ถอดคำสนทนาจากการประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 ของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่จาก กสทช. และสถานีวิทยุที่ได้รับผลกระทบฯ... โดยมุ่งเน้นถอดคำพูดของนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี)
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
7 ต.ค. 57 เวลา 10.00 น. - 13.00 น. ณ ห้องประชุม 704
นายแพทย์นิรันดร์ : ...จะกลับมาวันที่ 13-14 ครับ ก็เลยว่าเชิญทางเจ้าหน้าที่มาพูดคุยก่อนแล้วกันนะฮะก็เรียนท่านนทีว่านี่คือการเริ่มพูดคุยและรับฟังข้อเท็จจริง และดูว่ามีแนวทางในการที่จะหาทางออกในเรื่องของการคลี่คลายปัญหาได้อย่างไรบ้างนะครับถ้างั้นเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อผมอยากให้ทางผู้ร้องได้ชี้แจงก่อนดีไหมครับ ใครจะช่วยสรุปประเด็นปัญหาต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากแนวทางการทำงานกสทช.แล้วก็ร้องมาที่คณะกรรมการสิทธิฯ อย่างที่ผมนำเรียนเมื่อคราวที่แล้วฮะว่าวันนี้ก็จะมีการนำเสนอปัญหาและก็ถ้ามีรายละเอียดในเรื่องของข้อเท็จจริงอย่างไรก็จะได้มีโอกาสชี้แจงกัน เชิญเลยครับ หลวงพ่อ พระอาจารย์ หรือศิษยานุศิษย์ท่านใด
(พระจากมูลนิธิเสียงธรรม กล่าว : ...)
(อ.วัชรพล สยามวานิช กล่าว :
)
นายแพทย์นิรันดร์ :เอ่ออาจารย์ครับคือเข้าใจอยู่ อ.อยากจะพูดถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา แต่ว่าอ.ช่วยสรุปได้ไหมครับ เอาให้ตรงประเด็นเพราะว่าเดี๋ยวจะมีประเด็นที่ให้ทางกสทช. เค้าชี้แจ้งนะครับ
(อ.วัชรพล สยามวานิช กล่าว :
)
นายแพทย์นิรันดร์ :คือ อาจารย์ฮะ คงไม่มีใครติดใจว่าชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นหลักสามประการที่สำคัญของประเทศไทย แต่เอาให้เห็นปัญหาว่าการที่ทำให้เราต้องมาคุยกันเนี่ย เกิดจากอะไร
(อ.วัชรพล สยามวานิช กล่าว :
)
นายแพทย์นิรันดร์ : ครับขอบคุณครับคือผมไม่ได้กันอะไรนะฮะแต่คือว่าวันนี้ก็อยากให้ฟังไห้ได้ครบนะฮะ ขอให้เข้าใจ และก็อย่างที่เราเข้าใจ มันอยู่ในสายเลือดเราแล้วครับ รู้กันแล้วครับ ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง พระนเรศวร พระเจ้าตากสิน ครับเชิญนิมนต์เลยครับพระอาจารย์
(พระจากมูลนิธิเสียงธรรม กล่าว : ...)
(อ.วรเดช :
.)
นายแพทย์นิรันดร์ :นี่เจ้าหน้าที่สำนักงานครับ ส่วนตัวกสทช.ท่านนทีท่านไม่อยู่ไปต่างประเทศ ...คือเค้าเป็นฝ่ายต่างๆหน่ะครับ อาจารย์(วรเดช)มีประเด็นอะไรหรือครับ ...นี่หล่ะครับที่อยู่ที่นี่ 5-6 คนก็เยอะแล้วครับ นี่เรียกว่าจัดทัพมาเลยครับ ปกติเค้ามาหน่วยงานละคน สองคนนี่จัดทัพมา5-6 คน และแต่ละคนก็คงชำนาญคนละแบบ นักกฎหมาย ช่างเทคนิค วิศวะ ใช่มั้ยฮะ เดี๋ยวก็จะได้ตอบได้ เชิญ
(อ.วรเดช :
.)
นายแพทย์นิรันดร์ :ไม่ทราบว่าจะมีทางฝ่าย ทางผู้ร้องอีกซักกี่ท่านฮะที่จะชี้แจง หลวงพ่อ พระอาจารย์
พระจากมูลนิธิเสียงธรรม กล่าว : ของเรามีหลายท่านอยู่เพราะว่าเราต้องการให้ได้มุมมองให้ครบ
นายแพทย์นิรันดร์ :ได้ครับแต่ว่าตอนนี้จะมีประมาณซักกี่ท่านครับ
พระจากมูลนิธิเสียงธรรม กล่าว : มีประมาณ 7-8 ท่าน
นายแพทย์นิรันดร์ : เอ่อยังไงช่วยสรุปด้วยเพราะเดี๋ยวทางกสทช.จะไม่มีเวลาชี้แจง...ให้สรุปให้ตรง เอ่อ อ.วรเดชประสบการณ์เยอะไง จึงมีลูกเล่นเยอะให้เราคล้อยตาม ผมก็พยายามฟังก็ได้ประโยชน์เยอะ เผอิญตรงนี้มันต้องฟังหลายด้านด้วยนะฮะ ยังไงช่วยสรุปเอาแต่เนื้อๆและก็เดี๋ยวมีอะไรทางอนุกรรมการสงสัยก็จะซักถามเพิ่มเติมนะฮะ
(พระจากมูลนิธิเสียงธรรม กล่าว : ...)
(คุณจุฑารส กล่าว :
)
(พระจากมูลนิธิเสียงธรรม กล่าว : ...)
(ป้าแป๊ว กล่าว :
)
(พี่เกียง กล่าว :
)
(ผู้หญิง เสื้อลายสก๊อตเขียว :
)
นายแพทย์นิรันดร์ :ไม่ต้องขอความอนุเคราะห์ ไม่ต้องขอความเมตตา เพราะมันเป็นหน้าที่ต้องตอบนะฮะ พวกเราไม่ต้องอ่อนน้อมมากนะฮะ เค้ากินเงินเดือนประชาชน มีหน้าที่ ผมก็กินเงินเดือนประชาชน ก็มีหน้าที่ต้องทำตรงนี้ ไม่ต้องขอความอนุเคราะห์จากผมด้วยนะฮะ
(ตัวแทนจากวัดสังฆทาน กล่าว : ...)
นายแพทย์นิรันดร์ :คงพอแค่นี้ก่อนนะฮะ เดี๋ยวอาจจะเพิ่มเติมทีหลังได้เราจะได้ฟังตัวแทนจากทางฝั่ง กสทช.
