ความเพียรเพื่อไปไม่ต้องกลับมา
วันที่ 21 กันยายน 2505
สถานที่ : วัดป่าบ้านตาด
| |
ดาวน์โหลดเพื่อเก็บไว้ในเครื่อง
ให้คลิกขวาแล้วเลือก Save target as .. จาก link ต่อไปนี้ :

ค้นหา :

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๕

ความเพียรเพื่อไปไม่ต้องกลับมา

 

การปฏิบัติพระศาสนาพึงเล็งดูเข็มทิศ คือหลักแห่งสวากขาตธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว นำเข้ามาเทียบเคียงกับความเคลื่อนไหวแห่งกาย วาจา ใจของตน อย่าให้เคลื่อนคลาดไปจากหลักสวากขาตธรรม จงสังเกตทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา ทั้งทางใจ ถ้าเคลื่อนจากธรรมนี้แล้ว พึงทราบว่าเป็นไปเพื่อทางผิด อย่างน้อยก็เนิ่นช้า อย่างมากก็เป็นมลทินแก่ตนเอง

อนึ่ง เราทุกท่านซึ่งมารวมกันอยู่ในสถานที่นี้ ไม่ได้อยู่บ้านเดียวเมืองเดียวกันและในตระกูลเดียวกัน ต่างก็ระเหเร่ร่อนมาด้วยเจตนาหวังดีของตน ถ้าพูดตามโลกแล้ว เราทั้งหลายไม่ได้เป็นญาติกัน เพราะต่างบิดามารดาผู้ให้กำเนิด เมื่อพูดตามหลักธรรมที่เราทั้งหลายทรงอยู่ บัดนี้แล้ว เรียกว่าเราทั้งหลายเป็นญาติกันอย่างสนิทที่จะแยกจากกันไม่ได้ เพราะญาติทางความเกิดก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ญาติทางความสุข ความทุกข์ ความเสื่อม ความเจริญในสมบัติภายนอกภายใน และความมั่งมีศรีสุขและความอับจน ต่างก็ได้ผ่านมาในทางสายเดียวกัน และญาติทางนักบวชซึ่งเป็นผู้โกนผมโกนคิ้วเพื่อเสียสละสิ่งมีค่า และสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ตนเองเป็นเจตนาอันเดียวกัน แม้ปฏิปทาเครื่องดำเนินก็เช่นเดียวกันด้วย มีพระธรรมวินัยเป็นเครื่องปกครอง และดำเนินอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นพยานชี้ให้เห็นว่า เราทั้งหลายเป็นญาติกันอย่างสนิท

แม้แต่ลูกพ่อเดียวแม่เดียวกันยังมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน คู่สามีภรรยาซึ่งเป็นที่รักใคร่กันเท่าไรก็ยังมีการขัดข้อง และทะเลาะไม่ลงรอยกันได้ในบางกรณี และบางกาล สำหรับเราทั้งหลายที่ได้มาอยู่ร่วมกัน บัดนี้นับแต่ล่วงมาแล้ว สำหรับผมผู้เป็นหัวหน้าปกครองบรรดาท่านทั้งหลาย รู้สึกว่าเป็นที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง การที่พวกเราได้รับความร่มเย็น ไม่มีการระแคะระคายซึ่งกันและกัน ทั้งข้อปฏิบัติ ทั้งด้านความเห็นภายใน อันจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน และเป็นบ่อเกิดแห่งความกระทบกระเทือน นับแต่ส่วนเล็กส่วนน้อยจนถึงส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏ ทั้งนี้เนื่องจากต่างท่านต่างก็มีหลักธรรม คือเหตุผล เป็นเครื่องสอบสวนทบทวนอยู่ในตัวเอง และหมู่เพื่อนด้วยกัน จึงอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นสุข

ถ้าหากหลักธรรมของพวกเราได้ด้อยไปบ้างในการทบทวน ความเคลื่อนไหวในระหว่างตนกับหมู่คณะนั่นแล คือบ่อเกิดแห่งความระแคะระคายได้เริ่มไหวตัวขึ้นแล้ว ถ้าเป็นอย่างหม้อน้ำก็แสดงว่ากำลังร้าว จากร้าวก็จะแตกกระจาย โปรดคิดดูหม้อน้ำเพียงแต่ร้าวเท่านั้นคุณภาพก็ไม่สมบูรณ์ที่จะใช้หุงต้มแกง หรือขังน้ำก็ไม่ได้ผลเต็มที่ ยิ่งหม้อน้ำได้แตกไปเสียก็ยิ่งขาดประโยชน์ที่พึงจะได้รับอย่างไม่มีปัญหา

เรื่องความไม่ลงรอยกันด้วยทิฐิมานะหรือปฏิปทา ที่ปราศจากหลักธรรมคือเหตุผล ก็ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกัน บรรดาเราทุกท่านที่อยู่ร่วมกัน ถ้าจะเทียบก็เหมือนหม้อน้ำกำลังสมบูรณ์ ไม่มีรอยร้าวหรือบิ่นแม้แต่น้อย เพราะอยู่ร่วมกันด้วยความพร้อมเพรียงและเป็นสุข ทั้งนี้เนื่องจากต่างท่านต่างมีธรรม คือหลักเหตุผลประจำใจของตน เพราะไม่เห็นแก่ความเป็นผู้ใหญ่และไม่เห็นแก่ความเป็นผู้น้อย แต่เห็นแก่ธรรมคือเจตนาดี มุ่งดำเนินตามสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างเต็มสติปัญญา และกำลังความสามารถของแต่ละท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าเป็นการปฏิบัติถูกหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

เมื่อการดำเนินของพวกเราแต่ขั้นหยาบเป็นการถูกหลักธรรม จึงพร้อมกันอยู่ด้วยความเป็นสุขเช่นนี้ แม้ส่วนละเอียดอันเป็นส่วนภายในก็พึงทราบว่า จะต้องเป็นไปจากส่วนหยาบนี้ ส่วนละเอียดหมายถึงเรื่องภายในใจโดยเฉพาะ ซึ่งเราจะพยายามปรับปรุงแก้ไขส่วนบกพร่องที่เกิดขึ้นจากกาย วาจา ใจของตน ให้เป็นไปเพื่อความสงบเยือกเย็น ที่กล่าวมาแล้วหมายถึงความสงบที่เป็นไปในระหว่างหมู่เพื่อน นับว่าเป็นที่ยินดี ทั้งการปกครองก็รู้สึกว่าเบาใจ ไม่ได้เป็นกังวลสำหรับผู้เป็นหัวหน้าที่เกี่ยวกับบรรดาลูกศิษย์ จะเป็นรายใดก็ตาม ทั้งนี้เราก็พอจะเห็นผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการระมัดระวังอยู่แล้ว เพราะการถือหลักธรรมเป็นเข็มทิศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าถือเรื่องของเราแต่ละราย พยายามปรับปรุงตนเองแต่ละท่านให้เข้ากับหลักธรรมแล้ว ผลที่ปรากฏขึ้นให้เราได้รับคือความร่มเย็นเป็นสุข

อันดับต่อไปพึงถือหลักธรรมส่วนหยาบที่เกี่ยวกับหมู่เพื่อน เข้าไปปรับปรุงจิตใจ โดยเฉพาะจิตใจที่ได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างสิ่งที่มาสัมผัส เกิดความไม่สงบขึ้นภายในใจ พึงทราบว่าจะต้องมีเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราพิจารณายังไม่รอบคอบ ในระหว่างสิ่งที่มาสัมผัสกับการรับรู้ด้วยสติปัญญา ซึ่งไม่สมบูรณ์พอ จิตจึงทรงความสงบของตนไว้ไม่ได้ หรือผู้ได้แล้วในขั้นนี้ ขั้นละเอียดเข้าไปกว่านี้ซึ่งเรายังไม่สามารถระงับได้ กลายเป็นเรื่องเกิดขึ้นกับใจอยู่ตลอดเวลาก็ยังมี จงสอบสวนทบทวนดูเช่นเดียวกับเราปฏิบัติต่อหมู่เพื่อน ถ้าใจได้มีการทดสอบตนเองตามอาการเคลื่อนไหวต่ออารมณ์อยู่แล้ว เราจะได้รับผลเป็นการตอบแทนขึ้นกับใจ คือใจจะเริ่มมีความสงบตามลำดับ

อนึ่ง ความสงบยังมีหลายขั้น เมื่อผ่านความสงบขั้นหยาบนี้ไปได้ ความสงบขั้นกลางก็ยังมี และเรื่องก่อกวนตามขนาดของอารมณ์กับความสงบขั้นนั้น ยังมีแฝงอยู่เช่นเดียวกัน จนกว่าจะได้นำสติปัญญาเข้าสอบสวนใคร่ครวญดูสิ่งที่มารบกวนต่อความสงบขั้นกลางจนพอตัวแล้ว ความสงบขั้นกลางก็กลายเป็นความสงบที่สมบูรณ์ขึ้นมาโดยลำพังตนเอง อันดับต่อไปต้องพยายามแก้ไขอารมณ์ที่เป็นข้าศึกต่อความสงบส่วนละเอียด ซึ่งจะมีการสัมผัสวัดเหวี่ยงกับใจอยู่ตลอดเวลา ด้วยสติกับปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยประกอบกับองค์แห่งความเพียรอยู่เสมอ ความสงบส่วนละเอียดก็จะปรากฏตัวขึ้นมาอย่างเต็มดวง เช่นเดียวกับความสงบส่วนหยาบและส่วนกลาง เรื่องของสติกับปัญญาพึงทราบว่าเดินตามรอยกับความสงบทุก ขั้นเหมือนเงาเทียมตัว

หลักแห่งการปฏิบัติธรรม อย่าพึงเข้าใจว่าปัญญาจะไปอยู่ข้างหน้า สมาธิอยู่ข้างหลัง ที่ถูกตามหลักความจริงแล้ว สติกับปัญญาจะต้องเคียงคู่กันไปกับความสงบขั้นนั้น และมีตามฐานะของความสงบ เช่น เริ่มมีความสงบก็ควรเริ่มปัญญาพิจารณาเป็นพี่เลี้ยงเสมอไป จนปรากฏเป็นความสงบอย่างกลางและอย่างละเอียด ปัญญาก็ต้องเป็นพี่เลี้ยงตาม กันไป ไม่ยอมปล่อยให้เป็นแต่ความสงบโดยถ่ายเดียว นี่คือหลักธรรมชาติที่ได้ปฏิบัติมาตามกำลัง ได้เปิดเผยให้ท่านผู้ฟังทราบโดยตลอดมิได้ปิดบังไว้แม้แต่น้อย โปรดทราบไว้ว่าเรื่องของสติกับปัญญานี้ จะปราศจากกันกับความสงบไปไม่ได้ ทั้งเป็นธรรมจำเป็นซึ่งจะต้องใช้อยู่ตลอดเวลา จนมีกำลังสามารถรื้อถอนตนขึ้นจากหล่มลึกคืออวิชชาได้ ก็เพราะสติปัญญาเป็นหลักประกัน

และโปรดทราบว่า ความสงบของจิตไม่ใช่เป็นนิสัยอันเดียวกัน และลักษณะแห่งความสงบก็ต่างกันตามนิสัยของผู้ปฏิบัติแต่ละราย แต่ผลรายได้นั้นเป็นอันเดียวกัน ลักษณะของจิตบางประเภทเมื่อบริกรรมบทใดบทหนึ่ง บรรดาธรรมที่ถูกจริต พอเริ่มบริกรรมเข้าเท่านั้น จิตก็ลงได้ทันทีและลงได้อย่างรวดเร็ว นี่คือนิสัยของสมาธิอบรมปัญญา แต่บางรายค่อย สงบเข้าไปและรวมลงอย่างเชื่องช้า สุดท้ายก็ลงถึงที่และปล่อยวางคำบริกรรม ทรงไว้ซึ่งความรู้อันเดียว มีสติรอบรู้อยู่ และบางครั้งต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องฝึกทรมานอย่างเต็มที่แล้วรวมลงสงบได้ในลักษณะเดียวกัน นี่คือนิสัยปัญญาอบรมสมาธิ

และบางครั้งลักษณะจิตของคนเดียวนั่นเองไม่ใช่จะลงชนิดที่เคยลงเสมอไป เช่นรายที่เคยลงได้อย่างรวดเร็วกลับลงอย่างเชื่องช้าก็ยังมี เพราะเหตุนี้จึงไม่ค่อยยึดถือเป็นที่ข้อข้องใจ สิ่งจะถือเป็นสำคัญ คือผลที่ปรากฏขึ้นจากความสงบนั้นเป็นอย่างไร ต้องเป็นความสงบสุขหนึ่ง มีความรู้อยู่เพียงอันเดียวหนึ่ง จิตไม่กระเพื่อมหนึ่ง ไม่เป็นสื่ออารมณ์ในขณะที่จิตพักรวมอยู่หนึ่ง และมีจิตรู้ว่าจิตของตนหยุดหนึ่ง จิตจะรวมลงช้าหรือเร็วให้ถือเอาผลตามที่อธิบายมานี้ เมื่อถอนขึ้นมาแล้วจงเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์ในกายวิภาคของตน กายทุกส่วนเป็นสภาพแห่งไตรลักษณ์ในหลักธรรมชาติทุก อาการ ใครจะรู้หรือไม่ก็ตาม กายทุกส่วนต้องเป็นอย่างนั้น

