เป็นแต่เพียงรับทราบกันเฉย ๆ ที่จะมาย่ำยีจิตใจให้มีความกระทบกระเทือน ได้รับความบอบช้ำ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะจิตนั้นเป็นจิตที่บริสุทธิ์แล้ว พ้นวิสัยของสมมุติ เรื่องความทุกข์จะเข้ากันได้ยังไง สมมุติจะเข้าไปเหยียบย่ำทำลายจิตของพระอรหันต์ได้ยังไง ก็มีแค่นี้ จึงเรียกว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาระอันหนักนะ ภาระอันหนักพิจารณาให้เห็นโทษของมัน
ตั้งแต่เวลาดำเนินก็เป็นภาระอันหนึ่ง เป็น ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ประเภทหนึ่ง ทีนี้เวลาจิตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ประเภทหนึ่ง คือต้องมีความรับผิดชอบอยู่ตลอดไปจนกระทั่งถึงวันอวสานแห่งชีวิต พากินพานอนพาขับพาถ่าย พาเดินนั้นไปนี้ ล้วนแล้วตั้งแต่พยุงขันธ์ ประคองขันธ์ เล่นกับขันธ์ รักษาขันธ์ รับผิดชอบขันธ์ทั้งนั้น ส่วนจิตไม่มีจะไปยุ่งไปเหยิงวุ่นวายให้ได้รักษาจิต จิตจะเป็นอย่างนั้น จิตจะเป็นอย่างนี้ ได้ระมัดระวังรักษา..ไม่มี
เห็นก็เห็น ฟังก็ฟัง ฟังเท่าไรก็ฟังเถอะ การฟัง การรับทราบจากการฟัง เช่นวัตถุวิญญาณนี้มันก็เป็นสมมุติ ปรากฏขึ้นมาพับดับพร้อม ๆ ในขณะที่สิ่งนั้นปรากฏขึ้นมา สิ่งนั้นดับไปความรับรู้รับทราบมันก็ดับไป ๆ ก็มีอยู่เท่านั้น ไม่มีอะไรที่จะซึมซาบเข้าไปเหยียบย่ำทำลายจิตใจ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ตายตัวแล้วนั้นได้เลย มีเท่านี้ จึงเรียกว่า ภารา หเว ด้วยความรับผิดชอบ เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว
นี่พิจารณา อ๋อ ภารา หเว นั้นมีได้ทุกตอนนะ ตอนนั้นเป็นอย่างหนึ่ง ตอนนั้นสอนให้เห็นโทษเพื่อจะถอดถอนอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ให้เห็นโทษเห็นภัยของมัน ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาระอันหนักนะ ภูเขาทั้งลูกไม่ได้มาทับเรานะ แต่ขันธ์ ๕ นี่มันทับตลอดเวลา อันนี้มันหนักยิ่งกว่าภูเขาเสียอีก สอนให้เห็นโทษ
ให้พิจารณาแยกแยะดูส่วนต่าง ๆ ของมันของขันธ์อันนี้ มีอะไร ๆ บ้าง พิจารณาดูก็ไม่เห็นมีสาระอะไร เราก็ไปหาบไปแบกไปหามของไม่มีสาระ จิตใจเราก็เลยกลายเป็นของหาสาระไม่ได้ไปด้วย พิจารณาให้เห็นชัดตามความเป็นจริงแล้ว จิตก็ถอนตัวออกมาโดยลำดับ ๆ จิตก็แสดงความเป็นสาระขึ้นมาโดยลำดับ จากการถอนอุปาทานโดยลำดับมาแล้ว ถอนเต็มที่แล้วก็เป็นมหาสาระ นั่นเป็น ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขั้นหนึ่ง ขั้นปฏิบัติ
พอผ่านนี้มาแล้วก็เป็น ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ด้วยความรับผิดชอบ พระอรหันต์ท่านก็รับผิดชอบไปจนกระทั่งถึงวันปรินิพพาน พาเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เพื่อเป็นวิหารธรรมเป็นทิฏฐธรรม เวลาเป็นอยู่ก็รักษากันไประหว่างขันธ์กับจิตให้พอเหมาะพอสม อันนี้เรียกว่าเป็นวิหารธรรมในทิฏฐธรรม เป็นความอยู่สบายในระหว่างขันธ์กับจิต พออันนี้หมดปัญหาไปแล้ว พออันนี้สลายตัวลงไปแล้วทีนี้หมดคำว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา อันเป็นกองสมมุติใหญ่รอบตัวเราแบกหามอยู่ตลอดเวลานี้ หมดลงไปแล้วมันก็หมดปัญหาทันที