มณีรัตน์(กสทช.) :กราบเรียนท่านประธาน ท่านอนุกรรมการและทางท่านผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านนะคะ ดิฉัน มณีรัตน์ กำจรกิจการผู้แทนสำนักงาน กสทช. ตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานสำนักการอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระเสียงค่ะก็ประเด็นค่อนข้างจะเยอะนะคะ แต่ขออนุญาตสรุปเป็นสาระสำคัญหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องเป็นการเบื้องต้นก่อนเพื่อให้ท่านคณะอนุกรรมการได้รับทราบ เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบันนะคะ
ปัจจุบันนี้เองนะคะ ต้องนำเรียนว่า สถานีวิทยุในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกันก็คือ กลุ่มที่มีสิทธิในการประกอบกิจการหรือดำเนินการมาตั้งแต่อดีตนะคะ ก็คือกลุ่มส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐทุกท่านรู้จักดีนะคะ ซึ่งเมื่อสักครู่นี้ทางผู้แทนของเสียงธรรมก็ได้มีการ ของมูลนิธิเสียงธรรมก็ได้มีการกล่าวขึ้นมาแล้วว่ามี สามร้อยกว่าสถานี เหล่านั้นคือ สถานีที่ใช้คลื่นความถี่ในระบบ FM ด้วยกัน แล้วก็จะมี AMอยู่ สองร้อยกว่าสถานี รวมเบ็ดเสร็จทั้งหมดนะคะของสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยที่เป็นของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจนะคะ มีทั้งหมด 524 สถานีด้วยกัน แบ่งเป็น FM 314 แล้วที่เหลือเป็น AM นะคะ แต่วันนี้เองประเด็นที่เราจะคุยกัน ก็คือในประเด็นของกลุ่ม FM นะคะ
แล้วนอกจากนั้นเอง อีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มสถานีที่ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ความเป็นมาทุกท่านคงรู้ดีว่า รัฐธรรมนูญปี 40 กำหนดให้ประชาชน มีสิทธิในการนำคลื่นความถี่มาใช้ได้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ซึ่งในวันนั้นเอง ต้องเรียนว่า มีเฉพาะกฎหมายแม่บท คือกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่กฎหมายลูกบท หรือกฎหมายที่จะนำมาใช้ในการบังคับการยังไม่ได้มีการ ยังไม่มีการตราออกมาบังคับใช้ เนื่องจากว่ายังไม่มีองค์กรที่เข้ามากำกับดูแลในเรื่องนั้นทุกท่านเข้าใจกันดีนะคะ แต่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ประเทศไทยยับยั้งไม่ได้ในการเอาคลื่นมาใช้ นั่นหมายความว่า เมื่อมีรัฐธรรมนูญปุ๊บประชาชนก็เกิดความเคลื่อนตัวด้วยการหยิบเอาคลื่นความถี่นั้นมาใช้ ถามว่า ในทางเทคโนโลยีการนำคลื่นความถี่มาใช้ยากมั้ย ไม่ได้ยากค่ะ เพียงแต่ท่านมีเครื่องส่งนะคะ แล้วท่านจูนคลื่น คลื่นมันอยู่ในอากาศค่ะ สามารถนำมาใช้ได้นะคะ เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นมาก็ต้องเรียนบอกว่า มันเกิดจากกลไกของหน่วยงานภาครัฐเองที่ไม่สามารถจะหาองค์กรกำกับขึ้นมาได้เท่าทันตามที่รัฐธรรมนูญปี 40 กำหนดไว้นะคะ ถัดจากนั้นมาเอง ในปี 2543 ก็ได้เกิดพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ขึ้นมา ซึ่งพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่เอง ก็กำหนดให้มีองค์กร 2 องค์กร ก็คือ ด้านโทรคมนาคม กับกระจายเสียง องค์กรที่เกิดขึ้นได้ กว่าจะเกิดขึ้นได้ก็ปี 47 แล้วนะคะ ก็คือเฉพาะด้านโทรคมนาคม ด้านกระจายเสียงและโทรทัศน์ก็ยังเกิดขึ้นไม่ได้ มีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ดูแลอยู่ ซึ่งในวันนั้นกรมประชาสัมพันธ์ก็กำหนดให้ ทำอย่างไรตามแนวนโยบายคณะรัฐมนตรีนะคะ ก็กำหนดบอกว่า ให้มีวิทยุภาคประชาชนขึ้นมา ซึ่งก็มีแค่หลักสิบหลักร้อยนะคะ เป็นภาคประชาชนและที่สำคัญที่กรมประชาสัมพันธ์ทำขึ้นมาก็คือ โครงการในเรื่องของการดำเนินการในเรื่องของวิทยุชุมชนในกลุ่มของโลว์เพาเวอร์เท่านั้น ก็คือ 30 - 30 - 15 กำลังส่งไม่เกินเท่านั้นนะคะที่ดำเนินการ แล้วหลังจากนั้นก็เกิดการบูมขึ้นมาด้วยมีคณะรัฐมนตรีอยู่ชุดหนึ่งที่กำหนดให้การดำเนินการของวิทยุชุมชนหรือวิทยุภาคประชาชนที่ว่าเนี่ยน่ะค่ะ สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้ไม่เกิน 6 นาที ก็เกิดการบูมขึ้นมาบูมขึ้นมาอย่างมหาศาล ถามว่า กสทช. หรือ กทช. เข้ามาดูแลเมื่อไร เราเข้ามาหนะ ตอนนั้นปี 2552 แล้ว เกิดขึ้นมาได้อย่างไรก็เพราะว่า พรบ.ประกอบกิจการปี 51 กำหนดให้ กทช. ซึ่งดูแลเฉพาะด้านโทรคมนาคม เข้ามาดูแลด้านกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ชั่วคราว ชั่วคราวเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับวิทยุภาคประชาชนและเคเบิลทีวีเท่านั้น วันนั้นที่เราเกิดขึ้นมา เรามาสำรวจข้อมูลก็ปรากฎว่า วิทยุต้องขออนุญาตไม่เรียกว่า วิทยุชุมชนนะคะ เพราะมีความหลากหลาย ตรงนี้เราเข้าใจกันอยู่ เพราะมีทั้งวิทยุที่ทำในเชิงธุรกิจ ทำในเชิงสาธารณะ และทำในเชิงชุมชน รวมเบ็ดเสร็จในตอนนั้นมี 7 พันกว่าสถานี แต่ตอนนี้เอง ลดลงเหลือ 6 พันกว่าสถานี
ก็ต้องเรียนว่า กทช.เข้ามาใน......