คำว่า ไตรลักษณ์ คือมีลักษณะสาม แปลว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนตามคำเสกสรรและกล่าวอ้างของใคร ในไตรลักษณ์ทั้งสามนี้ อย่าเข้าใจว่ามีนอกไปจากอาการแห่งกายหนึ่ง อาการเดียวนั่นเอง พร้อมด้วยไตรลักษณ์อยู่แล้วอย่างสมบูรณ์ เช่น อาการแห่งกายของเรามีถึง ๓๒ อาการ ทุก อาการล้วนเป็นไตรลักษณ์โดยธรรมชาติอยู่ในตัว จะแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้น บรรดานักปฏิบัติแม้จะพิจารณาเฉพาะไตรลักษณ์ใด เช่น อนิจจัง ตามความถนัดเท่านั้น เรื่องทุกข์ กับเรื่องอนัตตาก็จะปรากฏเป็นตัวภัยขึ้นมาให้จิตเห็นโทษได้เช่นเดียวกัน เพราะไตรลักษณ์หนึ่ง ต่างก็เป็นตัวภัยและเป็นที่น่าลุ่มหลงอยู่ในวัตถุหรืออาการอันเดียวกัน ซึ่งเป็นตัวเหตุให้จิตหลงได้เท่าเทียมกัน

เมื่อจิตพิจารณารู้ชัดในไตรลักษณ์ใดแล้ว แม้ไตรลักษณ์อื่น ก็ไม่พ้นวิสัยของปัญญาองค์ธรรมจักรหมุนรอบตัวไปได้ เพราะไตรลักษณ์ทั้งสามแม้จะต่างชื่อกัน แต่ก็มีอยู่ในวัตถุหรืออาการอันเดียวกัน เป็นแต่ท่านแยกอาการออกเป็น อนิจฺจํ บ้าง ทุกฺขํ บ้าง อนตฺตา บ้าง        เหมือนกับอาการแห่งกายของเรา แม้จะรวมเป็นก้อนแห่งธาตุของบุคคลผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อแยกจากกันแล้วมีอยู่สี่ธาตุ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แม้แต่ธาตุดินยังแยกออกเป็น ๓๒ อาการ และแต่ละอาการพึงทราบว่าเป็นธาตุดินนั่นเอง ธาตุน้ำจะมีกี่ประเภทก็คือน้ำ คือไฟ คือลม นั่นเอง อาการแห่ง อนิจฺจํ  ทุกฺขํ  อนตฺตา ก็คือไตรลักษณ์นั่นเอง

โปรดทราบโดยวิธีเทียบเคียงกันอย่างนี้ และไตร่ตรองดูเรื่องไตรลักษณ์ที่มีอยู่ทั่วสรรพางค์กายของเรา เราจะถนัดหรือแยบคายในทาง อนิจฺจํ หรือ ทุกฺขํ หรือ อนตฺตา ก็ให้พิจารณาส่วนที่จริตชอบนั้นมาก อย่างไรไตรลักษณ์ทั้งสามนี้จะซึมซาบเกี่ยวโยงถึงกันหมด และจะแยกจากกันไปไม่ได้ นี่อธิบายตามหลักธรรมชาติที่ได้ปฏิบัติและปรากฏมา ขอให้เป็นที่ลงใจ ไม่ต้องสงสัยในหลักธรรมว่า ไตรลักษณ์ทั้งสามนี้จะแยกจากกันไปอยู่ในต่างแดน พึงทราบว่าเป็นหลักธรรมชาติอันเดียวกัน กำหนดเพียงอันหนึ่งก็ซึมซาบทั่วถึงกันหมด

จงพิจารณาให้รู้ชัดด้วยปัญญา จะรู้ชัดในไตรลักษณ์ใดก็ได้ จะเป็นความรู้ที่ถอดถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น สำคัญว่าเป็นเราเป็นของเรา ออกจากใจได้โดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกับเราพิจารณาพร้อม กันทั้งสามไตรลักษณ์ เรื่องของปัญญาจะวิ่งทั่วถึงกันหมด เพราะสิ่งที่ถูกพิจารณาแต่ละอาการสมบูรณ์ด้วยไตรลักษณ์อยู่แล้ว เมื่อปัญญาได้ใคร่ครวญเห็นเรื่อง อนิจฺจํ ก็แสดงว่าเห็นภัยอยู่แล้ว เห็นเรื่อง ทุกฺขํ ก็เป็นเรื่องเห็นกองทุกข์กองภัยเช่นเดียวกัน และเห็นเรื่อง อนตฺตา ก็เป็นการบอกชัดว่านั้นคือตัวภัย ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของเที่ยงแท้ถาวรเป็นคลังแห่งความสุข และว่าเป็นเราเป็นของเราให้ยุ่งไป เพื่อก่อเหตุแห่งวัฏฏะพัดผันตนเอง

เรื่องของสติแล้วอย่าถือว่าเป็นภาระของใคร และเรื่องของปัญญาแล้วไม่สิ้นสุดอยู่กับใคร แต่ขึ้นอยู่กับผู้ชอบตั้งสติชอบคิดค้นด้วยปัญญา วันหนึ่ง อุบายแห่งความแยบคายจะเกิดขึ้นมากี่ครั้งกี่หนไม่สิ้นสุด เราอย่าเข้าใจว่าเราโง่ เราไม่ได้โง่อยู่ตลอดเวลา ถ้าได้หยั่งสติปัญญาลงในอวัยวะคือท่อนแห่งกายนี้แล้ว ความรู้ที่แปลกประหลาดจะปรากฏขึ้นมาจากกายนี้โดยไม่ต้องสงสัย พึงทราบว่าความเฉลียวฉลาดไม่มีใครสร้างไว้เป็นสินค้าเพื่อผู้ใด แม้สติก็ไม่มีอยู่ในที่ไหนนอกจากสถานที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ คือสติปัฏฐานสี่ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรมเท่านั้น นี่คือบ่อเกิดแห่งสติปัญญา เป็นที่บำรุงสติ บำรุงปัญญา และเป็นที่ปลูกสติ ปลูกปัญญา ให้มีความเฉลียวฉลาดรอบตัว

เมื่อเรายังโง่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้าศึกต่อเรา คือกายก็กลายเป็นข้าศึก เวทนาก็กลายเป็นข้าศึก จิตก็กลายเป็นข้าศึก ธรรมก็กลายเป็นข้าศึกไปหมด แต่เมื่อเราได้หยั่งสติกับปัญญาลงสู่จุดนี้ กายก็กลายเป็นธรรมขึ้นมา เวทนาก็กลายเป็นธรรมขึ้นมา จิตก็กลายเป็นธรรมขึ้นมา และธรรมก็กลายเป็นธรรมขึ้นมาในหลักธรรมชาติ เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่าสติปัฏฐาน คือหินลับสติกับปัญญานั่นเอง แต่ผู้ไม่ฉลาดเอามีดไปฟันหินเข้า มีดก็ต้องเสีย ถ้าผู้ไม่ฉลาดถือหินลับ คือกาย เวทนา จิต ธรรม นี้ว่าเป็นตน กาย เวทนา จิต ธรรม ก็กลายเป็นข้าศึกแก่คนโง่ผู้นั้น

ที่พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาสติปัฏฐานสี่ ไม่ได้สอนให้เอามีดไปฟันหิน แต่ทรงสอนว่าให้พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยสติปัญญาอย่างนี้ต่างหาก ดังนั้นสติกับปัญญาจึงตั้งได้ที่กาย เวทนา จิต ธรรม และฉลาดรอบคอบตนเองได้ด้วยหลักธรรมทั้งสี่ประเภทนี้ โปรดทราบว่าบ่อแห่งความเฉลียวฉลาดรู้รอบอยู่ในวงสติปัฏฐานสี่นี้ จงตั้งสติปัญญาลงสู่จุดนี้ การเรียนมากเรียนน้อย ถ้าเราไม่มีโอกาสไปร่ำไปเรียนให้ได้มากเหมือนอย่างบรรดาท่านที่มีโอกาสทั้งหลายก็ตาม ก็อย่าเสียใจ จงเรียนธรรมในหลักธรรมชาติที่มีอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ในตัวของเรานี้ พระพุทธเจ้าแลสาวกทั้งหลายท่านเรียนและสอนในหลักธรรมชาติ และผู้ปฏิบัติตามได้รับผลเกินความคาดหมายมาเป็นจำนวนมากแล้ว

แม้กิเลสอาสวะก็เป็นหลักธรรมชาติอันหนึ่ง ใคร ไม่เคยมีป้ายกระดานเรียนวิชากิเลส แม้สัตว์เดียรัจฉานและเด็ก เขาเคยรู้กิเลสเมื่อไร ทำไมเขาจึงมีกิเลส เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่เคยมีโรงร่ำโรงเรียนวิชากิเลส เรียนธรรมทั้งนั้น ทำไมกิเลสจึงมีเต็มหัวใจเล่า ทั้งนี้เพราะกิเลสเป็นหลักธรรมชาตินั่นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับใคร และไม่เข้าใครออกใครทั้งนั้น เป็นธรรมชาติที่เที่ยงธรรม คือตั้งอยู่ในหลักเหตุผลเช่นเดียวกัน ถ้าคิดผิดก็เป็นกิเลสขึ้นมา แต่ถ้าคิดถูกก็เป็นธรรมขึ้นมา เมื่อสรุปลงแล้วก็กิเลสกับธรรม ไม่ใช่ผู้อื่นผู้ใดจะก่อสร้างขึ้นให้เป็นข้าศึก และเป็นคุณต่อตนเอง นอกจากใจของเราผู้โง่และฉลาดเท่านั้นที่จะทำกิเลสให้ผูกมัดตนเองขึ้นมาด้วยความโง่ของตนเอง และจะสามารถแก้ไขกิเลสออกได้ด้วยความฉลาดของตนเท่านั้น

และขณะกิเลสเกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นจากที่ไหน นอกจากจะเกิดขึ้นจากความโง่เท่านั้น โง่อะไรเล่า เมื่อจะแยกออกตามประเภทแห่งความโง่แล้วได้แก่ เห็นก็โง่ ได้ยินก็โง่ ได้สูดกลิ่น ลิ้มรสก็โง่ ก็สิ่งใดมาสัมผัสก็หลงตามไปหมด มันโง่ทั้งรู้ อย่างนี้เอง เพราะรากฐานของจิตมันโง่ ฉะนั้นต้องพยายามให้รู้ว่าความโง่อยู่ที่จุดไหน จงตั้งสติปัญญาลงที่จุดนั้น เฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้ไม่มีอะไรเป็นข้าศึกอันร้ายแรงต่อเรา นอกไปจากกาย เวทนา จิต ธรรม เพราะความหลงก็หลงในกายนี้ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา รักก็รักกายนี้ ชังก็ชังกายนี้ ทุกข์ทั้งมวลก็เกิดขึ้นในกายนี้ จิตได้รับความทุกข์เดือดร้อนก็เพราะเรื่องแห่งกายนี้ และคำว่าธรรมจะหมายถึงอะไร คือกาย เวทนา และจิต ซึ่งเป็นเรือนแห่งทุกข์นี่เอง รวมแล้วเรียกว่า ธรรม

จงตั้งสติกับปัญญาลงในสติปัฏฐานสี่ ไตร่ตรองอยู่ทั้งวันทั้งคืน มีสติปัฏฐานสี่นี้เท่านั้น เป็นงาน เป็นทางเดิน เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ทำงาน พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า กี่รอบกี่เที่ยวไม่คำนวณ ทำเหมือนเขาขุดดินหรือขุดนา ไถนา คราดนา ขุดแล้วขุดเล่า ไถแล้วไถเล่า ทั้งไถดะไถแปร และคราดกลับไปกลับมา จนมูลไถมูลคราดแหลกละเอียด การเดินเร็วหรือช้าของสัตว์ไม่สำคัญ สำคัญที่มูลคราดมูลไถแหลกละเอียดแล้วเป็นพอ  การพิจารณาในหลักสติปัฏฐานสี่ด้วยปัญญาจะเร็วหรือช้าไม่สำคัญ สำคัญที่พิจารณาจนเข้าใจและแจ่มแจ้งแล้วเมื่อไร นั่นแลเป็นผลสะท้อนย้อนกลับมาให้เราได้รับความเฉลียวฉลาด จนสามารถปล่อยวางสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ใจและปราศจากความถือว่า กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นของเที่ยงเป็นสุข เป็นอัตตา ตัวตน เสียได้ด้วยอำนาจของปัญญา