ตายแล้วจะสูญหรือไม่สูญไม่คิดให้เสียเวลา ขอให้บริสุทธิ์เถอะจิต ใครจะไปคิดให้เสียเวลา มันอยู่กับตัวแท้ ๆ รู้อยู่กับตัว จะสูญไปที่ไหน ไปหาตะครุบเงาที่ไหนให้เสียเวล่ำเวลา เพราะเงามันอยู่กับตัวอยู่แล้ว ได้ตัวมันสำคัญยิ่งกว่าได้เงาจะว่าไง เดี๋ยวนี้เราจะหาตัวจริงให้เห็นตัวจริงภายในจิตของเรา ให้เห็น เมื่อเห็นแล้วนิพพานเป็นยังไงไม่ต้องถาม ถามไปทำไม นิพพานสูญยังไงไม่สูญยังไง หรือตายแล้วเกิด ตายแล้วสูญ ถามไปทำไมให้เสียเวลา
สังขารกับตัวก็อยู่กับเราแล้วถามหาตัวที่ไหนอีก สูญหรือไม่สูญไม่มีอะไรที่จะรู้ยิ่งกว่าจิต เมื่อจิตเข้าถึงขั้นเต็มภูมิแห่งความรู้แล้วทำไมจิตจะไปสงสัยสิ่งเหล่านี้พอที่จะมาคิดมาปรุง ไม่มี มันเข้ากันไม่ได้
ให้พากันตั้งอกตั้งใจ เวลามาอยู่ด้วยกัน การอบรมสั่งสอนเดี๋ยวนี้ก็ครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่เหมือนกันนะ ผมไม่ได้ประมาทดูถูกครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เพราะผมก็เคยเป็นผู้น้อยมาเหมือนกัน ไปหาครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ไปฟังเทศน์มันไม่ถึงใจไม่อยากอยู่ อีกประการหนึ่งคำพูดเป็นอย่างหนึ่ง การปฏิบัติเป็นอย่างหนึ่ง มันก็ทำให้แสลงตาแสลงใจเหมือนกัน บทเวลาจะหมอบราบก็คือไปหาพ่อแม่ครูจารย์มั่นเรานี่ หมอบราบหมดเลย ทั้ง ๆ กิเลสมีอยู่ก็หมอบราบ คือหาที่ค้านไม่ได้ หาที่แย้งไม่ได้ แล้วพอใจ ความเชื่อหยั่งปึ๊บ นี้แหละครูจารย์ของเรา ได้หลักยึด
ท่านสอนถึงเหตุถึงผลถึงอรรถถึงธรรม ตามความจริง ไม่ต้องด้นต้องเดา ถอดออกมาจากความจริงมาสอนตามขั้นภูมิของผู้มาประพฤติปฏิบัติ ให้เข้าใจตามขั้นภูมินั้น ๆ ผู้ฟังก็ถึงใจ ๆ เพราะผู้สอนสอนออกมาด้วยความถึงใจ รู้แล้วถึงสอนจะผิดไปไหน ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องสมาธิประเภทใดรู้แล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องปัญญาประเภทใดรู้แล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะพูดเรื่องกิเลสประเภทใดรู้แล้วทั้งหมด ละแล้วทั้งหมด พูดสิ่งที่รู้แล้วเห็นแล้ว รู้อยู่เห็นอยู่กับตัวเองจะผิดไปไหน ผิดไปไม่ได้
อย่างพระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนสัตวโลกที่ว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพียงพอประมาณเท่านั้นแหละ อย่างที่พูดไว้ในปัญหาคึกฤทธิ์นั่นแหละ เหมือนกับน้ำในตุ่ม เรายอมรับทันที เพราะธรรมเกิดเรื่อย ๆ รู้เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นมีสุดถ้าไม่ตายเสีย ในแง่ต่าง ๆ มีประมาณเมื่อไร ถ้าเอานั้นจะมาจารึกทั้งหมด โอ๊ย อย่าว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เลย ไม่ทราบว่ากี่ล้าน ท่านจารึกไว้พอประมาณไม่งั้นจะฟั่นเฝือเหลือกำลังผู้ปฏิบัติ
เอาละพอแค่นี้ก่อน
พูดท้ายเทศน์
พอวันแรม ๘ ค่ำ วันที่ ๗ แปดค่ำมันฝันตอนกลางคืน จำได้เท่านั้น มันฝันว่าผมตาย วันที่ ๖ ผมเปิดดูปฏิทิน วันมันฝันผมเลยเปิดดูปฏิทินวันที่ ๖ สิงหา ตรงกับแรม ๗ ค่ำ พอวันที่ ๗ สิงหา ผมก็เป็น มันนั่งภาวนาแล้วนอนกำหนด หลับไปกับคำภาวนา ฝันไปว่าผมตาย มีรัศมีครอบหีบศพผม แล้วรัศมีพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลายมารวมกันอยู่ กระจายเข้ามาหากัน มันเหลียวเห็นแล้วสะอื้นสะออน ความสว่างจากหีบศพเป็นรัศมี แล้วความสว่างของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ลงมาหากัน ส่งลงมาหากัน ส่งขึ้นรับกัน