นายแพทย์นิรันดร์:มีอะไรจะเพิ่มเติมไหมครับ มีใครจะชี้แจงอีกไหมครับ ท่านเดียวเหรอ คนเดียวใช่ไหม ฝ่ายเทคนิคฝ่ายกฎหมายจะพูดอะไรไหม อ๋อเราก็กฎหมายอยู่แล้ว ฝ่ายเทคนิคมีอะไรไหม มีแค่นี้นะครับ อนุกรรมการมีอะไรซักถามไหมครับ ตอนนี้เป็นเรื่องของอนุกรรมการที่จะต้องซักถามทุกฝ่ายก่อน เพราะว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีการตรวจสอบโดยอนุกรรมการ ฉะนั้นอนุกรรมการก็ต้องซักถามในประเด็นต่างๆ ที่มีข้อสงสัยต่างๆ นะครับ ซักถามทุกคนครับที่มีข้อคิดเห็นไว้ อนุกรรมการมีอะไรซักถามไหมครับ เชิญฮะ
คุณชาญวิทย์ (อนุกรรมการ) :เรียนท่านประธานครับ ผมชาญวิทย์ อนุกรรมการ ฟังจากตัวแทน กสทช. แล้วคิดว่า ยังไม่ได้นำเสนอเรื่องการแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ที่มีการร้องเรียนนะครับ สรุปว่า จะแก้ปัญหานี้ไหม หรือไม่แก้ ถ้าคิดว่าจะแก้ มีแนวทางในการแก้อย่างไร
นายแพทย์นิรันดร์:เอารูปธรรมที่เมื่อตะกี้มีทางเค้ายื่นไปวันที่ 16 กันยายน ไม่ทราบว่า มีการพิจารณาประเด็นนี้หรือไม่
มณีรัตน์(กสทช.) : 79 ใช่ไหมคะ มาวันนี้เองหน่ะค่ะ ข้อมูลที่ทางมูลนิธิยื่นไปของทั้งหมดที่จะขอตามข้อ 8 วรรคท้าย ที่จะมีกำลังส่งที่เกินกว่ามาตรฐานทั่วไปที่สถานีอื่นเค้าดำเนินการอยู่นะคะ จากการตรวจสอบ 79 สถานี ต้องขออนุญาตนำเรียนว่า มีเพียง 70 สถานีนะคะที่เป็นสถานีที่ได้รับใบอนุญาตและเป็นสถานีที่มีสิทธิ ดังนั้นอีก 9 สถานี ยังเป็นสถานีที่ยังมีประเด็นที่ยังไม่สามารถพิจารณาออกใบอนุญาตได้นะคะ ก็ต้องยืนยันในวันนี้ก่อนนะคะ เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อสาธารณะนะคะ ซึ่งทั้งหมดเนี่ยค่ะตามข้อ 8 วรรคท้าย ได้มีการเรียกพบจากท่านรองนายกเช่นเดียวกันนะคะ เรียกเข้าไปพูดคุยหารือเหมือนกันว่า
นายแพทย์นิรันดร์: รองนายกท่านไหน มันรองหลายรองเหลือเกิน
มณีรัตน์(กสทช.) :หม่อมอุ๋ย(รองเศรษฐกิจ) ท่านก็มีการนำเรียนเข้าไปซึ่งในวันนั้นเอง ต้องขออนุญาตว่า เรารับข้อมูลมาว่า จะดำเนินการ ซึ่งวันที่เรารับข้อมูลมาว่าจะดำเนินการนั้นคือ เราจะเอาข้อมูลทั้งหมด ของสถานีวิทยุมาดำเนินการ ในวันนี้เอง ข้อมูลที่มีอยู่ของทางมูลนิธิฯที่แจ้งมา ทั้งหมดที่ขอมา จากที่มาตรฐาน กำหนดไว้ 500 วัตต์ ของสถานีส่วนใหญ่จะขอที่ 1000 - 2500 วัตต์ทั้งหมด นอกจากนั้นเอง ความสูงเสาที่เรากำหนดไว้ที่ 60 นะคะ ของมูลนิธิที่ส่งมา และข้อมูลที่เรามีอยู่ในมือนี่ จะอยู่ที่ตั้งแต่ 60 จนถึง 120 ความสูงเสานะคะซึ่งถ้าตามเทคนิคแล้วหรือมาตรฐานเทคนิค เดี๋ยวจะให้เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคบรรยาย
นายแพทย์นิรันดร์ : เอ่อไม่ต้อง เอาตรงที่ไปพบท่านรองปรีดิยาธร มีข้อสรุปมั้ย ถ้ามีก็มี ถ้าไม่มีก็บอกว่าไม่มีนะครับ
(มณีรัตน์กสทช.: ...)
นายแพทย์นิรันดร์ : อันนี้เป็นข้อที่เรามาพิจารณากันแล้วมีกำหนดเวลามั้ยกับท่านรองนายกว่าทั้งหมดจะต้องไปตอบท่านเมื่อไหร่ภายในเท่าไหร่ ไม่ได้กำหนด
คุณมณีรัตน์กสทช: ท่านยังไม่ได้นัดหมายค่ะ
นายแพทย์นิรันดร์ : ยังไม่ได้นัดหมาย วันนั้นเป็นประเด็นที่ท่านรองนายกได้เชิญไปในเรื่องนี้โดยตรงใช่มั้ยฮะ แล้วมีเรื่องอื่นด้วย
คุณมณีรัตน์กสทช:เรื่องนี้โดยตรงค่ะ
นายแพทย์นิรันดร์ : เรื่องหมายถึงเรื่องของคลื่นวิทยุเสียงธรรมนี่นะฮะ
คุณชาญวิทย์ (อนุกรรมการ) :เรียนท่านประธานครับ ต่อเนื่องครับ ผมคิดว่าประเด็นนี้จะมองเพียงแค่ประเด็นเทคนิคเป็นหลักน่าจะไม่ถูกต้องนะครับ ผมคิดว่า เหตุและผลที่พูดกันมา กสทช. ต้องออกนโยบายเรื่องนี้ให้ชัดเจนก่อน ว่านโยบายควรจะเป็นอย่างไร และการแก้ไขปัญหาเทคนิค อาจจะเป็นเรื่องที่มาตอบสนองอีกทีหนึ่ง ผมคิดว่า กสทช. ต้องตอบว่า มีนโยบายกับเรื่องนี้อย่างไรครับ
มณีรัตน์ (กสทช.) : ในเชิงนโยบาย คงต้องขอให้ท่านผู้เป็นผู้รักษานโยบายมาแจ้งตอบ....
คุณชาญวิทย์(อนุกรรมการ) :ขออนุญาตครับท่านประธาน ประการแรกเนี่ย เราต้องการให้คนที่จะตอบคำถามได้มา เอาหละ ไม่เป็นไร คุณนทีไปต่างประเทศ เมื่อพวกท่านมากันแล้วเนี่ย สิ่งที่พวกท่านควรจะทำก็คือว่า ท่านต้องเอาสิ่งที่ท่านฟังจากวันนี้เนี่ย ไปนำเสนอ รวมทั้งทางอนุกรรมการด้วย แล้วก็ให้ทางผู้มีหน้าที่รับผิดชอบท่านตอบมาว่า เรื่องนี้ทางนโยบายจะจัดการอย่างไร นี่เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินะครับตามกฎหมาย
คุณคงพันธ์(อนุกรรมการ): กราบนมัสการพระคุณเจ้าและเรียนท่านประธานครับ ผมคงพันธ์ อนุกรรมการครับ คืออย่างนี้ครับ ผมไม่ทราบว่า ผมเข้าใจผิดเข้าใจถูกอย่างไร เป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนะครับ ฟังการชี้แจ้งอย่างนี้ครับ คือมันมีคลื่นความถี่เก่า ทั้ง AM และ FM ซึ่งเป็นหน่วยราชการของรัฐนะครับ เดิมมีอยู่ประมาณ 5 ร้อยสถานีเศษ แล้วต่อมาก็เกิดสถานีวิทยุชุมชนขึ้นมา ซึ่งใช้กันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่งปี 52 ก็มีกฎหมายฉบับหนึ่งมากำหนดว่า ถ้าชุมชนต้องมีขนาด 500 60 แล้วก็ไม่เกิน 20 กม. ซึ่งตรงนี้เป็นตัวกำหนดสถานีที่และวิธีการ กำหนดขนาดคลื่น ซึ่งแต่ของเดิมเนี่ย มันก็กำหนดไปตามใบอนุญาตหรือสัมปทานก็แล้วแต่กรณี ที่นี้ผมฟังผิดรึเปล่าว่า ของเดิมนี้จะครบกำหนดวันที่ 4 เมษา 58 ให้คืน ให้ครบกำหนด คุณต้องคืนนะ คืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามกฎหมาย 4 เมษา 58 ที่นี้เมื่อคืนมาแล้วเนี่ย ผมขอพูดประเด็นนี้ อยากทราบว่า คลื่นเดิมมันกำลังส่งอะไรมันมาก แล้วก็ทั้งไกลทั้งขนาดความสูงของเสามาก มันเป็นไปได้ไหมครับที่จะเฉลี่ยของเดิมมาให้กลุ่มใหม่ ของเดิมมีห้าร้อยกว่า ซึ่งแน่นอนครับการเฉลี่ยมาเนี่ย กลุ่มใหม่ก็ต้องได้บ้าง หรือไม่ได้บ้าง ใครได้ไม่ได้ค่อยว่ากันทีหลัง ผมอยากถามว่า ตรงนี้เป็นไปได้มั้ยในประเด็นนั้น สมมุติว่า เอาแต่เรื่องเกี่ยวกับศาสนาทุกศาสนา คุณก็เอาตามอัตราส่วนว่า ใครจะได้ตรงไหนอย่างไร เท่าไร ซึ่งตรงนี้ผมอาจจะพูดกระทบถึงความมั่นคงนิดหนึ่ง เท่าที่ทราบของเดิม หน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยทหารเนี่ย เข้าไปควบคุมกำกับดูแลอยู่ หลายร้อยสถานีหรือเกือบทั้งหมด ตรงนี้ถามว่า กสทช. ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมเมื่อขึ้นมาแล้ว เข้าไปกำกับใหม่ ควบคุมใหม่ จะสามารถทำประเด็นนี้ได้ไหม