ฉะนั้น การพิจารณาเราอย่าเห็นว่ามากไปหรือน้อยไป จงถือเช่นเดียวกับงานของโลกซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นทั่วหน้ากัน ที่ใครจะนั่งนอนอยู่เฉยๆ ไม่ได้ การทำงานในสติปัฏฐานสี่ เราอย่าตั้งเมืองพอขึ้นด้วยความเกียจคร้าน จงให้เมืองพอปรากฏขึ้นเองด้วยสติกับปัญญาที่พิจารณาพอแล้วและปล่อยวาง จะเป็นทางเพียงพอและถึงทางพ้นทุกข์ตามแบบของพระพุทธเจ้าโดยถูกทาง เมื่อเหนื่อย จิตอยากจะพักก็ให้เขาพักในเรือนคือสมาธิ การพักอยู่ของจิตจะนานหรือไม่นานขึ้นอยู่กับความเพียงพอของใจ เช่นเดียวกับคนนอนหลับ จะหลับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเพียงพอของธาตุขันธ์ แล้วตื่นมาก็ทำงานได้ ฉะนั้นจิตจะพักอยู่กี่ชั่วโมง ไม่ควรบังคับให้ถอนขึ้นมาเองเฉยๆ จงปล่อยให้พักอยู่จนเพียงพอแก่ความต้องการแล้วถอนขึ้นมาเอง

เมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วเป็นหน้าที่ของปัญญา ที่จะต้องทำการพิจารณาในสติปัฏฐานสี่เป็นลำดับไป ตามแต่ถนัดในสติปัฏฐานใด การพิจารณากายคือขยายให้โตบ้าง ทำให้เล็กลงบ้าง แยกส่วนออกเป็นแผนก ทำเป็นกองเนื้อ กองหนัง และแบ่งส่วนตามอาการนั้น แล้วกำหนดให้กระจายหายสูญไปจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล และจากความเป็นเนื้อเป็นหนังเป็นต้น จนกลายลงเป็นธาตุเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วปรุงขึ้นมาใหม่ พิจารณาอยู่เช่นนี้

วันหนึ่งจะได้สักกี่เที่ยว หรือกี่รอบไม่เป็นประมาณ ผลที่ปรากฏขึ้นกับใจ คือความชำนาญและฉลาดรอบคอบ และความสิ้นสงสัยในส่วนแห่งกาย เมื่อปัญญาเพียงพอต่อส่วนแห่งกายทุกส่วนแล้ว ก็รู้เท่าทันและปล่อยวางไว้อย่างสนิท หมดนิมิตในกายว่างามหรือไม่งาม สักแต่ว่ากายโดยความรู้สึกเท่านั้น ไม่มีความสำคัญว่ากายนี้เป็นอะไรต่อไป นี่คือหลักแห่งการพิจารณากายด้วยปัญญาของนักปฏิบัติ

เวทนา ซึ่งเกิดขึ้นจากกายและจากใจ เพราะเวทนามีสองประเภท คือ เวทนาของกายอย่างหนึ่ง เวทนาของจิตอย่างหนึ่ง ความสุข ทุกข์ และเฉย ปรากฏขึ้นในกายโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับใจ เรียกว่า กายเวทนา เวทนาทั้งสามอันใดอันหนึ่ง ปรากฏขึ้นในจิตที่สืบเนื่องมาจากการได้รับอารมณ์ จะเป็นอารมณ์ทางมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญาก็ตาม อารมณ์ทางสมุทัย เป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาก็ตาม เรียกว่า จิตเวทนา

การพิจารณาขันธ์ทั้งสี่ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ มีลักษณะสองประการคือ เกี่ยวกับความสัมผัสจากสิ่งภายนอก ไม่เกี่ยวกับสิ่งภายนอก แต่พิจารณาโดยลำพังตนเอง ที่เกี่ยวกับสิ่งภายนอกนั้น คืออาศัยสัมผัสภายนอกมากระทบแล้วพิจารณาไปตามสิ่งที่มากระทบนั้น ปรากฏอุบายขึ้นมาในขณะนั้นมากน้อยตามแต่กำลังของปัญญา จะหาความแยบคายใส่ตน ที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งภายนอกมาสัมผัสเลยนั้น เป็นเรื่องของปัญญา ทำหน้าที่ของตนไปตามลำพัง โดยอาศัยสภาวะที่มีอยู่เป็นเป้าหมาย

แม้สภาวะนั้น ไม่แสดงออกก็พิจารณาได้โดยสะดวก แต่การพิจารณาทั้งสองประเภทนี้พึงทราบว่ารวมสู่ไตรลักษณ์ เป็นเหมือนภาชนะที่รวมแห่งสภาวธรรมทุกประเภท จะปลีกจากนี้ไปไม่ได้ เช่นเดียวกับแม่น้ำทุก สาย ย่อมไหลรวมลงสู่มหาสมุทรฉะนั้น แต่พึงทราบว่า เรื่องของปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไม่มีสิ่งกระเพื่อมภายในใจให้รู้ก่อน พอจะถือเอาเป็นอารมณ์ได้ ข้อนี้ควรทราบถึงความกระเพื่อมก่อนว่า มีความหมายไปทางใดบ้าง เพราะดีชั่วเกิดจากความกระเพื่อมเป็นสำคัญ

ความกระเพื่อมของใจเป็นไปได้สองทาง คือกระเพื่อมเพื่อยังทุกข์ให้เกิดขึ้น แล้วผูกมัดตนเองให้ติดอยู่ ท่านเรียกว่า สมุทัย กระเพื่อมเพื่อรู้ทางเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ท่านเรียกว่า มรรค เกิดขึ้นจากความปรุงของปัญญาเอง และเกิดจากคำว่า สังขารอันเดียวกัน ผิดกันเพียงว่าปรุงไปในทางผิดหรือทางถูกเท่านั้น แต่เรื่องสมุทัย และเรื่องมรรค ไม่ใช่จะเกิดจากสังขารเพียงอย่างเดียว แม้เวทนา สัญญา และวิญญาณก็เป็นเหตุให้เกิดสมุทัยและมรรคได้ ตามความโง่ความฉลาดของผู้รับผิดชอบในขันธ์ของตน ทั้งนี้เมื่อเรายังโง่ขันธ์ทั้งห้าก็เป็นข้าศึก แต่ถ้าเราฉลาดรอบคอบแล้ว ขันธ์ทั้งห้าก็เป็นคุณเสมอไป เช่น พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ท่านใช้ขันธ์ทำประโยชน์แก่โลกตลอดวันนิพพาน ฉะนั้นขันธ์ทั้งห้าจึงเป็นเหมือนเครื่องใช้ เครื่องใช้ในบ้านย่อมจะมีคุณและโทษที่เกิดจากความโง่เขลา ความฉลาดของคนผู้เป็นเจ้าของ

เมื่อสรุปความแล้ว ทั้งสมุทัยและมรรค เกิดจากสังขารภายในอันเดียวกัน ผิดกันตรงที่ปรุงด้วยความหลงเพื่อผูกมัดตนเอง กับปรุงด้วยความฉลาดเพื่อแก้ไขตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้นสังขารฝ่ายมรรคจึงสามารถปรุงและพลิกแพลงในสภาวธรรมให้เกิดความฉลาดแก่ตนเองได้ จนมีความสามารถเพียงพอใน เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปัญญานี้ยังสามารถวิ่งเข้าสู่จุดเดียว คือ ใจ ซึ่งเป็นที่รวมแห่งขันธ์ทั้งหมด เพราะขันธ์ทั้งห้ามาจากใจ เนื่องจากใจเป็นรากฐาน คือแดนเกิดของสิ่งเหล่านี้ จึงปรากฏเป็นรูปกาย ธาตุขันธ์ อายตนะหญิงชายขึ้นมาได้ แม้ขันธ์ใดจะกระเพื่อมขึ้นเวลาใดก็ทราบ และทราบทั้งความเกิดขึ้นดับไปแห่งขันธ์นั้น ตลอดจนสมุฏฐานที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น

การตำหนิติชมในสภาวธรรมภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ทั่วทั้งจักรวาลก็หมดปัญหาลง เพราะปัญญาเป็นเครื่องตัดให้ขาดเข้ามาเป็นลำดับ สิ่งที่ยังเหลืออยู่ในลำดับต่อมา คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เท่านั้น ซึ่งยังคงเป็นคู่ตำหนิติชมกันอยู่ ในขณะที่กำลังสติปัญญายังไม่เพียงพอ เมื่อเพียงพอแล้วปัญหาติชมก็หมดไป เพราะปัญญาเห็นชัดว่าสภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น ไม่ใช่กิเลสบาปกรรมแต่อย่างใด เป็นแต่อาการของขันธ์และสภาวะอันหนึ่ง เท่านั้น แม้พระพุทธเจ้าและสาวกก็ยังมี ข้อนี้เราต้องย้อนเข้าไปหาตัวเหตุ ซึ่งเป็นเครื่องกดดันขันธ์ให้ไหวตัวไปตามอำนาจของความกดดันของตน

นั่นคือ ความรู้ภายใต้อำนาจของอวิชชา เรียกว่า ความรู้วัฏจักร นอกจากตนเป็นวัฏจักรแล้ว ยังบังคับขันธ์ซึ่งเป็นบริวารให้กลายเป็นกงจักรไปด้วย ฉะนั้นผู้อยู่ใต้กงจักรอันนี้จึงไม่มีอิสรเสรีในตนเอง ต้องยอมจำนนต่อเขาอยู่ทุกขณะที่จักรตัวใหญ่นี้จะหมุนหรือชี้เข็มทิศทางใด เมื่อรู้ต้นเหตุซึ่งเป็นที่เกิดขึ้นแห่งกิเลสทุกประเภท ว่าเกิดจากความรู้วัฏจิตนี้แล้ว เราต้องทราบว่า วัฏจิตนี้คือกิเลสอันแท้จริง เราจะนิ่งนอนใจในความรู้อันเป็นตัวกงจักรนี้ได้อย่างไร นอกจากจะหยั่งปัญญาลงสู่จุดนี้ เพื่อความรู้เหตุผลโดยไม่นิ่งนอนใจเท่านั้น

ปัญญาที่จะไปปฏิบัติต่อความรู้วัฏจักรอันนี้ ต้องเป็นปัญญาที่ทันสมัยและอยู่ในลักษณะอัตโนมัติ หมุนรอบตัวอยู่กับความรู้อวิชชาดวงนั้นไม่มีเวลาหยุดยั้ง โดยไม่ต้องมีการบังคับ ทำงานโดยลำพังตนเอง กำหนดรู้ทั้งความเกิดขึ้นดับไปของทุกอาการที่เกิดจากใจ ทั้งความเปลี่ยนแปลงอันละเอียดของจิตที่เป็นอยู่ทุกขณะ จะเปลี่ยนแปลงเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นเศร้าหมองหรือผ่องใสก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นความโง่ความฉลาดก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นความองอาจกล้าหาญหรือความอ่อนแอก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นความสว่างไสวหรืออับเฉาก็รู้

อาการทั้งนี้เป็นไตรลักษณ์ประจำวัฏจิต ต้องกำหนดรู้ทุกระยะที่เปลี่ยนแปลง และเคลื่อนไหว จนกว่าจะขุดค้นเข้าถึงรากแก้ว คือตัวประธาน และทำลายได้ด้วยปัญญาในกาลใด แล้วอาการเหล่านี้ก็หมดการเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที เพราะตัวประธานได้ถูกทำลายสิ้นแล้ว เป็นอันว่าหมดทางเกิดขึ้นแห่งอาการอันเป็นเครื่องพรางตาทุก อาการ สภาวะทั่ว ไป จะปรากฏเปิดเผยทั่วทั้งโลกธาตุ ประกาศเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสภาพปกติอยู่ตามธรรมดาของตน ไม่เคยเป็นข้าศึกศัตรูต่อผู้ใด นอกจากความรู้ขวางโลก และขวางธรรมดวงเดียวเท่านี้ เกิดคดีในตัวเองแล้วลุกลามไปหาสิ่งภายนอกให้กลายเป็นคู่ความตาม กันไปเท่านั้น เมื่อจิตพ้นจากคดีฟ้องร้องตัวเองและขณะธรรมชาติอันลี้ลับได้ตกสูญหายไปแล้ว ธรรมที่บริสุทธิ์เต็มที่ก็ได้เปิดเผยขึ้นมาพร้อม กัน แม้สภาพธรรมทั้งหลายที่เคยถูกกดขี่บังคับหรือตำหนิติชมจากอวิชชาผู้ครองวัฏฏะ ก็ได้กลายเป็นสิ่งเปิดเผยขึ้นมาตามธรรมชาติของตน

ธรรมอัศจรรย์ซึ่งเกิดพร้อมวิชชาวิมุตติได้ประกาศความสงบศึก และความเสมอภาคต่อสภาวธรรมทั่ว ไป ราวกะจะเป็นมิตรต่อกันตลอดอนันตกาล ต่างฝ่ายต่างไม่เป็นศัตรูต่อกัน ขันธ์ห้าอายตนะภายใน คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสและธรรมารมณ์ ต่างก็ทำหน้าที่ของตนตามลำพังโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะอายตนะสัมผัสกัน และต่างก็เป็นอิสรเสรีในตัวเอง โดยไม่ถูกกดขี่บังคับจากฝ่ายใด

ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ในหลักธรรมชาติ ได้กลายเป็นความรู้ยุติธรรมต่อตนเอง สภาวะทั่ว ไปจึงกลายเป็นยุติธรรมไปตาม กัน นี่เรียกว่า ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ความรู้เห็นตามเป็นจริง ในหลักธรรมชาติทั้งภายใน ทั้งภายนอกอย่างแจ้งชัดด้วยปัญญา ไม่มีอันใดลี้ลับและยังกลับเป็นสิ่งเปิดเผยเสียสิ้น

ผลอันเป็นที่พึงพอใจซึ่งได้รับจากความรู้ความเห็นที่ปรากฏขึ้นกับใจของผู้ปฏิบัติ จะสะเทือนขึ้นภายในเป็นเชิงอุทานว่า “สิ้นเรื่องเพียงเท่านี้” เรื่องกิเลสตัณหาเรื่องรัก เรื่องชัง เรื่องติ เรื่องชม เรื่องหลง เรื่องรู้อะไรต่อไปอีก และเรื่องภพชาติให้เกิด ตาย ที่จะมาเกี่ยวโยงกันตามที่เคยเป็นมา เป็นอันว่ายุติกันได้โดยสิ้นเชิง จะไม่มีอันใดสืบต่อธรรมชาตินี้ไปได้อีก เพราะอดีตก็รู้เท่าอนาคตก็รู้ทัน ปัจจุบันก็ไม่ยึด ปรากฏเป็นความบริสุทธิ์ล้วน อยู่กับความรู้ในธรรมชาตินั้นโดยประจักษ์แล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กายก็ไม่เป็นภัย เพราะใจไม่เป็นภัย รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสก็ไม่เป็นภัย เพราะใจหมดเชื้อให้เกิดภัยแล้ว เรียกว่า สุคโต แปลว่าไปดี คือไม่ข้องแวะกับอันใด ทั้งที่เป็นด้านวัตถุและนามธรรม แม้สภาวะทุกสิ่งก็เป็นปกติหรือหมดภัย เพราะข้างในไม่เป็นมหาโจรเที่ยวยื้อแย่ง

นี่ผลแห่งการปฏิบัติ ด้วยการทบทวนสอบสวนดูความเคลื่อนไหวการดำเนินของตนตั้งแต่ส่วนหยาบ ส่วนกลาง และส่วนละเอียด ได้แก่ผลที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นสมบัติของเราทุกท่าน เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงผูกขาดไว้เพื่อพระองค์ผู้เดียว ทรงประทานไว้เพื่อบรรดาสัตว์ ผู้มีความแกล้วกล้าสามารถด้วยความพากเพียร ไม่เห็นแก่ความท้อแท้อ่อนแอ

คุณธรรมที่ได้อธิบายมาแต่ต้นจนสุดขีดความสามารถ ขอย้ำให้บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายได้ทราบว่าไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความเกียจคร้านนอนตื่นสาย ความท้อแท้อ่อนแอ ความสะเพร่ามักง่าย ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง ความคลุกคลี ความเบื่อต่อความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมาก และความเห็นแก่โลกามิส ไม่มองดูธรรมและศาสดาผู้พาดำเนินทุกพระอาการที่เคลื่อนไหว

แต่ธรรมเกิดแก่ผู้มีความขยันหมั่นเพียร ผู้อดทนต่อกิจการที่ชอบ หนักก็เอาเบาก็สู้ เป็นผู้มักน้อยและสันโดษในปัจจัยเครื่องอาศัย ถือการไม่คลุกคลีกับใคร และความเพียรเพื่อรื้อถอนตนเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง มีตนกับความเพียรในอิริยาบถทั้งหลาย มีความเพียรด้วยสติปัญญาทุก อาการที่เคลื่อนไหว ไม่หมายมรรคผลนิพพานนอกไปจากความเพียร และนอกไปจากปัจจุบัน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอยู่ภายในจิตตลอดเวลา และเป็นหลักแห่งสวากขาตธรรมที่พระองค์ได้รับผลเป็นที่พอพระทัย และประทานไว้ชอบแล้ว ผู้ปฏิบัติดำเนินตาม ผลจะพึงได้รับก็เป็น สันทิฏฐิโก เห็นเองในธรรมทุกขั้น โดยปราศจากสิ่งใดกีดขวาง

อกาลิโก ทั้งธรรมส่วนเหตุ ทั้งธรรมส่วนผล ทุก ขั้นมีอยู่อย่างสมบูรณ์ตลอดกาล เมื่อบำเพ็ญถึงที่แล้วบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลาไม่มีหลับและตื่น ไม่มีวันและคืน ทรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์เสมอไปตลอดกาล เอหิปัสสิโก เป็นธรรมเปิดเผยและทนต่อการพิสูจน์ตลอดกาลไม่ขาดวรรคขาดตอน ผู้ตามพิสูจน์จนได้พบความจริงจากหลักธรรมจนเต็มที่แล้ว สามารถแสดงหลักความจริงที่ตนได้รู้เห็น ทั้งที่เป็นส่วนเหตุที่ได้พิจารณาด้วยข้อปฏิบัติ ทั้งที่เป็นส่วนผลเป็นขั้น ตลอดความบริสุทธิ์ภายในใจ แก่บรรดาท่านผู้ฟังและสนใจให้เห็นชัดตามความจริงและเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นได้

โอปนยิโก ธรรมมีอยู่ทั่วไปเหมือนสมบัติในแผ่นดิน ผู้สนใจใคร่ต่อธรรมสามารถจะน้อมธรรมที่ได้เห็น ได้ยิน จากบุคคลและสถานที่ต่าง มาเป็นคติแก่ตนเองได้ทุกเวลา ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ จะปรากฏคุณคือ ความรู้พิเศษขึ้นกับใจของตนโดยเฉพาะตามกำลังสติปัญญาที่ตนสามารถโดยไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นขอให้บรรดาท่านผู้ฟังทุก ท่านจงมีความอาจหาญร่าเริงต่อความเพียรในหลักแห่งสวากขาตธรรม อย่าเห็นว่าเป็นความทุกข์ลำบาก ความหิว ความลำบากในร่างกายทุกส่วน จะต้องมีด้วยกันทุกรายทั้งคนและสัตว์ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นความเสมอภาคทั่วหน้ากัน ไม่มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบแก่ใคร พอจะตำหนิว่าทุกข์ลำเอียงต่อขันธ์ ส่วนความทุกข์ทางใจซึ่งเกิดจากอำนาจกิเลสตามประเภทของเขา ให้พึงทราบว่านั้นคือหนามยอกหัวใจ จงพยายามถอดถอนออกให้จงได้

การตะเกียกตะกายเพื่อถอดหนาม และการตะเกียกตะกายเพื่อขึ้นจากหลุมมูตรหลุมคูถ อย่าถือเป็นความลำบากกว่าที่จะยอมนอนจมอยู่ในหลุมมูตรหลุมคูถ หรือกว่าที่จะยอมให้หนามจมอยู่ในหัวใจของเรา ทุกข์เพื่อก้าวออกจากทุกข์ด้วยข้อปฏิบัติเป็นทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ทั้งเป็นทางที่พระองค์ทรงดำเนินผ่านทุกข์มาแสนสาหัส และได้รับผลถึงความเป็นศาสดาของโลก เพราะทรงดำเนินฝืนทุกข์เหมือนเราทั้งหลายกำลังดำเนินอยู่ บัดนี้ และคำว่า พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ อย่าลืมว่าลักษณะทั้งสามนี้เป็นที่ฝากชีวิตจิตใจของพวกเราและพาเราให้พ้นทุกข์โดยปลอดภัย

ความเกียจคร้านความไม่อดทน ต่อเหตุผลคือหลักธรรมเป็นต้น ไม่เคยนำผู้ใดข้ามพ้นจากอุปสรรคไปได้แม้แต่รายเดียว โลกทุกหย่อมหญ้าพึงทราบว่าตั้งอยู่ได้เพราะการงาน ไม่มีงานชีวิตต้องแตกสลาย สัตว์ทุกประเภทต่างก็แสวงหาอาหารใส่ปากใส่ท้อง พึงทราบว่าเขาทำ ไม่ใช่งานจะมีแต่มนุษย์จำพวกเดียวเท่านั้น งานที่จำเป็นทุกถ้วนหน้า คือ งานอาชีพ แม้สัตว์เดียรัจฉานก็ต้องทำ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นเหนือชีวิตใด ทั้งนั้น เราเป็นนักบวชมีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้ามุ่งหน้าต่อมรรค ผล นิพพาน จงเห็นงานประจำเพศและความประสงค์ของตน คืองานเพื่อนิพพาน ว่าเป็นงานจำเป็นเหนือชีวิต เพราะงานนี้เป็นงานเพื่อไปแล้วไม่กลับมา ผลที่เกิดจากงานนี้คือวิมุตติหลุดพ้นไปแล้วหมดความวกเวียน โปรดพากันพากเพียรจนสุดกำลังของตน จะต้องเห็นผลประจักษ์กับใจในวันนี้วันหน้าไม่ต้องสงสัย

วันนี้ได้แสดงธรรม โดยเริ่มต้นความสะดวกสบายในระหว่างเรากับหมู่เพื่อน แล้วย้อนเข้าอธิบายเรื่องความสบายในระหว่างใจกับอารมณ์อันเป็นความสงบตามขั้น จนถึง เตสํ วูปสโม สุโข ความระงับดับเสียซึ่งสังขารอันก่อกวน ยังเหลือเฉพาะสังขารประจำขันธ์ห้า ซึ่งไม่มีพิษสงอะไร พระพุทธเจ้าและสาวกท่านก็มีจนกว่าจะนิพพานไปเสีย ขันธ์ทั้งห้าก็ดับสลายลงไปสู่สภาพเดิมของเขา

ดังนั้น ขอให้บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายผู้มีแก่ใจ ซึ่งอุตส่าห์สละจากบ้านจากเรือนทั้งใกล้ทั้งไกล จงฟังให้ถึงจิตคิดให้ถึงใจ ปฏิบัติให้ถึงขีดแดน ตายที่ไหนแล้วเราไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับร่างอันนี้ ป่าช้าของเรามีอยู่ทุกแห่งทุกหน ใต้ต้นไม้ ภูเขา หรือป่ารกชัฏ ที่ไหนก็ได้ ล้มลงแล้วใครจะเอาไปที่ไหนก็แล้วแต่เขา จงตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าแลสาวก ให้ทันทั้งข้อวัตรปฏิบัติ ทั้งความรู้ภายใน ทั้งความเป็นความตาย อย่าให้ผิดเยี่ยงอย่างที่ท่านพาดำเนิน สมกับพระนามว่าเป็นศาสดาของโลก เพราะพระองค์ท่านและสาวกไม่เคยจับจองป่าช้าให้เหมาะสมไว้เพื่อความตาย ขันธ์หมดกำลังลงที่ไหนเป็นป่าช้าที่นั่น เราจงเป็นศิษย์พระตถาคตด้วยความไม่เห็นแก่เรือนร่าง ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ต่ำช้าจำพวกไม่มีอาชีพทางอื่นนอกจากร่างกายของคนและสัตว์ สิ่งที่เราไม่ยอมแพ้และปล่อยวาง คือความเพียรเพื่อไปไม่ต้องกลับมาโดยถ่ายเดียว

ขอให้ท่านทั้งหลายยึดธรรมที่กล่าวมานี้ไว้เป็นหลักใจ ใคร่ต่อความเพียรไม่ท้อถอย จะเป็นผู้ถึงแดนแห่งความไม่วกเวียนในวันข้างหน้า ข้อสำคัญอย่าถือความขี้เกียจท้อแท้ว่าเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน วันหนึ่งแน่ ท่านทั้งหลายจะเป็นเจ้าของสมบัติอันล้ำค่าภายในใจ และทรงไว้ซึ่งประวัติแห่งบุคคลผู้มีชัยชนะต่อข้าศึกคือตนเอง ไม่กลับมาแพ้ตลอดกาล คำว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ อันเป็นบ่อแห่งความสงสัย ซึ่งเคยเป็นมาในขณะที่ยังไม่รู้ จะกลายเป็นธรรมตัดปัญหาลงในขณะเดียวกันโดยสิ้นเชิง

ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ ขอบรรดาท่านผู้ฟังทุกท่านจงประสบความสำเร็จตามใจหวังดังคำอวยพรทุกประการเถิด เอวํ ขอยุติการแสดงพระธรรมเทศนาลงเพียงนี้

www.Luangta.com or www.Luangta.or.th

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๕

ความเพียรเพื่อไปไม่ต้องกลับมา

 