ทีนี้ของมันมันว่ามันขึ้น ของตัวก็ออกสู้ ออกส่งแสงสว่างคือกัน คือหนูนี่มันก็ออกบ่ย่าน เข้าใจไหม ออกส่งแสงสว่างไปหากัน ส่วนใหญ่จำได้เท่านั้น ทีนี้พอสะดุ้งตื่นขึ้นมา โอ๊ย สะอึกสะอื้น ทั้งอัศจรรย์เรื่องคำฝัน ทั้งวิตกวิจารณ์นำเรานี่ เพราะคำฝันมันเคยแน่ เคยแน่จังใด๋ ฝันเรื่องไหนมันแน่เรื่องนั้น ฝันนี่ย่านเพิ่นป่วย มันว่านะ อยู่ ๆ มันเป็นขึ้นโลดเป็นกึ๊กกั๊ก ทั้งดีใจทั้งเสียใจนะ กลางคืนนอนไม่ได้เลย สะอึกสะอื้นตลอดแจ้งเลย กลางคืนกลางเวนปิดหูปิดตาอยู่ทั้งสองอย่าง เรื่องผมตายกับเรื่องรัศมี ทั้งวิตกย่านผมจะป่วย เพราะฝันเกี่ยวกับผู้ใดก็ตาม ครั้นเรื่องตายอย่างนี้ป่วยโลดดี๊ ผู้นั้นป่วย
พอดีวันที่ ๗ ก็แม่น วันหลังมาที่ล้มบนกุฏิ เพียง ๙๘ เปอร์เซ็นต์ไม่ถึง ๙๙ เหมือนหนองผือ อันนั้น ๙๙ นั่นมันปล่อยหมดเลย มันเป็นเครื่องประทับตราอย่างสำคัญ เราพิจารณาในทางจิตตภาวนาเรื่องจิตมันขาดจากอะไร ๆ มาเป็นลำดับ ๆ ก็ทราบ ขาดโดยชัดเจนมันก็ทราบ ไม่มีเงื่อนต่ออะไรเลย ทราบทางด้านปฏิบัติ ระหว่างอารมณ์ระหว่างเรื่องที่เคยเกี่ยวข้องกันมากน้อย มันตัดมันขาดออกจากกันเป็นเอกเทศของสิ่งเหล่านั้น ใจเป็นอย่างหนึ่ง
แต่มันไม่ทราบเรื่องตายนี้จะเป็นยังไง ขณะที่ตายกิริยาระหว่างขันธ์กับจิตจะเป็นยังไงเราไม่ทราบ ตอนที่เป็นที่หนองผือถึงทราบ คือเวทนามันกล้าสาหัส เพราะถ่ายถึง ๒๕ หน อาเจียน ๒ หน อาเจียนครั้งที่สองมันพุ่งไปติดฝาโน่น คนกำลังจะไม่มีแล้วนะเป็นยังไงมันถึงได้อาเจียนขนาดนั้น พุ่ง ๆ ติดฝาพลัวะ ๆ แรงปานนั้นนะ พุ่งติดฝา ๆ
คือตอนเช้าเขาเอาอาหารมาให้กินมันกินบ่ได้ ก็เลยซดอย่างละหน่อย ๆ หลังจากนั้นมาถ่ายอีก พอกินไปแล้วมาถ่าย อาเจียน ข้าวออกหมด ข้าวต้มที่ฉันลงไป มันพุ่งติดฝา พุ่ง ๆ ติดกัน ๆ จนกระทั่งเส้นท้องเราเป็นแผ่นกระดานไปเลย ออกจากหั้นก็ม่อยไปเลย คือมันเต็มที่แล้วเวทนา
แต่สำคัญที่ทางนี้ลงทางนั้นก็ขึ้นพร้อมกัน พร้อมกันเลย เข้าถึงจิต ความรู้สึกรับผิดชอบหมด หูดับ คือหมดเลย แม้อวัยวะนี้ไม่ใช่หูหนวกตาบอดนะ มันเลยหนวกเลยบอด ร่างกายเป็นท่อนไม้ท่อนฟืนไปแล้ว ถ้าตาบอดนี้สมมุติเราหลับตานี้มันยังเห็นมืดๆ ที่นัยน์ตา ไม่เห็นวัตถุมันก็เห็นมืดอยู่ในตาของตัวเอง เช่น หูหนวกอย่างนี้มันก็ยังได้ยินตึง ๆ ตัง ๆ อยู่ภายในตัวเอง อันนี้มันหมด มันเป็นท่อนไม้ไปเลย ร่างกายทุกส่วนเป็นท่อนไม้ไปหมด คือไม่มีความรู้สึก มันหดตัวเข้ามาเหลือแต่ความรู้ล้วน ๆ ทุกขเวทนาที่สาหัสดับหมด
ตรงนี้ซิมันรู้ได้ชัด อ๋อ คนเราถ้ามีสติแล้วขณะมันจะไปจริง ๆ แล้วทุกขเวทนาต้องดับหมด คือมันปล่อยเสียก่อนถึงค่อยไป ปล่อยความรับผิดชอบ แต่ปล่อยมันหลายอย่าง คืออันหนึ่ง ธรรมชาติของมันปล่อยความรับผิดชอบแต่อุปาทานไม่ปล่อย อุปาทานภายในจิตมันไม่ปล่อย อะไร ๆ ที่รวมอยู่ในจิตมันไม่ปล่อย กรรม วิบากกรรม มันไม่ปล่อย มีอยู่ในจิต ผิดกันที่ตรงนี้ ส่วนจิตไม่ปรากฏนี่ เรื่องนี้ไม่ปรากฏ ดับหมดเหลือแต่รู้ รู้ก็สักแต่รู้ ไม่มีเศร้ามีใสอะไร รู้อย่างชัดเจน ไม่วิตก