มณีรัตน์ (กสทช.) :ขออนุญาตตอบนะคะ วันที่ 4 เมษายน เป็นไปตามแผนแม่บทที่เราจะต้องดำเนินการเริ่มเรียกคืนมา แต่การเรียกคืน ระยะเวลาก็คือ กลุ่มที่เค้าจะถือครองได้ จะถือครองสูงสุดไม่เกิน 5 ปี คำว่า 5 ปี ดังนั้นระยะเวลาสิ้นสุดในการที่จะให้คืนคลื่นความถี่ทั้งหมดภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 4 เมษา 55นะคะ 56 57 58 59 60 ปี 60 จะเป็นปีที่สิ้นสุดตามแผนแม่บท แต่ 4 เมษา 58 จะเป็นระยะเวลาการเริ่มเรียกคืนภายหลังจากที่เราตรวจสอบความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ และสัญญาสัมปทานแล้วเสร็จ แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณะชน นี่เป็นประเด็นแรกที่ขอตอบนะคะ ประเด็นที่สองที่ท่านสอบถามว่า มีความเป็นไปได้ไหม ที่จะเอามาเฉลี่ย ต้องเรียนว่า เป็นหน้าที่รู้จักกันมาตั้งหลายปีแล้ว ที่เราต้องเอาคลื่นความถี่ .......
คุณคงพันธ์(อนุกรรมการ): ปีสุดท้ายที่จะเอาคลื่นเก่ามาเข้าตามแผนเนี่ย ปีพ.ศ. เท่าไร
มณีรัตน์ (กสทช.) : 60 ค่ะ
คุณคงพันธ์(อนุกรรมการ): ปี 60 ใช่ไหมครับ
อาจารย์วรศักดิ์ (อนุกรรมการ) : เมื่อกี้ผมฟังจากผู้ร้องนะครับ ไม่ทราบว่าผมจับประเด็นผิดไหม ผู้รัองบอกว่า มีสถานีอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาเค้าทำเกิน ใช่ไหมครับ แล้วทางกสทช. ก็ไม่ทำอะไร นั่นประการที่ 1 ประการที่ 2 เมื่อกี้ผมฟังท่านชี้แจงบอกว่ามีการทดลอง ใช่ไหม แล้วก็ไม่ทราบอะไรอะนะ แล้วก็อยากให้ทดลอง คำถามว่าจะทดลองนานเท่าไร
มณีรัตน์ (กสทช.) :ประเด็นแรกนะคะที่บอกว่าสถานีต่างๆ ที่ดำเนินการเกินกว่ามาตราฐาน ถามว่ามีไหม ตอบว่ามีคะ มีทั้งของศาสนา มีทั้งของภาคประชาชน มีทั้งกลุ่มชุมชน มีหมดเลยค่ะ ถามว่ากสทช. ออกดำเนินการไหม ออกดำเนินการค่ะ.....
อาจารย์วรศักดิ์ (อนุกรรมการ) :เมื่อกี้มีประเด็นหนึ่งแล้วนะฮะ กฎหมายเดิมคือผมอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ผมรู้ว่าเค้าหากินกัน บริษัทหากินกันมายาวนาน 20, 30 ปี ทีนี้เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า กฎหมายเดิมจะต้องลื้อทิ้งไหม ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ปี 40 กติกามันควรจะเป็นยังไง
มณีรัตน์ (กสทช.) : ขออนุญาตตอบว่า ตามรัฐธรรมนูญเอง รับรองสัญญาหรือสิทธิที่มีอยู่เดิม ก่อนที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ ปกติจะมีบทเฉพาะกาลและซึ่งก็มีบทเฉพาะกาลรองรับไว้อยู่แล้วว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตสัญญาหรือสัมปทานให้มีสิทธิในการดำเนินการ คือรัฐธรรมนุญรองรับไว้ด้วยแล้วก็ พรบ.การประกอบกิจการก็รองรับไว้ด้วยค่ะ
อาจารย์วรศักดิ์ (อนุกรรมการ) :ตลอดไป
มณีรัตน์ (กสทช.) : ไม่ค่ะรองรับไว้จนกว่าสัญญาต่างๆ เหล่านั้นจะสิ้นสุดลงค่ะ
นายแพทย์นิรันดร์: เดี๋ยวก่อนนะครับ อยากให้อนุกรรมการซักถามซะก่อน เพราะว่าผมจะต้องเป็นคนเขียนรายงาน หมอนิรันดร์เขียนรายงานคนเดียวไม่ได้นะ อนุต้องช่วยเขียนว่าออกมาเป็นบวกเป็นลบเป็นเหนือเป็นใต้ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวชั้นนี้ขอให้อนุกรรมการซักถามก่อนแล้วเดี๋ยวถ้ายังไง ทางผู้ร้องมีอะไรเพิ่มเติม ผมจะให้แถลงความเห็นเพิ่มเติม
(อนุกรรมการ) :คือประเด็นอีกประเด็นหนึ่งนะครับ ที่ทางผู้ร้องเนี่ยเค้ามาบอกว่า เค้าส่งคลื่นความถี่ออกอากาศไม่ได้รบกวนวิทยุการบินเลย เค้าพิสูจน์ได้ ตรงนี้ผมเห็นเอกสารที่คุณส่งมาเป็นเอกสารที่วิทยุการบินเค้าพูด เราจะตรวจสอบได้ยังไงว่ามันจริง หรือไม่จริง เพราะทางนูนเค้าบอกว่า เค้าเคยทดลองมาแล้ว ว่ามันไม่จริง ไม่ทำให้ไปลบกวนอะไรเลย อย่างนี้เราจะตรวจสอบได้ยังไง หรือคุณจะมีอะไรให้เป็นเอกสารที่เป็นตารางออกมาให้เราดู
มณีรัตน์ (กสทช.) : ขออนุญาตนำเรียนท่านคณะกรรมการค่ะว่า 1 การรบกวนวิทยุการบินจะบอกว่า สถานี ก ถึง ฮ. ไปรอบกวนวิทยุการบินเป็นรายสถานี แล้วพิสูจน์เป็นรายสถานีได้ไหม ซึ่งก็ต้องไปใช้ระยะเวลาในการพิสูจน์ แต่สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องมองก็คือ วันนี้เอง กสทช. ต้องมองภาพรวมค่ะ ภาพรวมที่มองไว้ก็คือว่า ถ้าทุกสถานีหรือสถานีส่วนใหญ่ไปใช้กำลังส่งที่ต่างคนต่างใช้ แล้วมันเกินกว่าค่ามาตรฐานที่จะก่อให้เกิดการรบกวนคลื่นความถี่ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องมาดูในเรื่องของมาตราฐาน ฉะนั้นเราจึงมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตราฐาน ดังนั้นต้องบอกว่า สมมุติว่า 10 สถานีใช้แค่ 500 วัตต์ แล้วอีก 3 สถานีมาใช้ 10 กิโลวัตต์ 10 กิโลวัตต์นี้ไปเบียด 5 สถานีนี้ แล้วมีความเป็นไปได้ที่ 5 สถานีนี้ต้องหนี หนีแล้วก็หลีกแล้วก็ไปออกกำลังส่ง หรือว่าอัดกำลังส่งเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะให้ได้ออกอากาศ มันก็เกิดปัญหานี้ค่ะขึ้นในประเทศไทย นี่คือสิ่งที่เกิดปัญหาขึ้นในประเทศไทย ที่กสทช.มองอยู่ก็คือว่า กำลังส่งอดีตที่ผ่านมาคือว่า ต่างคนต่างพยายามที่จะ ขอพูดภาษาชาวบ้านนะคะ อัดกำลังส่งให้สูง เพื่อที่จะทำให้กลุ่มผู้รับฟังสามารถรับฟังได้ชัดเจนยิ่งขึ้น......