การปฏิบัติพระศาสนาพึงเล็งดูเข็มทิศ คือหลักแห่งสวากขาตธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว นำเข้ามาเทียบเคียงกับความเคลื่อนไหวแห่งกาย วาจา ใจของตน อย่าให้เคลื่อนคลาดไปจากหลักสวากขาตธรรม จงสังเกตทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา ทั้งทางใจ ถ้าเคลื่อนจากธรรมนี้แล้ว พึงทราบว่าเป็นไปเพื่อทางผิด อย่างน้อยก็เนิ่นช้า อย่างมากก็เป็นมลทินแก่ตนเอง

อนึ่ง เราทุกท่านซึ่งมารวมกันอยู่ในสถานที่นี้ ไม่ได้อยู่บ้านเดียวเมืองเดียวกันและในตระกูลเดียวกัน ต่างก็ระเหเร่ร่อนมาด้วยเจตนาหวังดีของตน ถ้าพูดตามโลกแล้ว เราทั้งหลายไม่ได้เป็นญาติกัน เพราะต่างบิดามารดาผู้ให้กำเนิด เมื่อพูดตามหลักธรรมที่เราทั้งหลายทรงอยู่ บัดนี้แล้ว เรียกว่าเราทั้งหลายเป็นญาติกันอย่างสนิทที่จะแยกจากกันไม่ได้ เพราะญาติทางความเกิดก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ญาติทางความสุข ความทุกข์ ความเสื่อม ความเจริญในสมบัติภายนอกภายใน และความมั่งมีศรีสุขและความอับจน ต่างก็ได้ผ่านมาในทางสายเดียวกัน และญาติทางนักบวชซึ่งเป็นผู้โกนผมโกนคิ้วเพื่อเสียสละสิ่งมีค่า และสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ตนเองเป็นเจตนาอันเดียวกัน แม้ปฏิปทาเครื่องดำเนินก็เช่นเดียวกันด้วย มีพระธรรมวินัยเป็นเครื่องปกครอง และดำเนินอย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นพยานชี้ให้เห็นว่า เราทั้งหลายเป็นญาติกันอย่างสนิท

แม้แต่ลูกพ่อเดียวแม่เดียวกันยังมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน คู่สามีภรรยาซึ่งเป็นที่รักใคร่กันเท่าไรก็ยังมีการขัดข้อง และทะเลาะไม่ลงรอยกันได้ในบางกรณี และบางกาล สำหรับเราทั้งหลายที่ได้มาอยู่ร่วมกัน บัดนี้นับแต่ล่วงมาแล้ว สำหรับผมผู้เป็นหัวหน้าปกครองบรรดาท่านทั้งหลาย รู้สึกว่าเป็นที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง การที่พวกเราได้รับความร่มเย็น ไม่มีการระแคะระคายซึ่งกันและกัน ทั้งข้อปฏิบัติ ทั้งด้านความเห็นภายใน อันจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน และเป็นบ่อเกิดแห่งความกระทบกระเทือน นับแต่ส่วนเล็กส่วนน้อยจนถึงส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏ ทั้งนี้เนื่องจากต่างท่านต่างก็มีหลักธรรม คือเหตุผล เป็นเครื่องสอบสวนทบทวนอยู่ในตัวเอง และหมู่เพื่อนด้วยกัน จึงอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นสุข

ถ้าหากหลักธรรมของพวกเราได้ด้อยไปบ้างในการทบทวน ความเคลื่อนไหวในระหว่างตนกับหมู่คณะนั่นแล คือบ่อเกิดแห่งความระแคะระคายได้เริ่มไหวตัวขึ้นแล้ว ถ้าเป็นอย่างหม้อน้ำก็แสดงว่ากำลังร้าว จากร้าวก็จะแตกกระจาย โปรดคิดดูหม้อน้ำเพียงแต่ร้าวเท่านั้นคุณภาพก็ไม่สมบูรณ์ที่จะใช้หุงต้มแกง หรือขังน้ำก็ไม่ได้ผลเต็มที่ ยิ่งหม้อน้ำได้แตกไปเสียก็ยิ่งขาดประโยชน์ที่พึงจะได้รับอย่างไม่มีปัญหา

เรื่องความไม่ลงรอยกันด้วยทิฐิมานะหรือปฏิปทา ที่ปราศจากหลักธรรมคือเหตุผล ก็ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกัน บรรดาเราทุกท่านที่อยู่ร่วมกัน ถ้าจะเทียบก็เหมือนหม้อน้ำกำลังสมบูรณ์ ไม่มีรอยร้าวหรือบิ่นแม้แต่น้อย เพราะอยู่ร่วมกันด้วยความพร้อมเพรียงและเป็นสุข ทั้งนี้เนื่องจากต่างท่านต่างมีธรรม คือหลักเหตุผลประจำใจของตน เพราะไม่เห็นแก่ความเป็นผู้ใหญ่และไม่เห็นแก่ความเป็นผู้น้อย แต่เห็นแก่ธรรมคือเจตนาดี มุ่งดำเนินตามสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างเต็มสติปัญญา และกำลังความสามารถของแต่ละท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าเป็นการปฏิบัติถูกหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

เมื่อการดำเนินของพวกเราแต่ขั้นหยาบเป็นการถูกหลักธรรม จึงพร้อมกันอยู่ด้วยความเป็นสุขเช่นนี้ แม้ส่วนละเอียดอันเป็นส่วนภายในก็พึงทราบว่า จะต้องเป็นไปจากส่วนหยาบนี้ ส่วนละเอียดหมายถึงเรื่องภายในใจโดยเฉพาะ ซึ่งเราจะพยายามปรับปรุงแก้ไขส่วนบกพร่องที่เกิดขึ้นจากกาย วาจา ใจของตน ให้เป็นไปเพื่อความสงบเยือกเย็น ที่กล่าวมาแล้วหมายถึงความสงบที่เป็นไปในระหว่างหมู่เพื่อน นับว่าเป็นที่ยินดี ทั้งการปกครองก็รู้สึกว่าเบาใจ ไม่ได้เป็นกังวลสำหรับผู้เป็นหัวหน้าที่เกี่ยวกับบรรดาลูกศิษย์ จะเป็นรายใดก็ตาม ทั้งนี้เราก็พอจะเห็นผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการระมัดระวังอยู่แล้ว เพราะการถือหลักธรรมเป็นเข็มทิศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าถือเรื่องของเราแต่ละราย พยายามปรับปรุงตนเองแต่ละท่านให้เข้ากับหลักธรรมแล้ว ผลที่ปรากฏขึ้นให้เราได้รับคือความร่มเย็นเป็นสุข

อันดับต่อไปพึงถือหลักธรรมส่วนหยาบที่เกี่ยวกับหมู่เพื่อน เข้าไปปรับปรุงจิตใจ โดยเฉพาะจิตใจที่ได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างสิ่งที่มาสัมผัส เกิดความไม่สงบขึ้นภายในใจ พึงทราบว่าจะต้องมีเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราพิจารณายังไม่รอบคอบ ในระหว่างสิ่งที่มาสัมผัสกับการรับรู้ด้วยสติปัญญา ซึ่งไม่สมบูรณ์พอ จิตจึงทรงความสงบของตนไว้ไม่ได้ หรือผู้ได้แล้วในขั้นนี้ ขั้นละเอียดเข้าไปกว่านี้ซึ่งเรายังไม่สามารถระงับได้ กลายเป็นเรื่องเกิดขึ้นกับใจอยู่ตลอดเวลาก็ยังมี จงสอบสวนทบทวนดูเช่นเดียวกับเราปฏิบัติต่อหมู่เพื่อน ถ้าใจได้มีการทดสอบตนเองตามอาการเคลื่อนไหวต่ออารมณ์อยู่แล้ว เราจะได้รับผลเป็นการตอบแทนขึ้นกับใจ คือใจจะเริ่มมีความสงบตามลำดับ

อนึ่ง ความสงบยังมีหลายขั้น เมื่อผ่านความสงบขั้นหยาบนี้ไปได้ ความสงบขั้นกลางก็ยังมี และเรื่องก่อกวนตามขนาดของอารมณ์กับความสงบขั้นนั้น ยังมีแฝงอยู่เช่นเดียวกัน จนกว่าจะได้นำสติปัญญาเข้าสอบสวนใคร่ครวญดูสิ่งที่มารบกวนต่อความสงบขั้นกลางจนพอตัวแล้ว ความสงบขั้นกลางก็กลายเป็นความสงบที่สมบูรณ์ขึ้นมาโดยลำพังตนเอง อันดับต่อไปต้องพยายามแก้ไขอารมณ์ที่เป็นข้าศึกต่อความสงบส่วนละเอียด ซึ่งจะมีการสัมผัสวัดเหวี่ยงกับใจอยู่ตลอดเวลา ด้วยสติกับปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยประกอบกับองค์แห่งความเพียรอยู่เสมอ ความสงบส่วนละเอียดก็จะปรากฏตัวขึ้นมาอย่างเต็มดวง เช่นเดียวกับความสงบส่วนหยาบและส่วนกลาง เรื่องของสติกับปัญญาพึงทราบว่าเดินตามรอยกับความสงบทุก ขั้นเหมือนเงาเทียมตัว

หลักแห่งการปฏิบัติธรรม อย่าพึงเข้าใจว่าปัญญาจะไปอยู่ข้างหน้า สมาธิอยู่ข้างหลัง ที่ถูกตามหลักความจริงแล้ว สติกับปัญญาจะต้องเคียงคู่กันไปกับความสงบขั้นนั้น และมีตามฐานะของความสงบ เช่น เริ่มมีความสงบก็ควรเริ่มปัญญาพิจารณาเป็นพี่เลี้ยงเสมอไป จนปรากฏเป็นความสงบอย่างกลางและอย่างละเอียด ปัญญาก็ต้องเป็นพี่เลี้ยงตาม กันไป ไม่ยอมปล่อยให้เป็นแต่ความสงบโดยถ่ายเดียว นี่คือหลักธรรมชาติที่ได้ปฏิบัติมาตามกำลัง ได้เปิดเผยให้ท่านผู้ฟังทราบโดยตลอดมิได้ปิดบังไว้แม้แต่น้อย โปรดทราบไว้ว่าเรื่องของสติกับปัญญานี้ จะปราศจากกันกับความสงบไปไม่ได้ ทั้งเป็นธรรมจำเป็นซึ่งจะต้องใช้อยู่ตลอดเวลา จนมีกำลังสามารถรื้อถอนตนขึ้นจากหล่มลึกคืออวิชชาได้ ก็เพราะสติปัญญาเป็นหลักประกัน

และโปรดทราบว่า ความสงบของจิตไม่ใช่เป็นนิสัยอันเดียวกัน และลักษณะแห่งความสงบก็ต่างกันตามนิสัยของผู้ปฏิบัติแต่ละราย แต่ผลรายได้นั้นเป็นอันเดียวกัน ลักษณะของจิตบางประเภทเมื่อบริกรรมบทใดบทหนึ่ง บรรดาธรรมที่ถูกจริต พอเริ่มบริกรรมเข้าเท่านั้น จิตก็ลงได้ทันทีและลงได้อย่างรวดเร็ว นี่คือนิสัยของสมาธิอบรมปัญญา แต่บางรายค่อย สงบเข้าไปและรวมลงอย่างเชื่องช้า สุดท้ายก็ลงถึงที่และปล่อยวางคำบริกรรม ทรงไว้ซึ่งความรู้อันเดียว มีสติรอบรู้อยู่ และบางครั้งต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องฝึกทรมานอย่างเต็มที่แล้วรวมลงสงบได้ในลักษณะเดียวกัน นี่คือนิสัยปัญญาอบรมสมาธิ

และบางครั้งลักษณะจิตของคนเดียวนั่นเองไม่ใช่จะลงชนิดที่เคยลงเสมอไป เช่นรายที่เคยลงได้อย่างรวดเร็วกลับลงอย่างเชื่องช้าก็ยังมี เพราะเหตุนี้จึงไม่ค่อยยึดถือเป็นที่ข้อข้องใจ สิ่งจะถือเป็นสำคัญ คือผลที่ปรากฏขึ้นจากความสงบนั้นเป็นอย่างไร ต้องเป็นความสงบสุขหนึ่ง มีความรู้อยู่เพียงอันเดียวหนึ่ง จิตไม่กระเพื่อมหนึ่ง ไม่เป็นสื่ออารมณ์ในขณะที่จิตพักรวมอยู่หนึ่ง และมีจิตรู้ว่าจิตของตนหยุดหนึ่ง จิตจะรวมลงช้าหรือเร็วให้ถือเอาผลตามที่อธิบายมานี้ เมื่อถอนขึ้นมาแล้วจงเป็นนักวิพากษ์วิจารณ์ในกายวิภาคของตน กายทุกส่วนเป็นสภาพแห่งไตรลักษณ์ในหลักธรรมชาติทุก อาการ ใครจะรู้หรือไม่ก็ตาม กายทุกส่วนต้องเป็นอย่างนั้น