มันวิตกได้นะ เข้าไปถึงขนาดนั้นแล้วยังวิตกได้ เวทนาดับหมด ร่างกายก็ดับหมด จิตถ้ากระเพื่อมแย็บเดียวเท่านั้นมันก็ไป นั่นเรียกว่า ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเคลื่อนแย็บเท่านั้น แต่นี้มันไม่เคลื่อน มันรู้ ความรับผิดชอบมันถอนเข้ามา ความรู้สึกส่วนประสาทต่าง ๆ มันถอนหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ถอนหมด เหลือแต่ใจล้วน ๆ
มันวิตก หือ จะไปเดี๋ยวนี้เทียวเหรอ นั่นมันวิตกได้ ไปเดี๋ยวนี้เทียวเหรอ คืออะไรหมดแล้ว ทุกข์ก็หมดแล้ว ทุกข์ส่วนร่างกายหมด เอ้า ไปก็ไป คำว่าไปก็ไปย้ำเข้าไปอีก เหมือนกับว่าจะตั้งใจให้ไป เอ้า ไปก็ไป กำหนดปั๊บ มันก็เป็นพลัง สมมุติอันนี้นะ การกำหนดเป็นสมมุตินี่ ตั้งขึ้นมา แทนที่มันจะไปมันกลับมีกำลัง ไม่ถึง ๑ นาทีเรากำหนดไป มันก็ซ่านขึ้นมาอีกที่นี่ความรับรู้ หูได้ยิน ตาเห็น ฝ้าฟางก็ตามมันก็เห็น ร่างกายทีนี้เวทนาก็เกิด ร่างกายทุกขเวทนาเกิดขึ้นในขณะนั้น แล้วเวทนาก็สาหัสเท่าเดิม นี่เรียกว่า ๙๙ เปอร์เซ็นต์
อันนี้ไม่ถึงนั้นนี่ ทุกขเวทนาสาหัสอยู่ภายในหัวใจนี่ มันอ่อนเต็มที่จนไม่มีกำลังเลยร่างกายหมดกำลัง แต่มันอ่อนอยู่ภายในนี้ มันเพลียอยู่ตรงกลางนี่เวทนา จึงเรียกว่า ๙๘ ส่วนนี้มันอ่อนหมด ร่างกายไม่มีกำลังตอนมันล้มลงไป ตอนที่มันจะก้าวขึ้นมาตรงนี้เราไม่ได้ยืน เพราะเรารู้อยู่แล้ว การก้าวผมไม่แน่ใจว่าจะก้าวขึ้นได้ มีอยู่ ๕ เปอร์เซ็นต์จะลองฝืนลองดู ถ้าเราแน่ใจก็ก้าวขึ้นมาได้ เช่นอย่างก้าวขึ้นบันไดทีละขั้น ๆ ถ้าหากไม่ไหวก็หยุดเสียก่อน ถ้าหากเราได้ก้าวเดินขึ้นไป เราก้าวตัวย่อ ๆ หากมันเป็นยังไงก็นั่งอยู่นั้นเสีย หยุดเสีย ก้าวขึ้นขั้นไหน ๆ เราก็พักไป ๆ จนกระทั่งถึงนั้นแล้ว ฝืนลองดู ใน ๕ เปอร์เซ็นต์นี่ฝืนดู
ฝืนก็เป็นจริง ๆ พอก้าวนี้วูบทีเดียว หมดกำลัง วูบก็กึ๊กเลย กึ๊กที่นั้นเลย ไม่ได้ล้มไปนั้นนี้ สติสตังก็มี กำลังพอที่จะต้านทานมี นิด ๆ มันก็พอมี พอล้มนี้ก็พิง กำลังมีน้อยขนาดนั้น ตอนนั้นลมหายใจก็จะไม่มีนะ สูดลมหายใจเหมือนอากาศไม่มีเลย คือมันหมดกำลังขนาดนั้นพูดง่าย ๆ อากาศที่เราจะสูดเข้าไปเป็นลมหายใจนี้มี แต่กำลังที่จะสูดเอาลมเอาอากาศเข้ามาหายใจนี้มันไม่มี กำลังนี้ไม่มี เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกับว่าลมไม่มี อากาศไม่มี โล่งไปหมด ความจริงกำลังของเราไม่มีที่จะสูดออก มันก็เป็นมากพอควร ที่มันฝันก็ใกล้เคียงกับความจริง
ถ้าเราไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้มันเป็นนะจิต เช่น เราคำนวณอะไรอย่างนี้ เราลองคำนวณดูเรื่องนอก ๆ มันเป็น มันเหนื่อย เพราะฉะนั้นผมถึงไม่อยากคิดเรื่องอะไรแหละ เช่น บัญชีนั้นบัญชีนี้มาให้ผมดู ผมดูแล้วก็ตรองดูตามบัญชีอยู่นอก ๆ มันเป็น คือมันใช้สัญญาไปจดไปจ้อง ดึงอันนี้ออกไป จึงว่ามันหยาบ แต่ถ้าพิจารณาไตร่ตรองอรรถธรรมไม่เป็นนี่ มันแปลกอยู่นะ
อารมณ์ของธรรมอารมณ์ของโลกจึงผิดกันอยู่มาก เช่น เรากำหนดพุทโธ ๆ นี้ กับความคิดนั้นน่ะมันก็เป็นสังขารเหมือนกัน แต่ความคิดอันนั้นมันทำจิตใจของเราให้ว้าวุ่นขุ่นมัว ส่วนความคิดความปรุงอรรถธรรม เช่น บริกรรมพุทโธ ๆ เป็นต้นนะมันไม่เป็น ความปรุงอันนี้มันจะทำจิตให้สงบได้ ความปรุงอย่างนั้นอย่างโลกนั้นมันทำจิตให้ฟุ้งให้หนักให้เป็นทุกข์ได้
