปกวน ตื่นขึ้นมาจะทำงานให้ทำงานไป การหลับไม่ต้องมายุ่งเข้าใจไหม นี่ความสงบของจิตเท่ากับการหลับ พักงาน แต่เวลาหยุดจากนั้นแล้วก็ออกพิจารณาให้เป็นกาลเป็นเวลาอย่างนี้
ที่ว่าติดสมาธิก็คือว่าติดความสงบโดยถ่ายเดียว ไม่สนใจจะพิจารณาอะไรเลยนี้เรียกว่าติดสมาธิ ถ้ามีการขัดการแย้งกันอยู่ที่จะออกปฏิบัตินั้นเรียกว่า ติดบ้างไม่ติดบ้าง ฝืนกัน ทีนี้พอออกทางด้านปัญญาแล้วลืมสมาธิไปเลย พุ่งทางด้านปัญญาเลย นี่ก็เป็นผาดโผนเกินไปต้องให้มีการพักการทำงาน ถูกต้อง การพักก็คือ พักสงบ เวลาจิตเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าด้วยการพิจารณาในอรรถในธรรมแง่ต่าง ๆ แล้วเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าให้พักเข้าสู่ความสงบคือสมาธิ เวลาจิตเข้าสู่สมาธิแล้วย่อมมีกำลังกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาควรแก่การพินิจพิจารณาเพื่อปัญญา หาประโยชน์อันสูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไปอีก เราก็พิจารณาทางด้านปัญญา อย่างนี้เรียกว่าถูกต้อง ตามวาระแห่งงาน ตามวาระแห่งการพักเข้าใจไหม
(ทีมงานอนุโมทนาในธรรมภาวนาของคุณมา ณ ที่นี้)
|
|
|