|
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" page="dhamma_online";
/SCRIPT LANGUAGE="javascript1.1" src="http://truehits1.gits.net.th/data/e0008481.js">
|
|
|
คำถาม
|
|
โดย : ปาวิดา ถามเมื่อวันที่
25 ก.ย. 2546 |
จุดยืนของการนั่งสมาธิ
กราบนมัสการหลวงตาด้วยความเคารพอย่างสูง ลูกได้นั่งสมาธิมาเป็นระยะ แต่ไม่ต่อเนื่อง ระยะแรก ๆ มีอาการน้ำตาไหล และร้องไห้กลั้นอาการไว้ไม่ได้เลย ซึ่งภายหลังได้ทราบว่าเป็นอาการปิติ (และทำบุญ เข้าวัดมาเรื่อย ๆ) แต่ไม่ได้ทำเป็นประจำ ขาดบ้าง ทำบ้าง และมาระยะนี้ลูกได้ชมการถ่ายทอดจากที่หลวงตาเทศน์ จึงได้มีกำลังใจ จึงอยากปฏิบัติให้มีความต่อเนื่อง และได้สวดมนต์ ทำสมาธิก่อนนอน มีอาการขนลุกซู่ซ่า บางวันก็สงบได้ บางวันก็ยังไม่สมารถควบคุมจิตได้ ลูกใช้วิธิกำหนดลมหายใจ ภาวนาพุธโธ และกำหนดจิตให้จับที่พระพุทธรูป ซึ่งได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ที่ได้ผลคือจิตจะสงบนิ่ง บางครั้งตัวโยกเยกเหมือนคนนั่งหลับ ลูกอยากกราบเรียนหลวงตา ว่าที่ลูกทำอยู่นั้ถูกหรือไม่คะ หลวงตาช่วยสงเคราะห์ลูกด้วยนะคะ
|
คำตอบ |
|
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2546 |
หลวงตา ถูกต้อง การโยกเยกของร่างกาย อย่าไปสนใจกับมันนะ เวลาเราตั้งภาวนาทีแรกเราก็ตั้งด้วยดีทุกคนนั่นแหละ เรียกว่านั่งเป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม แต่พอจิตเข้าทำหน้าที่อันนี้แล้ว ร่างกายจะโอนเอนจะโยกจะไปทางไหน เราไม่ต้องไปสนใจกับอาการเหล่านี้ เพราะเราไม่ได้ภาวนาเพื่อเอาอาการเหล่านี้ ภาวนาเอาจิตให้เที่ยงตรงให้สงบเย็น ร่างกายจะโยกเยกคลอนแคลนไปไหน บางทีมันเอนมันโอนไปอะไรบางคนก็มาสงสัยตัวเอง เราก็บอกว่าอย่าไปสงสัย กิริยาท่าทางอันนี้เป็นกิริยาท่าทางของธรรมทำงาน เหมือนเขาทำงาน เดี๋ยวขุดดินแล้วก็ถากไม้ มันกิริยาต่างกันไหมล่ะ พิจารณาซิ กิริยาของคนขุดดินกับคนถากไม้ หรือขนหามเสามันต่างกันไหม อันนี้กิริยาของอาการต่างๆ มันก็เป็นไปตามอาการของมันแปลกๆ อย่าไปสนใจ แต่งานของจิตไม่ปล่อย
สติเป็นสำคัญมากนะ มันจะไปยังไงก็ตาม คนเราถ้าตั้งสติไว้ให้อยู่กับจิตแล้ว อย่างน้อยจะรั้งตัวได้นะ ที่โมโหโทโสมากๆ พอสติจับปั๊บนี่มันเหมือนกับเหยียบเบรกห้ามล้อ ถ้าเป็นธรรมว่าถูกต้องแล้วเหยียบคันเร่งนี้พุ่ง สติตามเลย เข้าใจเหรอ จากกัณฑ์เทศน์"เป็นศาสดาด้วยการภาวนา" วันที่ 5 ต.ค. 2546
|
|
|