ถึงว่าสังขารสมุทัยสังขารของมรรคผิดกัน พุทโธ ๆ ก็เป็นสังขารฝ่ายมรรค ความคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้เป็นสังขารฝ่ายสมุทัย เรื่องคิดอย่างนี้มันเป็นเรื่องโลกจึงทำให้เหนื่อย เหนื่อยหัวใจ เรากำหนดตาม ๆ กำหนดอย่างนี้มันก็รู้สึก อยู่ลำพังดี ไม่ยุ่ง บัญชีอะไรอะไรเป็นอะไรอย่าให้ยุ่งเลย ความคิดอ่านเกี่ยวกับเรื่องภายนอกมันไม่เข้ากันกับโรคอันนี้น่ะ มันกระเทือนกันได้ง่าย ถ้าอยู่สบาย ๆ ไตร่ตรองตามอรรถตามธรรมมันรื่นเริงไป เช่น สวดมนต์อะไร ๆ มันรื่นเริงไป พิจารณาไตร่ตรองตามธาตุตามขันธ์ส่วนนั้นส่วนนี้ไปอย่างนั้นมันเพลิน มันเป็นความรื่นเริงของจิต เป็นวิหารธรรมอันหนึ่ง สบาย ๆ
นิคคหะ ปัคคัยหะ มาเป็นคู่เคียงกัน หลักธรรมหลักวินัยนี่เป็นนิคคหะ ใครทำผิดปรับโทษ ๆ ปัคคัยหะ คือปฏิบัติชอบปฏิบัติดี อุชุ ญาย สามีจิ นี่ปัคคัยหะ โกงเขานี่นิคคหะ มีมาแล้วแต่ครั้งพระพุทธเจ้าจะว่าไง ถ้าลบคำดุด่าว่ากล่าวนี้ออกเสียทั้ง ๆ ที่มีเหตุผล ก็เท่ากับลบคำสอนของพระพุทธเจ้าออก ไม่ดำเนินตามหลักธรรมพระพุทธเจ้านี้เลย แล้วจะเอาความดีมาจากไหนสำหรับผู้มาอบรมศึกษาล่ะ
เหตุผลของเรามีอย่างนี้ เรามั่นอยู่อย่างนี้ เมื่อควรดุแล้วต้องดุ เมื่อควรดีแล้วต้องดี ควรชมก็ต้องชม ควรติต้องติ ควรดุต้องดุ ไม่ควรดุดุไปทำไม ดุเอาเหตุผลอะไร เพราะดีอยู่แล้ว เช่นต้นเสานี้มาเป็นศาลาเรียบร้อยเป็นอย่างดีแล้ว ไปฟันมันทิ้งทำไม ไปถากมันทำไม ถากก็ถากแต่ต้นที่ยังไม่เป็นเสานั่นซิ ไม้ต้นหนึ่งที่เขาจะมาทำเป็นเสาศาลาเป็นต้น ฟังเสียงเขาถากไม้แต่ละต้น ๆ นี้ดังลั่นป่า
เขาถากมันทำไม ก็ถากเพื่อความสวยความงาม เพื่อความดีความถูกต้อง ของช่างที่เห็นว่าอันใดควรไม่ควร คดงอที่ตรงไหนก็ต้องถากลงที่ตรงนั้น ที่มันตรงอยู่แล้วก็เพียงถากไปนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ใช่ตรงแล้วก็เอามันทั้งเปลือก เปลือกก็ไม่ใช่ของดี ต้องถากออก แต่ไม่ถากให้มันเสีย ถากเพื่อเอา
เห็นไหมเขาตีปั้ง ๆ ฟากวัดเรานี่ เขาตีทำไม กว่าจะเป็นมีดเป็นขวานขึ้นมาแต่ละเล่ม ๆ นี้ผ่านนายช่างเสียจนเหงื่อแตก จนกระทั่งได้เป็นมีดเป็นขวานให้เราได้ใช้เป็นประโยชน์ แล้วสอนคนจะให้เป็นคนดีทั้งคน สอนพระเณรให้ดีทั้งองค์ทำไมจะไม่มีเสียง เสียงดุเสียงด่าว่ากล่าวมีอย่างเหรอ นั่นหลักมีอย่างนี้
พระพุทธเจ้าถากพระวักกลิเห็นไหมล่ะ ถากเพื่อทำความเสียหายแก่พระวักกลิหรือถากเพื่ออะไร เราเห็นแล้วในตำราหาที่แย้งไม่ได้ แล้วก็พระองค์นั่นเองประคองพระวักกลิให้สำเร็จถึงมรรคผลนิพพาน ถากไปเพื่อจะให้ถึงมรรคผลนิพพาน วักกลิมาดูทำไม ดูรูปเราตถาคตซึ่งเหมือนกับรูปทั่ว ๆ ไป อันเป็นกองปฏิกูลน่าเกลียดทั้งนั้น หาความสวยงามที่ไหนมี เป็นความเห็นผิดโมฆภิกษุ มาดูในสิ่งไม่ดู มาสำคัญในสิ่งไม่สำคัญ หนีเดี๋ยวนี้ ไล่ นี่ประโยคเบื้องต้น ต้นเหตุ
พระวักกลิขึ้นไปบนภูเขาแล้วจะโดดลงมาตายเสียด้วยความน้อยใจ พระองค์ทรงเปล่งรัศมีไป เอ้า วักกลิเราจะช่วยเธอ สอนธรรมะที่นี่ แสดงปาฏิหาริย์ขึ้นมา พระวักกลิก็ประคองตัวได้ ว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่ขับไล่เพื่อความฉิบหาย เพื่อให้มาตายอย่างนี้ เราไม่ได้ขับเธอเพื่อมาล้มมาหายตายอย่างไม่เกิดประโยชน์อย่างนี้ เราขับเธอเพื่อเป็นประโยชน์ทั้งนั้น สมเป็นศาสดาของโลก สอนพระวักกลิได้สำเร็จมรรคผลนิพพานเห็นไหมล่ะ มีมาดั้งเดิมแล้วเรื่องอย่างนี้