(อนุกรรมการกล่าว:
)
มณีรัตน์ (กสทช.) :คืออย่างนี้คะ
นายแพทย์นิรันดร์:เอาข้อมูลเทคนิคดีไหม น้องเป็นฝ่ายกฎหมาย เอาช่างนี่แหละพูด เอ้า
ทนงศักดิ์ (กสทช.) : ผมขออนุญาตนะครับ ผมนายทนงศักดิ์ สุขะนินทร์ ผมเป็นผู้อำนวยการสำนักมาตราฐานวิศวกรรมในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์นะครับ การรบกวนของวิทยุการบินนะครับ จะมีทั้งหมด 2-3 รูปแบบที่เห็นอย่างชัดเจน รูปแบบที่ 1 ก็คือว่า สถานีตัวเค้าเองมีการเกิดฮาร์มอนิกของตัวเอง ฟุ้งไปโดนที่ความถี่ของวิทยุการบิน หมายถึงว่า ความถี่ของเค้าเองจะมีความถี่ทวีคูณของเค้า ที่เครื่องเค้าเอง ถ้าเกิดไม่ได้มีอย่างที่ทางท่านด้านหลังเค้าบอกว่า มีฟิวเตอร์หรือมีอุปกรณ์ที่กรองเอาไว้ กันเอาไว้อย่างดีเนี่ย มันก็จะไปกวนตรงนั้น อันนี้เรื่องที่ 1 นะครับ เรื่องที่ 2 ก็คือ เกิดในลักษณะเค้าเรียกว่า ความถี่ผสมกันกับสถานีข้างเคียงให้เกิดความถี่ใหม่ ไปอยู่ในความถี่ที่ตรงกับของวิทยุการบินเลย อันนั้นเค้าเรียกว่า อินเตอร์มอดูเลชัน อันนี้ก็จะเป็นความถี่อันหนึ่งที่เกิด อันที่ 3 ที่เกิดการรบกวนก็คือ สายอากาศที่ท่านเห็นอย่างที่เสาส่งสูงๆ จริงๆ แล้วเนี่ย ถ้าเสาส่งสูงประมาณสัก 60 เมตร เราจะมีคนที่ไปปีน ที่ดูแลเนี่ย ก็ในระดับหนึ่ง 80 เมตร ก็จะต้องมีคนที่ปีนอีกระดับหนึ่ง 100 เมตรก็จะมีคนที่ปีนอีกระดับหนึ่งแล้วคนที่ปีนพวกนี้เป็นช่าง สายอากาศหรือหลายๆ คนเรียกว่า เบย์ ต้องมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอยิ่งสูงๆ มากๆ เนี่ย อย่างที่เปิดสถานีกันต่อไป ตอนที่เกิดขึ้นมา เวลาเปิดขึ้นมาครั้งแรกๆ เนี่ยเบย์เวลาน้ำเข้า หรือไม่ได้ดูแลเป็นอย่างดี หรือว่ามันมีอายุไข เส้นสายมันไม่ดี มันก็จะเกิดความถี่ที่เป็นความถี่แปลกปลอมเกินกว่าความถี่ของตนเองออกมา และความถี่เหล่านี้ก็ไปรบกวนของวิทยุการบิน อันนี้คือในส่วนที่เกิดใน 3 เรื่องนี้เป็นหลักครับผม อันนี้เป็นงานทางวิชาการเลยครับ
หมอนิรันดร์(ประธาน) : เราเข้าใจ ผมฟังมาตั้งแต่เป็นสว.แล้ว 10 ปีแล้วมั้ง แต่ในความเป็นจริงเราเคยไปดูไหม ไปวัดความเป็นจริงไหม อันนี้คือวิชาการ แต่ความเป็นจริงที่บอกว่า สมมุติว่า คลื่นที่อุดร คลื่นที่เมืองนนฯ มันรบกวน เราไปตรวจวัดกันเลย เรามีการตรวจวัดในตัวสถานีจริงๆ ที่ไปรบกวน มีตัวเลขตรงนี้ มีข้อมูลออกมามั้ยมีมั้ยฮะ เอาของจริงอ่ะ งานทางวิชาการเข้าใจแล้วล่ะ
ทนงศักดิ์ (กสทช.) :ในส่วนตรงนี้ ณ วันนี้นะครับ รถตรวจของเขตเค้าไปตรวจวัดแล้วเค้าก็จะมีตัวกราฟออกมาว่า มันมีการรบกวน เรื่องที่ 1 เรื่องที่ 2 นี่ก็คือ เราเคยมีเทปที่เราจับได้ว่า มาจากทางสถานีในขณะที่บินเครื่องบินอยู่ เราก็จะมีในหลักฐานเหล่านี้ซึ่งก็เคยนำไปแสดงในศาลอยู่
นายแพทย์นิรันดร์ : เอามาหรือป่าวเตรียมมาหรือป่าว ถ้าไม่มีถ้างั้นส่งหลักฐานมาให้ผมดีกว่า ผมตอนเป็นสว.ก็ตรวจสอบเรื่องนี้ แต่ยังไม่เคยได้รับหลักฐาน แต่ผมก็ไม่ได้ว่าท่านไม่มีนะ เพราะมันตั้งเกือบ 10 ปีแล้ว ท่านกลับไปดูแล้วกัน ถ้าท่านมีหลักฐานในเรื่องของการวัดของจริงในสถานีที่มีการระบุว่าเป็นการรบกวนของวิทยุชุมชนนะ ที่อุบล ที่ยโสธร ที่อำนาจเจริญอีสานนี่นะ ท่านส่งข้อมูลมาให้ผมหน่อยนะ ฝากส่งมานะ เอาตัวจริงเลยนะที่มีการวัดนะ ...เดี๋ยวๆก่อนนะ เอ่อ พระคุณท่านเดี๋ยวๆ สักครู่หนึ่งเดี๋ยว
ทนงศักดิ์ (กสทช.) : หลายๆ ส่วนในหลักฐานตรงนี้เป็นของวิทยุการบินนะครับ อันนี้จะต้องไปประสานวิทยุการบิน
นายแพทย์นิรันดร์ : เอาที่มีการตรวจวัดพิสูจน์ เอางี้นะ เที่ยงวันนะส่งมา
แสงชัย (อนุกรรมการ) : คือผมคิดว่าประเด็นที่คุณชาญวิทย์เสนอมาเมื่อสักครู่นี้ เป็นเรื่องสำคัญนะครับ คือความมุ่งหมายของการที่จะไปกำหนด กิจการอย่างวิทยุชุมชนให้มีรัศมี 20 กิโลเมตร มันน่าจะเป็นการกำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของกิจการที่มีไว้สำหรับชุมชนเฉพาะเขตพื้นที่ แต่ถ้าเป็นกิจการสำหรับงานพระพุทธศาสนาอะไรอย่างนี้เนี่ย ผมคิดว่า ความหมายของการสื่อสารในที่นี้คงไม่ได้มีขอบเขตแต่เฉพาะพื้นที่ จังหวัด ตำบล อำเภอ อะไรอย่างนั้นอย่างเดียว แต่ว่ามันจะแพร่ขยายไปสำหรับกลุ่มพุทธศาสนิกชนที่ประสงค์จะมีการสื่อสารและก็ได้รับข้อมูล ได้รับข้อเท็จจริง ได้รับพระธรรมเทศนาจากบรรดาพระภิกษุสงฆ์ที่มีคุณค่าอย่างนี้เนี่ย ซึ่งเครือข่ายของผู้ที่ต้องใช้ประโยชน์ ย่อมเห็นได้ว่า มันกว้างขวางมากกว่าพื้นที่ตามข้อจำกัดตรงนี้ ข้อนี้ผมเชื่อว่ามีหลายท่านเค้าเคยนำเสนอว่า เอาหละมันมีความจำเป็นในการที่จะดูแลภาพรวมอย่างที่ผู้แทนกสทช. ท่านชี้แจงในเรื่องการควบคุมความถี่ แต่ว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว กิจการแต่ละชนิดมันก็มีผลประโยชน์ของการใช้คลื่นความถี่ที่ต่างกัน แล้วทำไมกรณีที่เป็นประโยชน์สาธารณะที่ครอบคลุมกว้างไกลมากกว่าพื้นที่ 20 กิโลเมตร กสทช. ไม่ดำเนินการจัดให้มีระเบียบเฉพาะ หรือไปแก้กฎหมายลูกโดยเฉพาะ ให้มีเงื่อนไขพิเศษสำหรับกิจการประเภทนี้นะฮะ ซึ่งก็ไปดูความเหมาะสมทางเทคนิคกันภายหลัง แต่เนื่องจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้เราจะเห็นนะครับว่าวิทยุเค้าทำมาก่อนที่จะมีประกาศกสทช. นี้ด้วยซ้ำไป ก็วัดกันตรงนั้นครับว่า ผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้คลื่นความถี่ที่มีต่อสังคม ต่อประชาชนของสถานีพุทธศาสนาเหล่านั้นเนี่ย มันสมควรที่จะช่วยสนับสนุนโดยหน่วยงานส่วนหนึ่งของภาครัฐที่ดูแลคลื่นความถี่หรือไม่อย่างไร ถ้าสมควร ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องไปมีระเบียบตรงนี้โดยเฉพาะ แล้วเรื่องเทคนิคค่อยมาว่ากันทีหลัง มิหนำซ้ำที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่น่าจะใช้เทคนิคในมาตราฐานเดียวกันกับวิทยุประจำหมู่บ้าน ประจำชุมชนที่เค้าใช้กันอยู่
นายแพทย์นิรันดร์ : เอางี้ ลองตั้งคำถามว่า พวกเราเป็นฝ่ายปฏิบัติ สำนักงานการประชุมที่ส่งมาเนี่ย เคยมีฝ่ายนโยบายตั้งข้อหารือในการประชุมฝ่ายสำนักงานเรื่องการที่จะมาขยายขอบเขตของการที่ทำให้การสื่อสารในศาสนาหรือว่าศาสนาพุทธที่มีปัญหาในขณะนี้ เพราะผมคิดว่าเป็นปัญหาทางโครงสร้างนะ มันไม่ใช่ปัญหาตัวบุคคลหรอก คือผมคิดว่า ทางกสทช. ก็ไม่ได้ชั่วร้ายอะไรหรือว่าทางศาสนาพุทธก็ไม่ได้เห็นแก่ตัวอะไร คือท่านก็ต้องการประโยชน์สาธารณะ เราก็ทำตามบทบาทองค์กรแต่ว่าประเด็นตรงนี้ ฝ่ายนโยบายได้เคยหารือเรื่องนี้มั้ย เอาถามปัญหาอย่างนี้ดีกว่า เคยหารือมั้ย
มณีรัตน์ กสทช.ตอบ:คือต้องนำเรียนบอกว่า ที่ผ่านมา....
นายแพทย์นิรันดร์ : เนี่ยคือสิ่งที่ผมต้องการเชิญคุณนทีมาไง แต่เผอิญท่านไปนอก เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่พวกเรา คือการคุยในเชิงนโยบาย ก็ต้องรู้ว่า เวลาเรามองปัญหาอะไร อย่าไปคิดแต่ว่า เดี๋ยวกลุ่มนี้ได้ เดี๋ยวกลุ่มอื่นจะมาร้องอีก เรื่องสิทธิไม่ใช่เป็นเรื่องการอ้าง เรื่องสิทธิคือต้องดูในเรื่องสิ่งที่เป็นความถูกต้องและประโยชน์ที่เฉพาะที่เราต้องการ เรื่องสิทธิไม่ใช่ประเด็นที่ติดแค่กฎหมาย อันนี้ฝ่ายของเรานะ ในฐานะกรรมการสิทธิ์อยากจะย้ำน้องที่เป็นนักกฎหมาย สิทธิ์ไม่ได้ติดที่กฎหมาย สิทธิเราเน้นในเรื่องความถูกต้อง คุณธรรม จริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต อันนี้เป็นหลักนะฮะ ไม่ใช่หลักของหมอนิรันดร์นะ หลักของท่านอาจารย์ปรีดีนะครับ ปรมาจารย์ของกฎหมายมหาชนนะฮะ ท่านบอกประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เนี่ย ยึดหลักกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องยึดหลักคุณธรรม ต้องยึดหลักคุณธรรมคือความถูกต้อง ยึดหลักในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต เพราะฉะนั้นประเด็นอย่างนี้จึงต้องคุยกันมากกว่าเรื่องทางกฎหมายและหลักเกณฑ์ไง ซึ่งตรงนี้พวกเรามันคุยไม่ได้ เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติ ผมเข้าใจไง แต่ตรงนี้ต้องคุย ประเด็นที่ 2 ถ้าจะมาอ้างเรื่องสิทธิเนี่ย เดี๋ยวคนอื่นจะมาเนี่ย ไม่มีปัญหาอะไรเลย ไอ้ที่มันไม่โตอย่างนี้เพราะเราไปกลัวว่า พอทำกลุ่มนี้แล้วกลุ่มอื่นจะมา ไม่ใช่ ไอ้กลุ่มอื่นที่มา มันทำแบบอย่างนี้สิ มันไม่มีปัญหา แต่กลุ่มอื่นที่มาอ้างไม่ได้ทำแบบอย่างนี้นิ มาโฆษณาชวนเชื่อ มาปลุกระดมอย่างนี้สิ อย่างนี้ต้องปิดตั้งแต่ไก่โห่เลย คือผมเนี่ย เป็นคนที่ทำวิทยุชุมชนมาตั้งแต่ปี 40 นะครับ ร่วมกับคุณสุภิญญานี่แหละ รู้ดีนะวิทยุชุมชนที่มันระเบิดเทิดเทิงตั้ง 6 พัน 7 พันคลื่น ไปดูแล้วจริงๆ เป็นวิทยุการเมือง เอาไว้ปลุกระดม โดยเฉพาะสิบกว่าปีนี้ที่ทะเลาะกันเนี่ยเพราะวิทยุชุมชน นักการเมืองทุกคนเนี่ย มีวิทยุชุมชนหมดเลย แต่ไม่มีวิทยุชุมชนโดยตามวัตถุประสงค์ของวิทยุชุมชน