คำว่า ไตรลักษณ์ คือมีลักษณะสาม แปลว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนตามคำเสกสรรและกล่าวอ้างของใคร ในไตรลักษณ์ทั้งสามนี้ อย่าเข้าใจว่ามีนอกไปจากอาการแห่งกายหนึ่ง อาการเดียวนั่นเอง พร้อมด้วยไตรลักษณ์อยู่แล้วอย่างสมบูรณ์ เช่น อาการแห่งกายของเรามีถึง ๓๒ อาการ ทุก อาการล้วนเป็นไตรลักษณ์โดยธรรมชาติอยู่ในตัว จะแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้น บรรดานักปฏิบัติแม้จะพิจารณาเฉพาะไตรลักษณ์ใด เช่น อนิจจัง ตามความถนัดเท่านั้น เรื่องทุกข์ กับเรื่องอนัตตาก็จะปรากฏเป็นตัวภัยขึ้นมาให้จิตเห็นโทษได้เช่นเดียวกัน เพราะไตรลักษณ์หนึ่ง ต่างก็เป็นตัวภัยและเป็นที่น่าลุ่มหลงอยู่ในวัตถุหรืออาการอันเดียวกัน ซึ่งเป็นตัวเหตุให้จิตหลงได้เท่าเทียมกัน

เมื่อจิตพิจารณารู้ชัดในไตรลักษณ์ใดแล้ว แม้ไตรลักษณ์อื่น ก็ไม่พ้นวิสัยของปัญญาองค์ธรรมจักรหมุนรอบตัวไปได้ เพราะไตรลักษณ์ทั้งสามแม้จะต่างชื่อกัน แต่ก็มีอยู่ในวัตถุหรืออาการอันเดียวกัน เป็นแต่ท่านแยกอาการออกเป็น อนิจฺจํ บ้าง ทุกฺขํ บ้าง อนตฺตา บ้าง        เหมือนกับอาการแห่งกายของเรา แม้จะรวมเป็นก้อนแห่งธาตุของบุคคลผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อแยกจากกันแล้วมีอยู่สี่ธาตุ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แม้แต่ธาตุดินยังแยกออกเป็น ๓๒ อาการ และแต่ละอาการพึงทราบว่าเป็นธาตุดินนั่นเอง ธาตุน้ำจะมีกี่ประเภทก็คือน้ำ คือไฟ คือลม นั่นเอง อาการแห่ง อนิจฺจํ  ทุกฺขํ  อนตฺตา ก็คือไตรลักษณ์นั่นเอง

โปรดทราบโดยวิธีเทียบเคียงกันอย่างนี้ และไตร่ตรองดูเรื่องไตรลักษณ์ที่มีอยู่ทั่วสรรพางค์กายของเรา เราจะถนัดหรือแยบคายในทาง อนิจฺจํ หรือ ทุกฺขํ หรือ อนตฺตา ก็ให้พิจารณาส่วนที่จริตชอบนั้นมาก อย่างไรไตรลักษณ์ทั้งสามนี้จะซึมซาบเกี่ยวโยงถึงกันหมด และจะแยกจากกันไปไม่ได้ นี่อธิบายตามหลักธรรมชาติที่ได้ปฏิบัติและปรากฏมา ขอให้เป็นที่ลงใจ ไม่ต้องสงสัยในหลักธรรมว่า ไตรลักษณ์ทั้งสามนี้จะแยกจากกันไปอยู่ในต่างแดน พึงทราบว่าเป็นหลักธรรมชาติอันเดียวกัน กำหนดเพียงอันหนึ่งก็ซึมซาบทั่วถึงกันหมด

จงพิจารณาให้รู้ชัดด้วยปัญญา จะรู้ชัดในไตรลักษณ์ใดก็ได้ จะเป็นความรู้ที่ถอดถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น สำคัญว่าเป็นเราเป็นของเรา ออกจากใจได้โดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกับเราพิจารณาพร้อม กันทั้งสามไตรลักษณ์ เรื่องของปัญญาจะวิ่งทั่วถึงกันหมด เพราะสิ่งที่ถูกพิจารณาแต่ละอาการสมบูรณ์ด้วยไตรลักษณ์อยู่แล้ว เมื่อปัญญาได้ใคร่ครวญเห็นเรื่อง อนิจฺจํ ก็แสดงว่าเห็นภัยอยู่แล้ว เห็นเรื่อง ทุกฺขํ ก็เป็นเรื่องเห็นกองทุกข์กองภัยเช่นเดียวกัน และเห็นเรื่อง อนตฺตา ก็เป็นการบอกชัดว่านั้นคือตัวภัย ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของเที่ยงแท้ถาวรเป็นคลังแห่งความสุข และว่าเป็นเราเป็นของเราให้ยุ่งไป เพื่อก่อเหตุแห่งวัฏฏะพัดผันตนเอง

เรื่องของสติแล้วอย่าถือว่าเป็นภาระของใคร และเรื่องของปัญญาแล้วไม่สิ้นสุดอยู่กับใคร แต่ขึ้นอยู่กับผู้ชอบตั้งสติชอบคิดค้นด้วยปัญญา วันหนึ่ง อุบายแห่งความแยบคายจะเกิดขึ้นมากี่ครั้งกี่หนไม่สิ้นสุด เราอย่าเข้าใจว่าเราโง่ เราไม่ได้โง่อยู่ตลอดเวลา ถ้าได้หยั่งสติปัญญาลงในอวัยวะคือท่อนแห่งกายนี้แล้ว ความรู้ที่แปลกประหลาดจะปรากฏขึ้นมาจากกายนี้โดยไม่ต้องสงสัย พึงทราบว่าความเฉลียวฉลาดไม่มีใครสร้างไว้เป็นสินค้าเพื่อผู้ใด แม้สติก็ไม่มีอยู่ในที่ไหนนอกจากสถานที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ คือสติปัฏฐานสี่ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรมเท่านั้น นี่คือบ่อเกิดแห่งสติปัญญา เป็นที่บำรุงสติ บำรุงปัญญา และเป็นที่ปลูกสติ ปลูกปัญญา ให้มีความเฉลียวฉลาดรอบตัว

เมื่อเรายังโง่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้าศึกต่อเรา คือกายก็กลายเป็นข้าศึก เวทนาก็กลายเป็นข้าศึก จิตก็กลายเป็นข้าศึก ธรรมก็กลายเป็นข้าศึกไปหมด แต่เมื่อเราได้หยั่งสติกับปัญญาลงสู่จุดนี้ กายก็กลายเป็นธรรมขึ้นมา เวทนาก็กลายเป็นธรรมขึ้นมา จิตก็กลายเป็นธรรมขึ้นมา และธรรมก็กลายเป็นธรรมขึ้นมาในหลักธรรมชาติ เพราะเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่าสติปัฏฐาน คือหินลับสติกับปัญญานั่นเอง แต่ผู้ไม่ฉลาดเอามีดไปฟันหินเข้า มีดก็ต้องเสีย ถ้าผู้ไม่ฉลาดถือหินลับ คือกาย เวทนา จิต ธรรม นี้ว่าเป็นตน กาย เวทนา จิต ธรรม ก็กลายเป็นข้าศึกแก่คนโง่ผู้นั้น

ที่พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาสติปัฏฐานสี่ ไม่ได้สอนให้เอามีดไปฟันหิน แต่ทรงสอนว่าให้พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยสติปัญญาอย่างนี้ต่างหาก ดังนั้นสติกับปัญญาจึงตั้งได้ที่กาย เวทนา จิต ธรรม และฉลาดรอบคอบตนเองได้ด้วยหลักธรรมทั้งสี่ประเภทนี้ โปรดทราบว่าบ่อแห่งความเฉลียวฉลาดรู้รอบอยู่ในวงสติปัฏฐานสี่นี้ จงตั้งสติปัญญาลงสู่จุดนี้ การเรียนมากเรียนน้อย ถ้าเราไม่มีโอกาสไปร่ำไปเรียนให้ได้มากเหมือนอย่างบรรดาท่านที่มีโอกาสทั้งหลายก็ตาม ก็อย่าเสียใจ จงเรียนธรรมในหลักธรรมชาติที่มีอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ในตัวของเรานี้ พระพุทธเจ้าแลสาวกทั้งหลายท่านเรียนและสอนในหลักธรรมชาติ และผู้ปฏิบัติตามได้รับผลเกินความคาดหมายมาเป็นจำนวนมากแล้ว

แม้กิเลสอาสวะก็เป็นหลักธรรมชาติอันหนึ่ง ใคร ไม่เคยมีป้ายกระดานเรียนวิชากิเลส แม้สัตว์เดียรัจฉานและเด็ก เขาเคยรู้กิเลสเมื่อไร ทำไมเขาจึงมีกิเลส เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่เคยมีโรงร่ำโรงเรียนวิชากิเลส เรียนธรรมทั้งนั้น ทำไมกิเลสจึงมีเต็มหัวใจเล่า ทั้งนี้เพราะกิเลสเป็นหลักธรรมชาตินั่นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับใคร และไม่เข้าใครออกใครทั้งนั้น เป็นธรรมชาติที่เที่ยงธรรม คือตั้งอยู่ในหลักเหตุผลเช่นเดียวกัน ถ้าคิดผิดก็เป็นกิเลสขึ้นมา แต่ถ้าคิดถูกก็เป็นธรรมขึ้นมา เมื่อสรุปลงแล้วก็กิเลสกับธรรม ไม่ใช่ผู้อื่นผู้ใดจะก่อสร้างขึ้นให้เป็นข้าศึก และเป็นคุณต่อตนเอง นอกจากใจของเราผู้โง่และฉลาดเท่านั้นที่จะทำกิเลสให้ผูกมัดตนเองขึ้นมาด้วยความโง่ของตนเอง และจะสามารถแก้ไขกิเลสออกได้ด้วยความฉลาดของตนเท่านั้น

และขณะกิเลสเกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นจากที่ไหน นอกจากจะเกิดขึ้นจากความโง่เท่านั้น โง่อะไรเล่า เมื่อจะแยกออกตามประเภทแห่งความโง่แล้วได้แก่ เห็นก็โง่ ได้ยินก็โง่ ได้สูดกลิ่น ลิ้มรสก็โง่ ก็สิ่งใดมาสัมผัสก็หลงตามไปหมด มันโง่ทั้งรู้ อย่างนี้เอง เพราะรากฐานของจิตมันโง่ ฉะนั้นต้องพยายามให้รู้ว่าความโง่อยู่ที่จุดไหน จงตั้งสติปัญญาลงที่จุดนั้น เฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้ไม่มีอะไรเป็นข้าศึกอันร้ายแรงต่อเรา นอกไปจากกาย เวทนา จิต ธรรม เพราะความหลงก็หลงในกายนี้ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา รักก็รักกายนี้ ชังก็ชังกายนี้ ทุกข์ทั้งมวลก็เกิดขึ้นในกายนี้ จิตได้รับความทุกข์เดือดร้อนก็เพราะเรื่องแห่งกายนี้ และคำว่าธรรมจะหมายถึงอะไร คือกาย เวทนา และจิต ซึ่งเป็นเรือนแห่งทุกข์นี่เอง รวมแล้วเรียกว่า ธรรม

จงตั้งสติกับปัญญาลงในสติปัฏฐานสี่ ไตร่ตรองอยู่ทั้งวันทั้งคืน มีสติปัฏฐานสี่นี้เท่านั้น เป็นงาน เป็นทางเดิน เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ทำงาน พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า กี่รอบกี่เที่ยวไม่คำนวณ ทำเหมือนเขาขุดดินหรือขุดนา ไถนา คราดนา ขุดแล้วขุดเล่า ไถแล้วไถเล่า ทั้งไถดะไถแปร และคราดกลับไปกลับมา จนมูลไถมูลคราดแหลกละเอียด การเดินเร็วหรือช้าของสัตว์ไม่สำคัญ สำคัญที่มูลคราดมูลไถแหลกละเอียดแล้วเป็นพอ  การพิจารณาในหลักสติปัฏฐานสี่ด้วยปัญญาจะเร็วหรือช้าไม่สำคัญ สำคัญที่พิจารณาจนเข้าใจและแจ่มแจ้งแล้วเมื่อไร นั่นแลเป็นผลสะท้อนย้อนกลับมาให้เราได้รับความเฉลียวฉลาด จนสามารถปล่อยวางสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ใจและปราศจากความถือว่า กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นของเที่ยงเป็นสุข เป็นอัตตา ตัวตน เสียได้ด้วยอำนาจของปัญญา

ฉะนั้น การพิจารณาเราอย่าเห็นว่ามากไปหรือน้อยไป จงถือเช่นเดียวกับงานของโลกซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นทั่วหน้ากัน ที่ใครจะนั่งนอนอยู่เฉยๆ ไม่ได้ การทำงานในสติปัฏฐานสี่ เราอย่าตั้งเมืองพอขึ้นด้วยความเกียจคร้าน จงให้เมืองพอปรากฏขึ้นเองด้วยสติกับปัญญาที่พิจารณาพอแล้วและปล่อยวาง จะเป็นทางเพียงพอและถึงทางพ้นทุกข์ตามแบบของพระพุทธเจ้าโดยถูกทาง เมื่อเหนื่อย จิตอยากจะพักก็ให้เขาพักในเรือนคือสมาธิ การพักอยู่ของจิตจะนานหรือไม่นานขึ้นอยู่กับความเพียงพอของใจ เช่นเดียวกับคนนอนหลับ จะหลับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเพียงพอของธาตุขันธ์ แล้วตื่นมาก็ทำงานได้ ฉะนั้นจิตจะพักอยู่กี่ชั่วโมง ไม่ควรบังคับให้ถอนขึ้นมาเองเฉยๆ จงปล่อยให้พักอยู่จนเพียงพอแก่ความต้องการแล้วถอนขึ้นมาเอง

เมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วเป็นหน้าที่ของปัญญา ที่จะต้องทำการพิจารณาในสติปัฏฐานสี่เป็นลำดับไป ตามแต่ถนัดในสติปัฏฐานใด การพิจารณากายคือขยายให้โตบ้าง ทำให้เล็กลงบ้าง แยกส่วนออกเป็นแผนก ทำเป็นกองเนื้อ กองหนัง และแบ่งส่วนตามอาการนั้น แล้วกำหนดให้กระจายหายสูญไปจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล และจากความเป็นเนื้อเป็นหนังเป็นต้น จนกลายลงเป็นธาตุเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วปรุงขึ้นมาใหม่ พิจารณาอยู่เช่นนี้

วันหนึ่งจะได้สักกี่เที่ยว หรือกี่รอบไม่เป็นประมาณ ผลที่ปรากฏขึ้นกับใจ คือความชำนาญและฉลาดรอบคอบ และความสิ้นสงสัยในส่วนแห่งกาย เมื่อปัญญาเพียงพอต่อส่วนแห่งกายทุกส่วนแล้ว ก็รู้เท่าทันและปล่อยวางไว้อย่างสนิท หมดนิมิตในกายว่างามหรือไม่งาม สักแต่ว่ากายโดยความรู้สึกเท่านั้น ไม่มีความสำคัญว่ากายนี้เป็นอะไรต่อไป นี่คือหลักแห่งการพิจารณากายด้วยปัญญาของนักปฏิบัติ

เวทนา ซึ่งเกิดขึ้นจากกายและจากใจ เพราะเวทนามีสองประเภท คือ เวทนาของกายอย่างหนึ่ง เวทนาของจิตอย่างหนึ่ง ความสุข ทุกข์ และเฉย ปรากฏขึ้นในกายโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับใจ เรียกว่า กายเวทนา เวทนาทั้งสามอันใดอันหนึ่ง ปรากฏขึ้นในจิตที่สืบเนื่องมาจากการได้รับอารมณ์ จะเป็นอารมณ์ทางมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญาก็ตาม อารมณ์ทางสมุทัย เป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหาก็ตาม เรียกว่า จิตเวทนา

การพิจารณาขันธ์ทั้งสี่ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ มีลักษณะสองประการคือ เกี่ยวกับความสัมผัสจากสิ่งภายนอก ไม่เกี่ยวกับสิ่งภายนอก แต่พิจารณาโดยลำพังตนเอง ที่เกี่ยวกับสิ่งภายนอกนั้น คืออาศัยสัมผัสภายนอกมากระทบแล้วพิจารณาไปตามสิ่งที่มากระทบนั้น ปรากฏอุบายขึ้นมาในขณะนั้นมากน้อยตามแต่กำลังของปัญญา จะหาความแยบคายใส่ตน ที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งภายนอกมาสัมผัสเลยนั้น เป็นเรื่องของปัญญา ทำหน้าที่ของตนไปตามลำพัง โดยอาศัยสภาวะที่มีอยู่เป็นเป้าหมาย

แม้สภาวะนั้น ไม่แสดงออกก็พิจารณาได้โดยสะดวก แต่การพิจารณาทั้งสองประเภทนี้พึงทราบว่ารวมสู่ไตรลักษณ์ เป็นเหมือนภาชนะที่รวมแห่งสภาวธรรมทุกประเภท จะปลีกจากนี้ไปไม่ได้ เช่นเดียวกับแม่น้ำทุก สาย ย่อมไหลรวมลงสู่มหาสมุทรฉะนั้น แต่พึงทราบว่า เรื่องของปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไม่มีสิ่งกระเพื่อมภายในใจให้รู้ก่อน พอจะถือเอาเป็นอารมณ์ได้ ข้อนี้ควรทราบถึงความกระเพื่อมก่อนว่า มีความหมายไปทางใดบ้าง เพราะดีชั่วเกิดจากความกระเพื่อมเป็นสำคัญ

ความกระเพื่อมของใจเป็นไปได้สองทาง คือกระเพื่อมเพื่อยังทุกข์ให้เกิดขึ้น แล้วผูกมัดตนเองให้ติดอยู่ ท่านเรียกว่า สมุทัย กระเพื่อมเพื่อรู้ทางเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ ท่านเรียกว่า มรรค เกิดขึ้นจากความปรุงของปัญญาเอง และเกิดจากคำว่า สังขารอันเดียวกัน ผิดกันเพียงว่าปรุงไปในทางผิดหรือทางถูกเท่านั้น แต่เรื่องสมุทัย และเรื่องมรรค ไม่ใช่จะเกิดจากสังขารเพียงอย่างเดียว แม้เวทนา สัญญา และวิญญาณก็เป็นเหตุให้เกิดสมุทัยและมรรคได้ ตามความโง่ความฉลาดของผู้รับผิดชอบในขันธ์ของตน ทั้งนี้เมื่อเรายังโง่ขันธ์ทั้งห้าก็เป็นข้าศึก แต่ถ้าเราฉลาดรอบคอบแล้ว ขันธ์ทั้งห้าก็เป็นคุณเสมอไป เช่น พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ท่านใช้ขันธ์ทำประโยชน์แก่โลกตลอดวันนิพพาน ฉะนั้นขันธ์ทั้งห้าจึงเป็นเหมือนเครื่องใช้ เครื่องใช้ในบ้านย่อมจะมีคุณและโทษที่เกิดจากความโง่เขลา ความฉลาดของคนผู้เป็นเจ้าของ

เมื่อสรุปความแล้ว ทั้งสมุทัยและมรรค เกิดจากสังขารภายในอันเดียวกัน ผิดกันตรงที่ปรุงด้วยความหลงเพื่อผูกมัดตนเอง กับปรุงด้วยความฉลาดเพื่อแก้ไขตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้นสังขารฝ่ายมรรคจึงสามารถปรุงและพลิกแพลงในสภาวธรรมให้เกิดความฉลาดแก่ตนเองได้ จนมีความสามารถเพียงพอใน เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปัญญานี้ยังสามารถวิ่งเข้าสู่จุดเดียว คือ ใจ ซึ่งเป็นที่รวมแห่งขันธ์ทั้งหมด เพราะขันธ์ทั้งห้ามาจากใจ เนื่องจากใจเป็นรากฐาน คือแดนเกิดของสิ่งเหล่านี้ จึงปรากฏเป็นรูปกาย ธาตุขันธ์ อายตนะหญิงชายขึ้นมาได้ แม้ขันธ์ใดจะกระเพื่อมขึ้นเวลาใดก็ทราบ และทราบทั้งความเกิดขึ้นดับไปแห่งขันธ์นั้น ตลอดจนสมุฏฐานที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น

การตำหนิติชมในสภาวธรรมภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ทั่วทั้งจักรวาลก็หมดปัญหาลง เพราะปัญญาเป็นเครื่องตัดให้ขาดเข้ามาเป็นลำดับ สิ่งที่ยังเหลืออยู่ในลำดับต่อมา คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เท่านั้น ซึ่งยังคงเป็นคู่ตำหนิติชมกันอยู่ ในขณะที่กำลังสติปัญญายังไม่เพียงพอ เมื่อเพียงพอแล้วปัญหาติชมก็หมดไป เพราะปัญญาเห็นชัดว่าสภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น ไม่ใช่กิเลสบาปกรรมแต่อย่างใด เป็นแต่อาการของขันธ์และสภาวะอันหนึ่ง เท่านั้น แม้พระพุทธเจ้าและสาวกก็ยังมี ข้อนี้เราต้องย้อนเข้าไปหาตัวเหตุ ซึ่งเป็นเครื่องกดดันขันธ์ให้ไหวตัวไปตามอำนาจของความกดดันของตน

นั่นคือ ความรู้ภายใต้อำนาจของอวิชชา เรียกว่า ความรู้วัฏจักร นอกจากตนเป็นวัฏจักรแล้ว ยังบังคับขันธ์ซึ่งเป็นบริวารให้กลายเป็นกงจักรไปด้วย ฉะนั้นผู้อยู่ใต้กงจักรอันนี้จึงไม่มีอิสรเสรีในตนเอง ต้องยอมจำนนต่อเขาอยู่ทุกขณะที่จักรตัวใหญ่นี้จะหมุนหรือชี้เข็มทิศทางใด เมื่อรู้ต้นเหตุซึ่งเป็นที่เกิดขึ้นแห่งกิเลสทุกประเภท ว่าเกิดจากความรู้วัฏจิตนี้แล้ว เราต้องทราบว่า วัฏจิตนี้คือกิเลสอันแท้จริง เราจะนิ่งนอนใจในความรู้อันเป็นตัวกงจักรนี้ได้อย่างไร นอกจากจะหยั่งปัญญาลงสู่จุดนี้ เพื่อความรู้เหตุผลโดยไม่นิ่งนอนใจเท่านั้น

ปัญญาที่จะไปปฏิบัติต่อความรู้วัฏจักรอันนี้ ต้องเป็นปัญญาที่ทันสมัยและอยู่ในลักษณะอัตโนมัติ หมุนรอบตัวอยู่กับความรู้อวิชชาดวงนั้นไม่มีเวลาหยุดยั้ง โดยไม่ต้องมีการบังคับ ทำงานโดยลำพังตนเอง กำหนดรู้ทั้งความเกิดขึ้นดับไปของทุกอาการที่เกิดจากใจ ทั้งความเปลี่ยนแปลงอันละเอียดของจิตที่เป็นอยู่ทุกขณะ จะเปลี่ยนแปลงเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นเศร้าหมองหรือผ่องใสก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นความโง่ความฉลาดก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นความองอาจกล้าหาญหรือความอ่อนแอก็รู้ จะเปลี่ยนเป็นความสว่างไสวหรืออับเฉาก็รู้

อาการทั้งนี้เป็นไตรลักษณ์ประจำวัฏจิต ต้องกำหนดรู้ทุกระยะที่เปลี่ยนแปลง และเคลื่อนไหว จนกว่าจะขุดค้นเข้าถึงรากแก้ว คือตัวประธาน และทำลายได้ด้วยปัญญาในกาลใด แล้วอาการเหล่านี้ก็หมดการเปลี่ยนแปลงตัวเองทันที เพราะตัวประธานได้ถูกทำลายสิ้นแล้ว เป็นอันว่าหมดทางเกิดขึ้นแห่งอาการอันเป็นเครื่องพรางตาทุก อาการ สภาวะทั่ว ไป จะปรากฏเปิดเผยทั่วทั้งโลกธาตุ ประกาศเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นสภาพปกติอยู่ตามธรรมดาของตน ไม่เคยเป็นข้าศึกศัตรูต่อผู้ใด นอกจากความรู้ขวางโลก และขวางธรรมดวงเดียวเท่านี้ เกิดคดีในตัวเองแล้วลุกลามไปหาสิ่งภายนอกให้กลายเป็นคู่ความตาม กันไปเท่านั้น เมื่อจิตพ้นจากคดีฟ้องร้องตัวเองและขณะธรรมชาติอันลี้ลับได้ตกสูญหายไปแล้ว ธรรมที่บริสุทธิ์เต็มที่ก็ได้เปิดเผยขึ้นมาพร้อม กัน แม้สภาพธรรมทั้งหลายที่เคยถูกกดขี่บังคับหรือตำหนิติชมจากอวิชชาผู้ครองวัฏฏะ ก็ได้กลายเป็นสิ่งเปิดเผยขึ้นมาตามธรรมชาติของตน

ธรรมอัศจรรย์ซึ่งเกิดพร้อมวิชชาวิมุตติได้ประกาศความสงบศึก และความเสมอภาคต่อสภาวธรรมทั่ว ไป ราวกะจะเป็นมิตรต่อกันตลอดอนันตกาล ต่างฝ่ายต่างไม่เป็นศัตรูต่อกัน ขันธ์ห้าอายตนะภายใน คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสและธรรมารมณ์ ต่างก็ทำหน้าที่ของตนตามลำพังโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะอายตนะสัมผัสกัน และต่างก็เป็นอิสรเสรีในตัวเอง โดยไม่ถูกกดขี่บังคับจากฝ่ายใด

ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ในหลักธรรมชาติ ได้กลายเป็นความรู้ยุติธรรมต่อตนเอง สภาวะทั่ว ไปจึงกลายเป็นยุติธรรมไปตาม กัน นี่เรียกว่า ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ความรู้เห็นตามเป็นจริง ในหลักธรรมชาติทั้งภายใน ทั้งภายนอกอย่างแจ้งชัดด้วยปัญญา ไม่มีอันใดลี้ลับและยังกลับเป็นสิ่งเปิดเผยเสียสิ้น

ผลอันเป็นที่พึงพอใจซึ่งได้รับจากความรู้ความเห็นที่ปรากฏขึ้นกับใจของผู้ปฏิบัติ จะสะเทือนขึ้นภายในเป็นเชิงอุทานว่า “สิ้นเรื่องเพียงเท่านี้” เรื่องกิเลสตัณหาเรื่องรัก เรื่องชัง เรื่องติ เรื่องชม เรื่องหลง เรื่องรู้อะไรต่อไปอีก และเรื่องภพชาติให้เกิด ตาย ที่จะมาเกี่ยวโยงกันตามที่เคยเป็นมา เป็นอันว่ายุติกันได้โดยสิ้นเชิง จะไม่มีอันใดสืบต่อธรรมชาตินี้ไปได้อีก เพราะอดีตก็รู้เท่าอนาคตก็รู้ทัน ปัจจุบันก็ไม่ยึด ปรากฏเป็นความบริสุทธิ์ล้วน อยู่กับความรู้ในธรรมชาตินั้นโดยประจักษ์แล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กายก็ไม่เป็นภัย เพราะใจไม่เป็นภัย รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสก็ไม่เป็นภัย เพราะใจหมดเชื้อให้เกิดภัยแล้ว เรียกว่า สุคโต แปลว่าไปดี คือไม่ข้องแวะกับอันใด ทั้งที่เป็นด้านวัตถุและนามธรรม แม้สภาวะทุกสิ่งก็เป็นปกติหรือหมดภัย เพราะข้างในไม่เป็นมหาโจรเที่ยวยื้อแย่ง

นี่ผลแห่งการปฏิบัติ ด้วยการทบทวนสอบสวนดูความเคลื่อนไหวการดำเนินของตนตั้งแต่ส่วนหยาบ ส่วนกลาง และส่วนละเอียด ได้แก่ผลที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นสมบัติของเราทุกท่าน เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงผูกขาดไว้เพื่อพระองค์ผู้เดียว ทรงประทานไว้เพื่อบรรดาสัตว์ ผู้มีความแกล้วกล้าสามารถด้วยความพากเพียร ไม่เห็นแก่ความท้อแท้อ่อนแอ

คุณธรรมที่ได้อธิบายมาแต่ต้นจนสุดขีดความสามารถ ขอย้ำให้บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายได้ทราบว่าไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความเกียจคร้านนอนตื่นสาย ความท้อแท้อ่อนแอ ความสะเพร่ามักง่าย ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง ความคลุกคลี ความเบื่อต่อความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมาก และความเห็นแก่โลกามิส ไม่มองดูธรรมและศาสดาผู้พาดำเนินทุกพระอาการที่เคลื่อนไหว

แต่ธรรมเกิดแก่ผู้มีความขยันหมั่นเพียร ผู้อดทนต่อกิจการที่ชอบ หนักก็เอาเบาก็สู้ เป็นผู้มักน้อยและสันโดษในปัจจัยเครื่องอาศัย ถือการไม่คลุกคลีกับใคร และความเพียรเพื่อรื้อถอนตนเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง มีตนกับความเพียรในอิริยาบถทั้งหลาย มีความเพียรด้วยสติปัญญาทุก อาการที่เคลื่อนไหว ไม่หมายมรรคผลนิพพานนอกไปจากความเพียร และนอกไปจากปัจจุบัน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอยู่ภายในจิตตลอดเวลา และเป็นหลักแห่งสวากขาตธรรมที่พระองค์ได้รับผลเป็นที่พอพระทัย และประทานไว้ชอบแล้ว ผู้ปฏิบัติดำเนินตาม ผลจะพึงได้รับก็เป็น สันทิฏฐิโก เห็นเองในธรรมทุกขั้น โดยปราศจากสิ่งใดกีดขวาง

อกาลิโก ทั้งธรรมส่วนเหตุ ทั้งธรรมส่วนผล ทุก ขั้นมีอยู่อย่างสมบูรณ์ตลอดกาล เมื่อบำเพ็ญถึงที่แล้วบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลาไม่มีหลับและตื่น ไม่มีวันและคืน ทรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์เสมอไปตลอดกาล เอหิปัสสิโก เป็นธรรมเปิดเผยและทนต่อการพิสูจน์ตลอดกาลไม่ขาดวรรคขาดตอน ผู้ตามพิสูจน์จนได้พบความจริงจากหลักธรรมจนเต็มที่แล้ว สามารถแสดงหลักความจริงที่ตนได้รู้เห็น ทั้งที่เป็นส่วนเหตุที่ได้พิจารณาด้วยข้อปฏิบัติ ทั้งที่เป็นส่วนผลเป็นขั้น ตลอดความบริสุทธิ์ภายในใจ แก่บรรดาท่านผู้ฟังและสนใจให้เห็นชัดตามความจริงและเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นได้

โอปนยิโก ธรรมมีอยู่ทั่วไปเหมือนสมบัติในแผ่นดิน ผู้สนใจใคร่ต่อธรรมสามารถจะน้อมธรรมที่ได้เห็น ได้ยิน จากบุคคลและสถานที่ต่าง มาเป็นคติแก่ตนเองได้ทุกเวลา ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ จะปรากฏคุณคือ ความรู้พิเศษขึ้นกับใจของตนโดยเฉพาะตามกำลังสติปัญญาที่ตนสามารถโดยไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นขอให้บรรดาท่านผู้ฟังทุก ท่านจงมีความอาจหาญร่าเริงต่อความเพียรในหลักแห่งสวากขาตธรรม อย่าเห็นว่าเป็นความทุกข์ลำบาก ความหิว ความลำบากในร่างกายทุกส่วน จะต้องมีด้วยกันทุกรายทั้งคนและสัตว์ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นความเสมอภาคทั่วหน้ากัน ไม่มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบแก่ใคร พอจะตำหนิว่าทุกข์ลำเอียงต่อขันธ์ ส่วนความทุกข์ทางใจซึ่งเกิดจากอำนาจกิเลสตามประเภทของเขา ให้พึงทราบว่านั้นคือหนามยอกหัวใจ จงพยายามถอดถอนออกให้จงได้

การตะเกียกตะกายเพื่อถอดหนาม และการตะเกียกตะกายเพื่อขึ้นจากหลุมมูตรหลุมคูถ อย่าถือเป็นความลำบากกว่าที่จะยอมนอนจมอยู่ในหลุมมูตรหลุมคูถ หรือกว่าที่จะยอมให้หนามจมอยู่ในหัวใจของเรา ทุกข์เพื่อก้าวออกจากทุกข์ด้วยข้อปฏิบัติเป็นทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ทั้งเป็นทางที่พระองค์ทรงดำเนินผ่านทุกข์มาแสนสาหัส และได้รับผลถึงความเป็นศาสดาของโลก เพราะทรงดำเนินฝืนทุกข์เหมือนเราทั้งหลายกำลังดำเนินอยู่ บัดนี้ และคำว่า พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ อย่าลืมว่าลักษณะทั้งสามนี้เป็นที่ฝากชีวิตจิตใจของพวกเราและพาเราให้พ้นทุกข์โดยปลอดภัย

ความเกียจคร้านความไม่อดทน ต่อเหตุผลคือหลักธรรมเป็นต้น ไม่เคยนำผู้ใดข้ามพ้นจากอุปสรรคไปได้แม้แต่รายเดียว โลกทุกหย่อมหญ้าพึงทราบว่าตั้งอยู่ได้เพราะการงาน ไม่มีงานชีวิตต้องแตกสลาย สัตว์ทุกประเภทต่างก็แสวงหาอาหารใส่ปากใส่ท้อง พึงทราบว่าเขาทำ ไม่ใช่งานจะมีแต่มนุษย์จำพวกเดียวเท่านั้น งานที่จำเป็นทุกถ้วนหน้า คือ งานอาชีพ แม้สัตว์เดียรัจฉานก็ต้องทำ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นเหนือชีวิตใด ทั้งนั้น เราเป็นนักบวชมีความมุ่งหวังอย่างแรงกล้ามุ่งหน้าต่อมรรค ผล นิพพาน จงเห็นงานประจำเพศและความประสงค์ของตน คืองานเพื่อนิพพาน ว่าเป็นงานจำเป็นเหนือชีวิต เพราะงานนี้เป็นงานเพื่อไปแล้วไม่กลับมา ผลที่เกิดจากงานนี้คือวิมุตติหลุดพ้นไปแล้วหมดความวกเวียน โปรดพากันพากเพียรจนสุดกำลังของตน จะต้องเห็นผลประจักษ์กับใจในวันนี้วันหน้าไม่ต้องสงสัย

วันนี้ได้แสดงธรรม โดยเริ่มต้นความสะดวกสบายในระหว่างเรากับหมู่เพื่อน แล้วย้อนเข้าอธิบายเรื่องความสบายในระหว่างใจกับอารมณ์อันเป็นความสงบตามขั้น จนถึง เตสํ วูปสโม สุโข ความระงับดับเสียซึ่งสังขารอันก่อกวน ยังเหลือเฉพาะสังขารประจำขันธ์ห้า ซึ่งไม่มีพิษสงอะไร พระพุทธเจ้าและสาวกท่านก็มีจนกว่าจะนิพพานไปเสีย ขันธ์ทั้งห้าก็ดับสลายลงไปสู่สภาพเดิมของเขา

ดังนั้น ขอให้บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายผู้มีแก่ใจ ซึ่งอุตส่าห์สละจากบ้านจากเรือนทั้งใกล้ทั้งไกล จงฟังให้ถึงจิตคิดให้ถึงใจ ปฏิบัติให้ถึงขีดแดน ตายที่ไหนแล้วเราไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับร่างอันนี้ ป่าช้าของเรามีอยู่ทุกแห่งทุกหน ใต้ต้นไม้ ภูเขา หรือป่ารกชัฏ ที่ไหนก็ได้ ล้มลงแล้วใครจะเอาไปที่ไหนก็แล้วแต่เขา จงตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าแลสาวก ให้ทันทั้งข้อวัตรปฏิบัติ ทั้งความรู้ภายใน ทั้งความเป็นความตาย อย่าให้ผิดเยี่ยงอย่างที่ท่านพาดำเนิน สมกับพระนามว่าเป็นศาสดาของโลก เพราะพระองค์ท่านและสาวกไม่เคยจับจองป่าช้าให้เหมาะสมไว้เพื่อความตาย ขันธ์หมดกำลังลงที่ไหนเป็นป่าช้าที่นั่น เราจงเป็นศิษย์พระตถาคตด้วยความไม่เห็นแก่เรือนร่าง ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ต่ำช้าจำพวกไม่มีอาชีพทางอื่นนอกจากร่างกายของคนและสัตว์ สิ่งที่เราไม่ยอมแพ้และปล่อยวาง คือความเพียรเพื่อไปไม่ต้องกลับมาโดยถ่ายเดียว

ขอให้ท่านทั้งหลายยึดธรรมที่กล่าวมานี้ไว้เป็นหลักใจ ใคร่ต่อความเพียรไม่ท้อถอย จะเป็นผู้ถึงแดนแห่งความไม่วกเวียนในวันข้างหน้า ข้อสำคัญอย่าถือความขี้เกียจท้อแท้ว่าเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน วันหนึ่งแน่ ท่านทั้งหลายจะเป็นเจ้าของสมบัติอันล้ำค่าภายในใจ และทรงไว้ซึ่งประวัติแห่งบุคคลผู้มีชัยชนะต่อข้าศึกคือตนเอง ไม่กลับมาแพ้ตลอดกาล คำว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ อันเป็นบ่อแห่งความสงสัย ซึ่งเคยเป็นมาในขณะที่ยังไม่รู้ จะกลายเป็นธรรมตัดปัญหาลงในขณะเดียวกันโดยสิ้นเชิง

ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ ขอบรรดาท่านผู้ฟังทุกท่านจงประสบความสำเร็จตามใจหวังดังคำอวยพรทุกประการเถิด เอวํ ขอยุติการแสดงพระธรรมเทศนาลงเพียงนี้

www.Luangta.com or www.Luangta.or.th

 


** ท่านผู้เข้าชมทุกท่านโปรดทราบ
    เนื่องจากกัณฑ์เทศน์บางกัณฑ์มีความยาวค่อนข้างมาก ซึ่งจะส่งผลต่อความเร็วในการเปิดเว็บไซต์ ขอแนะนำให้ทุกท่านได้อ่านเนื้อหากัณฑ์เทศน์บางส่วนจากเว็บไซต์ และให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์กัณฑ์เทศน์ที่มีนามสกุล .pdf ไปเก็บไว้ในเครื่องของท่านแทนการอ่านเนื้อหาทั้งหมดจากเว็บไซต์

<< BACK

หน้าแรก