เราไม่สนใจ โลกไม่มีแบบมีฉบับ หลักธรรมหลักวินัยมีแบบมีฉบับ เราจะนำหลักธรรมหลักวินัยมาสอนหมู่เพื่อน เราดำเนินมาก็ดำเนินแบบนั้น เราอยู่กับครูบาอาจารย์ก็ได้ผ่านเรื่องดุเรื่องด่าทุกสิ่งทุกอย่างมาแล้ว ไม่ใช่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายไม่เคยดุเคยด่า แต่เรามาอุตริขึ้นมาโดยหาเหตุผลไม่ได้อย่างนี้
ท่านดุด่าก็ดุด่าด้วยเหตุด้วยผล เอาเสียจนตัวสั่น ยกท่านอาจารย์มั่นเป็นต้น ฟาดลงแต่ละหน ๆ แต่ละครั้ง ๆ นี่ โอ้โห ตัวสั่น ใครยืนอยู่ที่ไหนยืนอยู่ที่นั้นแข็งไปหมด นี่เราเห็นต่อหน้าต่อตานะ กลางวันแสก ๆ ท่านเดินหย็อก ๆ ออกมา ใส่เสียเปรี้ยง ๆ นี่หมายถึงมันเด่น ๆ พระองค์ไหนอยู่ที่ไหน ๆ ยืนตัวแข็งไปเลย
องค์หนึ่งกำลังกรองน้ำไปฉัน นั่งฉันน้ำอยู่ตรงพักที่กรองน้ำ น้ำอยู่นี้มากรองน้ำแล้วนั่งฉันอยู่ ท่านก็มาเข่นพระองค์นี้ พระองค์นั้นก็เลยยืนแข็งฉันน้ำไม่ได้ นั่งตัวแข็งอยู่อย่างนั้น องค์หนึ่งมาสะกิด ทำไมนั่งสูงกว่าท่านอาจารย์ โดดตูมเลย ไม่มีสติทั้งโดดลง ไม่มีสติทั้งนั่งอยู่ ขณะนั่งไม่มีสติ ลืมตัวไปว่าท่านอยู่ต่ำกว่าเรา นั่งสูงกว่าท่านไม่รู้ตัว
ท่านก็ไม่มาสนใจว่านั่งสูงนั่งต่ำ ท่านสนใจเรื่องสอนพระ หือ ๆ ว่าอย่างนี้นะ พระเณรเหล่านี้ออกจากวัดไปหาไม้กวาดนั่นน่ะ ได้บอกใคร ได้ลาใคร หือ ๆ พวกท่านขอนิสัยจากใคร มาอบรมกับใคร จึงไม่ได้คำนึงถึงครูบาอาจารย์ ไม่คำนึงถึงหลักธรรมหลักวินัยอันเป็นขอบเขตของพระของเณร ตลอดถึงผู้ปกครอง ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หือ เอาละที่นี่นะ หือ ขออนุญาตจากใคร ๆ ลาใคร
ไม่มีทางออกละที่นี่ ลาท่านมหาบัว ท่านมหาบัวเป็นผู้ให้นิสัยพวกท่านเหรอ ท่านใส่ปัวะเข้าอีก หนักเข้าไปอีก กูตาย มึงเอาคอกูเข้าไปมัดอีกแล้ว ไม่มีทางไป ตามธรรมดาท่านว่าท่านไม่ได้ตั้งใจจะมาว่าเรานะ ท่านใส่องค์นี้ต่างหาก เมื่ออ้างถึงเราท่านก็เอามาตีอีกทีหนึ่ง ท่านไม่ได้ว่าเราผิดเสียทีเดียว เมื่ออ้างอย่างนั้นมันก็ยังไม่ถูกอยู่ดี ท่านก็ฟาดเอาเสียหนัก ๆ ขับหนีหนึ่ง ประณามนิสัยหนึ่ง พอว่าอย่างนั้นท่านก็เดินด้อม ๆ ไป
ก็เป็นพระผิดจริง ๆ นี่ มีอันหนึ่งที่พอผมจะออกได้ ไปกราบเรียนท่านไม่เป็นคำโกหก ถ้าไม่มีอันนี้เลยผมก็ต้องยอมตาย พวกนั้นจะตาย ผมก็จะบอกว่าลาเมื่อวาน มันก็ไม่ใช่เป็นการลาในวันนี้ใช่ไหม ว่าลามหาบัวก็ต้องบอกครูบาอาจารย์ใช่ไหม อันนี้ผมไม่ได้ถือว่าลาผม นั่นผมเอาตอนนั้น ท่านเข้าห้องแล้วพระถึงมาบอก เอ๊ ทำไมไม่ลาท่าน ไปเอามีดมาแล้วเอาไม้ประตูมาด้วย นี่เป็นคำจากผม ไม้ประตูนี่มันหักไปอันหนึ่งแล้ว มันมีสี่อัน ไม้ประตูออกวัด ผมก็เลยเอานี้ละไปกราบเรียนท่าน ตอนสาย ๆ ท่านไปกุฏิแล้วก็ไปกราบลาครูบาอาจารย์จะเป็นการรบกวน พระจะไปเอาไม้ ผมเลยหลวมตัวก็เลยให้ไป แล้วเห็นไม้ประตูมันหักและสัตว์เข้ามาบ่อย ให้เอาไม้นี้มาด้วย ถ้าผิดผมก็ยอมรับหมด เวลาขึ้นไปนี่ผมเห็นอาการของท่าน ว่าท่านไม่ได้ตั้งใจว่าให้ผมเลย ท่านตั้งใจเข่นพระต่างหาก เพราะกิริยาอย่างนั้นท่านไม่เคยใช้กับผม ธรรมดา ๆ วันนั้นขึ้นไป ท่านทำอาการยิ้มแย้มแจ่มใสกับเรา พอดุพระได้สักพักเราก็ขึ้นไปแก้พระนั่นเอง ใครอย่าขึ้นไปนะเราขึ้นไปองค์เดียว พอเห็นเราขึ้นไป หือ มหามา เอ้า มาฉันน้ำร้อน แน่ะ เอาละนะ ออกจากนั้นท่านก็คุยไปโน้นคุยไปนี้ไปเรื่อย ซึ่งไม่เคย นี่ผมก็รู้ แล้วเราจะหาโอกาสพูดเรื่องนี้เมื่อไรก็พูดไม่ได้ จนกระทั่งท่านกลับมานิด