ก็คือ เป็นวิทยุชุมชนที่ต้องการประโยชน์สาธารณะของชุมชน แต่ต้องการโฆษณาชวนเชื่อ แล้วพอทะเลาะกันก็เอาวิทยุชุมชนเป็นปากกระบอกเสียงของตัวเอง อันนี้น้องถ้าใครเป็นคนอยู่ต่างจังหวัด ใครอยู่ต่างจังหวัดฮะ คิดว่า ผมโกหกมั้ยไม่อะครับ เพราะผมถูกมันด่าทุกวัน ตอนนี้ก็ยังด่าอยู่ อันที่ 2 คือ เป็นวิทยุธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่วิทยุชุมชนเลย งั้น6 พัน 7 พันสถานี คุณไปตัดออกได้เลย บี้ปิดมันเลยเนี่ย ผมเชื่อเลย แต่คุณต้องไปเจอกับนักการเมือง ไปเจอกับนักธุรกิจ เพราะนักธุรกิจโฆษณายาอะไรต่างๆ เนี่ย โฆษณาเพลงเนี่ย มันก็ไปยึดวิทยุชุมชนหมด ทำให้วิทยุชุมชนตัวจริงมันมีปัญหา ตรงนี้คือสิ่งที่อย่าไปกลัวข้ออ้าง อันนี้คือความจริงที่ผมอยากจะต้องคุยกับคุณนที ในฐานะที่ทำงานเรื่องวิทยุชุมชนภาคประชาชนมาตลอด รู้ว่าเวลามีปัญหาแบบนี้ เราอย่าเอาคนที่ไม่ดี ที่มันจะมาอ้างเนี่ยมาเป็นตัวที่ทำให้เราไม่สามารถทำอะไรในสิ่งที่ดีๆ ได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ข้อมูลความเป็นจริงที่ผมอยากจะคุยหารือ ไม่เป็นไร คุณนทีวันนี้ไม่มา เดี๋ยวกลับมาเนี่ย ผมต้องโทรไปนัดคุยให้ได้ เพราะเรื่องนี้มันต้องเจอ ไม่ใช่คุยกันด้วยกฎหมาย ศาลตัดสินไม่ได้หรอก ศาลก็ต้องไกล่เกลี่ย ใช่มั้ยนักกฎหมาย ศาลก็ต้องไกล่เกลี่ย เมื่อไกล่เกลี่ยก็ต้องคุยกันว่าจะหาแนวทางยังไง
เพราะฉะนั้นประเด็นเหล่านี้เนี่ย วิทยุชุมชนเนี่ย ผมไปดูงานที่ออสเตรเลียมาแล้ว วิทยุชุมชนไม่ใช่แค่รัศมี 15 กม.นะ ผมไปดูตอนเป็นสว. เมื่อปี 44, 45 เค้ายิงขึ้นดาวเทียมจากออสเตรียเลียภาคตะวันตก มาภาคตะวันออกเลยครับ อาศัยเทคโนโลยี เพียงแต่ว่า ท่านต้องบอกว่า ต้องรอปี 60 ที่นี้ 60เนี่ยคนที่เค้าทำดีเนี่ย และทำมาแล้วเนี่ย ทำมาแล้ว แต่ไปปนกับไอ้พวกเกลวลาก พวกอนาธิปไตย ตรงนี้ขณะนี้ผมคิดว่า เรื่องด่วนคือ กสทช. ต้องกรอง ไอ้สิ่งที่ไม่ดีออกไปก่อน แล้วสิ่งที่ดีเนี่ย สิ่งที่ถูกต้องเนี่ย ต้องมาส่งเสริม ไม่งั้นแล้วเนี่ย มันจะเกิดการหยุดชะงักไงครับ เพราะฉะนั้นเนี่ย ถ้าอาศัยแค่วิทยุชุมชน อาศัยเทคนิคเรื่องเกี่ยวกับของเราเนี่ย ในขณะเมื่อ 10 ปีที่แล้วมันยังสามารถ ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีปได้เลย หรือว่าจริงๆ เนี่ย ของศาสนาไม่ใช่แค่เพียงวิทยุชุมชนกระจอกกระจอก แต่ต้องเป็นวิทยุสาธารณะ แต่ต้องเป็นวิทยุสาธารณะ ก็ต้องมาคิดเรื่องคลื่นความถี่ที่ทำให้กว้างไกลมากกว่านี้ เราไปทำให้เค้าเนี่ย เป็นเด็กแคระมันไม่ใช่ แต่ศาสนาเป็นเรื่องอะไรที่ใหญ่โต ซึ่งเราก็รู้ ไม่ใช่แค่ศาสนาพุทธนะครับ มันเป็นไปไม่ได้ ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องด่วน ไม่งั้นจะทำให้เกิดความโกลาหลกันภายใต้สิ่งที่มันมีความไม่ถูกต้อง ทำยังไงถึงจะทำให้ คือผมรู้ว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นในศาลใช่มั้ยฮะ กรรมการสิทธิก็มีกฎหมายมาตรา 22 ว่า ไปก้าวก่ายมิได้ แต่ผมเห็นว่า ประเด็นเหล่านี้แก้ปัญหาด้วยศาลหรือกฎหมายไม่ได้ ไม่ใช่ว่าท่านไม่เก่ง แต่มันต้องแก้ไขด้วยการมาพูดคุยกัน หรือทำความเข้าใจกันแล้วหาแนวทาง เพราะมันไม่ใช่เรื่องของคน ว่าคนนี้ผิด คนนี้ดี คนนี้ถูก คนนี้ไม่ดี แต่เป็นเรื่องโครงสร้างการจัดการที่เราเองก็ไปติดที่ว่า ต้องทำให้เกิดความเสมอภาค เดี๋ยวถูกล่าวหา ต้องทำตามกฎหมาย นี้แหละฮะคือสิ่งที่ ท่านเองถึงต้องมาหาผม ที่เป็นกรรมการสิทธิ และผมเป็นกรรมการสิทธิที่ทำงานเรื่องของวิทยุชุมชนมาตลอด 10 กว่าปีนะฮะ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40 มา เพราะฉะนั้นผมเข้าใจดี เราก็ต้องแก้ปัญหาโดยสอดคล้องกับความเป็นจริง นะฮะ เดี๋ยวผมจะสรุป และเดี๋ยวผมต้องฝากข้อสรุปนี้ไปเสนอท่านเลขาธิการ แล้วท่านนทีกลับมาแล้วเนี่ย ผมจะโทรศัพท์ไปประสานในการพูดคุยกัน เพราะเรื่องนี้เพียงแต่ว่า ต้องมีเวลาในการสะสาง แล้วท่านเองก็เยอะ เรื่องช่อง 3 ก็ มากมายแล้ว ซึ่งผมดูแล้ว ผมก็รู้สึกว่า ไอ้แค่เรื่องธุรกิจแค่นี้ทำไมมันใช้เวลาท่านตั้งเยอะแยะ แต่เรื่องศาสนาที่มันเป็นประโยชน์มากกว่าเรื่องช่อง 3เนี่ย ไอ้ตรงนี้มันเลยทำให้คนเค้าน้อยใจนะ นึกออกไหม นึกออกนะฮะ
อ.วรเดช :เรียนท่านประธานฮะ ขอ 2 นาที ให้ข้อมูล
