|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : ปาวิดา ถามเมื่อวันที่
29 ก.ย. 2546 |
จิตคิดไม่ดี ภาวนาแล้วตัวใหญ่ขึ้น
เนื่องจากหนูได้พยายามตัดความคิด ความกังวลต่าง ๆ โดยการภาวนาพุทธโธ ซึ่งความคิดเรื่องโน้นเรืองนี้ บางครั้งยังผุดขึ้นมาในขณะสวดมนต์ และขณะทำสมาธิ อยากกราบเรียนถามหลวงตาค่ะว่าจะทำอย่างไรให้จิดไม่ฟุ้งซ่านง่ายคะ (หนูรุ้สึกไม่ดี(เพราะเมื่อวันที่ 28/09/2546 หนูไปสวดมนต์ที่วัดสังฆทาน นั่งสวดมนต์ที่กฏิหลวงพ่อสังวาลย์ เขมมโก ขณะสวดมนต์จิดก็คิดไม่ค่อยดี และหนูได้ขอขมาหลวงพ่อทางจิต หนูจะทำอย่างไรดีคะ จะทำให้จิตไม่วอกแวก เนืองจากหลวงพ่อใหญ่ท่านเป็นพระที่ดีมากปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หนูกลัวบาปคะซึ่งได้และเรียนถามหลวงตาอีกข้อนะคะ หนูได้ทำสมาธิโดยในท่านอนและพอจิตสงบรู้สึกว่าตัวใหญ่ และตัวหนาขึ้นเรื่อย ๆ แต่หนูไม่ได้ตกใจอะไรภาวนาต่อไปเรื่อย ๆ ซักพักหนูจึงออกจากสมาธิ ที่หนูทำอยู่ถูกต้องแล้วใช่ไหมค่ะ ขอความเมตตาหนูด้วยนะคะ กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2546 |
หลวงตาเมตตาตอบปัญหาของคุณดังนี้ หลวงตา ตั้งสติให้ดี เหล่านี้มันต่อยเราเวลาเผลอ พอสติจางๆ ไปเมื่อไร ความคิดความปรุงจะออกทันที ถ้าสติดีอยู่แล้วจะไม่ออก เมื่อไม่ออกแล้วก็เรียกว่าทำงานติดต่อสืบเนื่องกันเป็นลำดับ เป็นความเพียรโดยแท้ ถ้ามีสติอยู่กับจิตแล้ว จะเป็นอาการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตาม เป็นความเพียรอยู่ในตัวของมันเอง คือจากสติที่เราตั้ง สตินี่หมายถึงว่าจ่อในจุด สัมปชัญญะคือรู้ตามอาการของตนที่เคลื่อนไหวไปมาที่ไหน มันก็รู้ตัวของมันอยู่ตลอดเวลา นี่เรียกว่าสัมปชัญญะ คือกระจายออกมาเป็นสัมปชัญญะ ถ้าจ่อนี้เป็นสติ เข้าใจเหรอ เอ้าว่าไป ก็เคยพูดแล้วว่าสติเป็นของสำคัญ
หลวงตา ถูกต้อง แต่เรื่องไปคิดยกโทษยกกรณ์ครูบาอาจารย์นั้น ท่านเป็นผู้ดีมากว่างั้นนะ เราไปยกโทษยกกรณ์ท่าน เรียกว่า เรานี้เลวมากเข้าใจหรือเปล่า มันรับกันอย่างนี้ ทีนี้เราแก้ด้วยสมาธิจนตัวหนานั้นถูกต้องแล้ว ตัวหนาตัวบางเป็น เรื่องสมาธินี้บางทีตัวเท่าภูเขาเราคนเดียวนี่ มันเป็นอยู่ในจิตนะ ร่างกายก็เท่าเดิมนั่นแหละ แต่เราอย่าไปตื่นเต้นตกใจกับมัน ให้อยู่กับจิตนั้น มันจะใหญ่โตขนาดไหนก็ตาม ความรู้คือสติกับจิตให้อยู่ด้วยกัน เช่น เราภาวนาบริกรรมก็ให้บริกรรมอยู่ตามนั้น แล้วเรื่องเหล่านี้มันก็จะค่อยลงของมัน เมื่อเราไม่เอนไปตามมัน ถ้าเอนไปตามมันมันเป็นอีกแบบหนึ่งนะ คือกระแสของจิตนี้ไม่มีสิ้นสุด ไปเรื่อย ๆ เมื่อเราให้อยู่กับความรู้แล้วเรื่องทั้งหลายจะสงบลงมาสู่จุดเดียวคือความรู้แล้วจะเป็นปรกติ ถ้าสงบ ๆ ปรกติ สว่างไสวก็เป็นปรกติไม่แสดงอาการแพรวพราวหรือผาดโผน เข้าใจแล้วเหรอ จากกัณฑ์เทศน์"เป็นศาสดาด้วยการภาวนา" วันที่ 5 ต.ค. 2546
|
|
|