ๆ นิ่งนิดหนึ่ง เราก็เลยหาอุบายพูดอย่างนั้นอย่างนี้ไป จากนั้นเราก็เริ่มเรื่องนี้ขึ้นมา พอเริ่มเรื่องนี้ขึ้นมาเราก็มอบกายถวายตัวเลยว่าเราผิด เราบอก เมื่อเช้านี้กระผมได้ผิดจริง ๆ ยอมรับว่าผิด ได้ให้หมู่เพื่อนไป สั่งหมู่เพื่อนเพราะเหตุนั้น ๆ ก็พูดถึงเรื่องไม้ว่าคนเขาจะเอาไปเสีย เพราะอยู่ริมทาง เลยให้พระไปเอามาเสีย ไปก็ไปตอนสายตอนพ่อแม่ครูจารย์เข้าห้องแล้วด้วย ถ้าลาจะเป็นการรบกวน จะรออยู่ก็กลัวเขาจะเอาไม้ไป เลยจำเป็นจำใจ เอ้า ไป จะได้กราบเรียนท่านให้ เลยปล่อยให้ไป ผมผิดตรงนี้ ยอมรับหมด เอ๊ย จะเป็นไร พอพูดได้ประโยคสองประโยค เอ๊ย เป็นไร ท่านก็ไปโน้นอีกแล้ว ยังไม่จบนะ คือท่านไม่มาเกี่ยวข้องเรื่องนี้เลย ท่านก็ไปของท่าน ทีนี้เรายังมีความผิดเต็มตัวอยู่นี่ พอท่านวกมาอีก เราก็พูดอย่างนี้เข้าไปอีก ท่านว่า เอ๊ย จะเป็นไร ท่านก็ไปโน้นของท่านอีก ไปเรื่องไหนต่อเรื่องไหน เรื่องเก่าเรื่องแก่ของท่านไปเรื่อย ท่านไม่เคย อยู่กับผมโดยเฉพาะท่านจะพูดแต่ธรรมะล้วน ๆ เพราะท่านเคยเห็น ผมขึ้นไปท่านเป็นพูดธรรมะทันทีเลยเพราะรู้นิสัยผม เพราะนิสัยผมเป็นอย่างนั้น ถ้ามีพระเณรอยู่นั้นด้วยแล้วผมจะไม่พูดเลยสำหรับผมเอง ท่านก็ไม่เคยถามผมเลยเรื่องปัญหาธรรมะ เป็นยังไงใจ อย่างนี้เป็นต้นนะ จะไม่ถามเลย เราก็ไม่เคยเอ่ย จนกระทั่งไม่มีใคร มีแต่ท่านกับเรา เอาละที่นี่ จะเสียงลั่นก็ลั่นเฉพาะสองต่อสอง คนอื่นได้ยินก็ได้ยินตอนนั้นแล้วรุมกันมาฟังใต้ถุนกุฏิ ไม่ว่าตอนบ่ายไม่ว่าตอนกลางคืน ถ้าได้โต้กันทีไร คือนิสัยผมมันหาความจริงจริง ๆ นี่ กลัวก็กลัว กลัวครูบาอาจารย์ แต่หลักเหตุผลเป็นหลักสำคัญที่เราต้องการอย่างยิ่ง เพื่อความเปิดทางเราไป ท่านจะหนักขนาดไหนก็คือการเปิดทางให้เราทั้งนั้น เราคิดอย่างนั้นนะ เหมือนกับว่าดึงท่านมาอีก จนว่าประณามนิสัย เอ๊ย ประณามอะไร ขับหนี ขับหนีอะไร แล้วก็ไปอีก แย็บเท่านั้นท่านไปแล้ว ท่านว่ามันไม่รู้เรื่องรู้ราวก็ว่าเสียบ้างไม่งั้นมันจะลืมตัว ก็ถูกของท่านอีก ถ้าพระผิดก็มีผมละไปตัดคอรองทั้งนั้นแหละ ไม่มีทางไหน พระผิดต้องวิ่งขึ้นมาหาผม ผมยอมรับทุกอย่าง แต่ก็มีช่องจะให้เรารับโดยไม่ มันมีเงื่อนที่จะจับได้อย่างที่ว่านี่ จับปึ๊บกราบเรียนท่านได้อย่างที่เราว่านี่ ก็อนุญาตให้ไป ถ้าผมว่าอย่าไปนะ พระองค์นั้นก็ไปไม่ได้นี่ จะฝืนผมได้เหรอ เพราะองค์นั้นก็เคารพผมเหมือนกันนี่ อยู่กับท่านอาจารย์มั่นก็ตามไม่มีองค์ไหนมาทะลึ่งผมได้ กลัวผมเหมือนกันนี่ จ้องตาใส่รูปไหนหลงทิศไปเหมือนกัน เพราะเราเอาจริงเอาจังนี่ เราชี้แจงเหตุผลทุกสิ่งทุกอย่าง มาอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เรามาเองทั้งหมดนะ เราประชุมลับ ประชุมสภาหนู เราเรียกประชุมบ่อย ๆ เรียกพระเณรมา มีใครขัดข้องไม่สะดวกตาเรามองเห็นเรียกมาเตือน อย่าให้เป็นข้อหนักใจไปถึงท่านนะ เรามาเองทั้งนั้น ท่านอยู่โดยลำพังท่านเห็นไหม ท่านอยู่ภูเขาที่ไหน ๆ ท่านเคยสนใจกับใคร นี่ใครก็รุมมา ๆ มาทำให้ท่านหนักใจไม่ได้นะ เอากันเรื่อย เหน็บกันเรื่อย เรื่องข้อวัตรข้อวาเหมือนกัน องค์ไหนเด้น ๆ ด้าน ๆ อ่อน ๆ แอ ๆ นี้ถูกเหน็บเรื่อย เรื่องข้อวัตรปฏิบัติเราจะต้องเป็นหัวหน้าออกก่อนหมู่เพื่อน เหมือนกับเป็นลูกเขยใหม่ ๆ นำหมู่เพื่อน