|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : จากลูกศิษย์หลวงตา ถามเมื่อวันที่
8 ต.ค. 2546 |
ภาวนาอย่างไร จึงจะเกิดปัญญาแตกฉานในทางธรรม
กระผมนั่งภาวนาโดยใช้คำภาวนา พุธโธ ๆ ๆ แนบติดกับจิตตามคำสอนของหลวงตา แต่จิตก็ยังไม่สงบ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร แต่พอเปลี่ยนคำภาวนา ว่า อรหังพุธโธ อิติปิโสภควา นมามิหัง จิตของกระผมก็นิ่งสงบได้นาน และเมื่อจิตสงบแล้ว จึงได้นำข้อธรรมะ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ชีวิตเราก็เท่านี้ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ล้วนแต่มีความทุกข์ ในที่สุดชีวิตที่ว่าเป็นของเราก็ไม่ใช่ของเรา ตายไปแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้ เมื่อถึงตรงนี้จิตก็นิ่งสงบ แล้วรู้สึกว่าสบายใจ ใจเบาหวิว อย่างนี้เป็นปีติสุขใช่หรือไม่ แล้วกระผมจะปฏิบัตินั่งภาวนาต่อไปอย่างไร จึงจะเกิดปัญญาแตกฉานในทางธรรมได้ทะลุปรุโปร่งมากกว่านี้ เพราะรู้สึกว่าปัญญาทางธรรมยังเกิดไม่มาก ขอหลวงตาได้โปรดเมตตาตอบผู้โง่เขลาทางปัญญาด้วยครับ
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2546 |
หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบปัญหาธรรมของคุณไว้ในเทศน์เช้าวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๖ ณ วัดป่าบ้านตาด ไว้ดังนี้
หลวงตา : ปีติปีแตะอย่าเอามาพูด ขี้เกียจฟัง เอาเรื่องเหตุให้ดี ที่ทำมาแล้ว ถูกต้องแล้วเข้าใจไหม อย่าเป็นบ้ากับปีติเข้าใจเหรอ เข้าใจแล้วนะ.ปีติมันเป็นผลของการภาวนานี้ต่างหาก เอ้า ว่าไป โยม : เขาบอกว่ากระผมจะปฏิบัตินั่งภาวนาต่อไปอย่างไร จึงจะเกิดปัญญาแตกฉานในทางธรรมะได้ทะลุปรุโปร่งมากกว่านี้ เพราะรู้สึกว่าปัญญาทางธรรมเกิดยังไม่มาก ขอหลวงตาได้โปรดเมตตาผู้โง่เขลาทางด้านปัญญาด้วยครับ หลวงตา : ปัดหมอนออกจากหัว มันติดกันอยู่นั่นน่ะ มันเป็นหมูขึ้นเขียง มันไม่มีปัญญากับหมอนนั่นน่ะ มันมีปัญญากับการคิดอ่านไตร่ตรองต่างหากเข้าใจเหรอ ปัญญามันไม่เกิดนะซิ เพราะหมอนมันติดคอมันอยู่นั่น ปัดหมอนออก เอ้า เข้าใจแล้วเหรอ ใช้ความคิดพินิจพิจารณาให้มากในเวลาพิจารณา เวลาสงบใจก็ให้สงบ ไม่ใช่พิจารณาแบบเตลิดเปิดเปิง ถึงเวลาทำงานก็ทำ ถึงเวลาพักผ่อนรับประทานอาหารหรือนอนหลับก็พัก การทำงานเขาทำอย่างนั้น นี่งานของจิตก็เหมือนกัน เวลาทำงานก็ทำ เช่นการพิจารณาทางด้านปัญญา เรียกว่าการทำงานโดยตรง เมื่อมันเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าภายในจิตใจเราแล้ว เราหยุดพักเข้ามาสู่ความสงบ เจริญพุทโธติดแนบกับใจไว้อย่าให้เผลอ นี่เรียกว่าความสงบของจิตขั้นนี้ ไม่ใช่ความสงบของจิตซึ่งผู้มีภูมิฐานแล้ว พอสงบแล้วเข้าสู่สมาธิเลย นี่มีภูมิฐานไว้แล้ว จะว่าอะไรไม่ว่าอะไรมันสงบเลย ด้วยการกำหนดของจิตที่ชำนาญแล้ว ออกจากนั้นก็พิจารณาทางด้านปัญญา เรียกว่ามีการพักผ่อนคือเข้าสู่ความสงบ ๑.ถ้าเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทางร่างกายมาก ๆ พักนอนเสีย ๑ แล้วตื่นขึ้นมาก็ภาวนาต่อไป ก็มีเท่านั้น มีอะไรอีกล่ะ
(ขออนุโมทนาในธรรมปฏิบัติมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)
|
|
|