ทุกข์มากพูดถึงอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์เกี่ยวกับหมู่กับเพื่อน ดึงหมู่เพื่อนลากหมู่เพื่อนไม่งั้นจะเป็นความหนักใจท่าน เราไม่ให้หนักใจท่าน พูดถึงเรื่องดุเรื่องด่าใครจะเก่งยิ่งกว่าท่านอาจารย์มั่น หาแย้งที่ไหนมี แย้งไม่ได้ ไม่มีที่แย้ง ต้องหมอบ ผู้หาอรรถหาธรรมไม่หาเช่นนั้นหาอะไร มันก็ยอมรับ ๆ มันถึงใจน่ะซิ ทีนี้เวลานานไป ๆ ท่านไม่ได้ดุนี้ไม่ได้ฟังธรรมะเผ็ด ๆ ร้อน ๆ เด็ด ๆ เราเองละมีอุบายอันใดอันหนึ่ง แบบบ้า สอดนั้นสอดนี้ผิดบ้างถูกบ้าง เดี๋ยวท่านก็บ๊งเบ๊งขึ้นมา เปรี้ยง เอาละที่นี่ พูดถึงเรื่องดุท่านดุเรามากกว่าเพื่อน แต่ท่านก็ทราบ เราก็ทราบ ว่าสิ่งที่เกิดความเสียหายให้ท่านดุนั้นมีอะไร เราก็ทราบเราเอง อยู่ไปนานไป ๆ ท่านก็รู้นิสัยของเราว่าเราเป็นยังไง จริงจังแค่ไหนไม่จริงจังแค่ไหนท่านก็รู้เอง ท่านจะดุเราอย่างนี้ดุไป
เรื่องข้อวัตรปฏิบัตินี้เราแพล็บก่อนเพื่อนแหละ ถึงได้พูดกับหมู่กับเพื่อนเสมอ เพราะได้ดูแล้วนี่เวลาอยู่ด้วยกัน นี่เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์นี้มันซ่อนเล็บนะ ออกจากครูบาอาจารย์แล้วมันเล่นเต็มเพลงละนะ ใครมีเพลงไหนแบบไหนจะเอาไปใช้เต็มภูมิของมันนั่นแหละ มันจะขายครูบาอาจารย์ แล้วมันก็เป็นจริง ๆ เห็นไหมใครไปที่ไหน เล่นเต็มเพลงของตัวเองดูครูบาอาจารย์เมื่อไร มันผิดไหมล่ะ มันไม่ผิด ดูกันอยู่ตรงนั้นมันรู้นี่ ใครองค์ไหนมีแฝง ๆ แผลง ๆ รู้ ที่ดำเนินตามร่องตามรอยอยู่สะดวกสบายที่เคยอยู่ด้วยกันมา ท่านสิงห์ทองแม้จะไม่ได้มาอยู่กับผมก็ตาม ก็อยู่โคกมะนาว ๓ เดือน เข้ามาฟังเทศน์ เวลามาพักหนองผือก็มา ก็เหมือนท่านอาจารย์ฝั้น ท่านดำเนินก็มีหลักมีเกณฑ์ อย่างท่านวันนี่ก็เป็นผู้ปฏิบัติบาตรท่าน แล้วเป็นยังไงเดี๋ยวนี้ ทำตัวขลังใหญ่แล้วที่นี่ โอ๋ย ขลังมากนะ ผึ่งผาย ยิ่งในหลวงนิมนต์ด้วยแล้ว โอ๋ย ดินเหนียวติดหัวว่าตัวมีหงอนนั่น เป็นอย่างนั้นซิ เรื่องของกิเลสมันใช่เล่นเมื่อไร ตัวเท่าหนูมันก็พองเหมือนตัวเท่าช้างได้ ทั้ง ๆ ที่มันก็ตัวเท่าหนูนั่นแหละ ความสำคัญซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น เรื่องธรรมแล้วไม่ตื่น อย่าว่าแต่พระเจ้าแผ่นดินเลย ท้าวมหาพรหมลงมาก็ไม่ตื่น ตื่นอะไร ท้าวมหาพรหมกราบธรรมนี่นะ ธรรมเหนือท้าวมหาพรหมนี่นะ ยิ่งวิสุทธิธรรมภายในใจเต็มภูมิด้วยแล้ว นั้นแหละมีเท่านั้น ไม่มีอะไรเหนือนั้นเลยว่างั้นเลย อะไร ๆ ก็เหมือนกันหมด อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา พิจารณารู้แล้ว สามโลกธาตุตื่นไปหาอะไร ตั้งไปคุณหลวงจรวด ดาวเทียมก็ได้เป็นอะไร ว่าไปเฉย ๆ อย่างเราตั้งเราเองก็ได้นี่ เหนือจรวดเหนือดาวเทียมเราก็ตั้งได้ มันยากอะไรตั้งอยู่นี่ ตื่นอะไรนักหนา กิเลสตั้งมันขึ้นมา กิเลสก็หลงกัน กิเลสหลงกิเลสว่างั้น พิจารณาจุดนี้พอตัวแล้วไม่ตื่น ชมก็แล้ว จิตแสดงออกไป หมายความว่าอย่างนั้น หมายความว่าอย่างนี้ เขาชมเราอย่างนั้น เขาตำหนิเราอย่างนี้ พอเขาตำหนิใจดำปี๋เหมือนถ่านไฟไม่มีไฟ จากนั้นก็เป็นไฟแดงโร่ขึ้นมา มีแต่เรื่องนี้ทั้งนั้น คือไม่พอดี ถ้าจิตไม่พอดีเสียอย่างเดียวหลอกเจ้าของ เขาว่าอย่างนั้น ตีความหมายเอาละ เขาว่าไม่ดี เหมือนเจ้าของไม่ดีจริง ๆ แล้วโกรธเขาด้วย เขาว่าเจ้าของไม่ดี โกรธเขา ยิ่งทำลายตัวใหญ่ โมโหโทโสก็เป็นการทำลายจิตใจ
เอาละที่นี่