หมอนิรันดร์(ประธาน) : ไม่ได้ครับ ต้องพระอาจารย์ก่อน ให้หลวงพ่อก่อน หลวงพ่อยกมือ ตะกี้ผมไปปิดกั้นท่านขอเป็นพระอาจารย์หลวงพ่อก่อนนะ ท่านมีอะไร ที่ฟังแล้ว และคิดว่า ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ซึ่งเดี๋ยวผมจะสรุปนะครับ ว่าเรื่องนี้จะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไรนะครับ ที่ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมายหรือศาล ท่านอาจารย์มีอะไรจะเพิ่มเติมหรือมีข้อคิดเห็นที่คิดว่าข้อมูลไม่ตรงกันตรงไหน เดี๋ยวเชิญพระอาจารย์ก่อนนะฮะแล้วเดี๋ยวค่อยฆราวาสนะครับ เชิญฮะ
พระปลัดบุญร่วม : ขอเจริญพรท่านประธาน อาตมาพระปลัดบุญร่วม บุญมโน (ประธานอำนวยการสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล) ซึ่งก็เป็นหน่วยงานราชการ เนื่องจากคณะกสทช.นี่แหละบอกว่า หน่วยงานราชการไม่อนุญาตในการขอคลื่น ในรัฐธรรมนูญ 40 ตอนนู้น โดยเหตุนี้แหละ พลตำรวจโทอุดม เจริญ ก็เลยให้อาตมาได้ จะทำอย่างไรให้มีสถานีวิทยุ ก็เลยมาตั้งเป็นมูลนิธิ เพื่อขอในนามมูลนิธิ....
นายแพทย์นิรันดร์ : อยากให้พูดข้อมูลที่แตกต่าง ไม่ใช่โต้ตอบกันนะฮะ แต่เป็นข้อมูลที่จะมีข้อเสนอในการทำงาน
พระ.... : เจริญพร คือจากที่ได้ฟังมาทั้งหมด คิดว่าประเด็นเราควรจะสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ซึ่งเมื่อกี้นี้ทางท่านอนุกรรมการเนี่ย ก็ได้ ผมคิดว่าเข้าใจแล้วหละฮะ แต่ว่าก็อยากจะสรุปชัดๆ ว่า จริงๆแล้วมันก็เป็นเรื่องของโครงสร้าง....
(พระจากมูลนิธิเสียงธรรม กล่าว: ...)
นายแพทย์นิรันดร์: เจ้าหน้าที่ช่วยขอข้อมูลรายละเอียดของพระอาจารย์ที่เป็นของธรรมศาสตร์ใช่ไหมครับกับสุรนารีแล้วก็เจตนารมณ์ตรงนี้ด้วย แล้วก็เดี๋ยวไปขอรายละเอียดอีกทีคุณอมรรัตน์ครับ ปุ๊กอยู่ไหนปุ๊ก ไปไหนอะ ไปขอเอาไว้นะ ว่ามันอยู่ในไหน จะได้มาประกอบในเรื่องการเขียนรายงาน มีฆราวาสคงต้องเร็วแล้วนะฮะ คุณวรเดช....
(อ.วรเดช กล่าว: ...)
นายแพทย์นิรันดร์ : : คือที่นัดไม่ได้เนี่ย มันไม่ได้เป็นความผิดของผม อันที่ 2 ถึงนัดไม่ได้ ผมก็ยังยืนยันที่จะต้องจัดประชุม เพราะว่าน้องๆ เหล่านี้ก็มาให้ข้อเท็จจริงได้ ผมจะได้สรุปได้ว่า ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายปฏิบัติ ปัญหามันอยู่ที่ฝ่ายนโยบาย ผมจะได้สรุปและรับฟังจากพระอาจารย์ หลวงพ่อและก็อาจารย์วรเดชด้วย ถ้าไม่จัดวันนี้ผมจะฟังอาจารย์วรเดชได้ยังไงหละ... คือทำอะไรไม่ต้องรีบร้อนหรอกครับ มันต้องมีเวลาในการทำงาน เรื่องมันยาก เรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน....
(อ.วรเดช กล่าวต่อ : ...)
(คุณวุฒิสาร จากสมาคมฯ: ...)
พระปลัดบุญร่วม : ขอ 1 นาที....
หมอนิรันดร์(ประธาน) : ก็กราบขอบพระคุณหลวงพ่อ พระอาจารย์แล้วก็ศิษยานุศิษย์ที่มาให้ข้อเท็จจริงรวมทั้งน้องๆ จากสำนักงาน กสทช. ก็อยากให้กำลังใจว่า พวกเราไม่ได้เป็นจำเลยอะไรหรอกนะ วันนี้เป็นเรื่องของการที่ผมอยากให้พวกเรามาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่ออนุกรรมการ ซึ่งเรียนตรงๆ ว่า เรื่องโจทย์วิทยุชุมชนในบ้านเรา มีปัญหาซับซ้อนเยอะ ผมก็เห็นใจคุณนทีว่า การแก้ไขปัญหานี้ เราจะมองแค่ชั้นเดียวแก้ไขไม่ได้ เพราะว่าวิทยุชุมชนเนี่ยเป็นสิ่งที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นในสังคมไทยแล้วก็ถูกครูพักลักจำ ทำให้เกิดเป็นลักษณะที่มีทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้องนะครับ ในทางศาสนาพุทธเนี่ย ยืนยันว่า การขยายตัวของวิทยุชุมชนเนี่ย เป็นการขยายตัวโดยภาคประชาชนและศิษยานุศิษย์ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการมุ่งประโยชน์สาธารณะที่ถูกต้อง แต่เราก็รู้ดีว่า สถานีวิทยุชุมชนนั้นเนี่ย มีส่วนที่เป็นสีเทาหรือสีดำอยู่เยอะมาก ที่เป็นปัญหาทั้งในทางการเมือง ทั้งเป็นปัญหาในเรื่องของความเป็นอยู่ หลอกลวงประชาชนมาก็เยอะ เพราะฉะนั้นการจัดการตรงนี้เนี่ย จะมองมิติแค่เรื่องเอากฎหมายและเทคนิคมาจัดการไม่ได้ วันนี้ผมถึงเรียนตรงๆ ว่า ไม่ได้คิดที่จะตรวจสอบหรือจับผิดทาง กสทช. เพราะว่าถ้าเรามองอย่างนั้นเนี่ย เราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายระบบโครงสร้างได้ เพราะมันไม่ได้ผิดที่ตัวบุคคล แต่ผิดที่เราจะต้องทำให้ตัวบุคคลนั้นเข้าใจในปัญหาเชิงนโยบายหรือระบบโครงสร้างที่ถูกต้องนะครับ
อันนั้นเป็นประการแรกที่ผมอยากจะย้ำกับน้องๆ ทุกคนได้เข้าใจ เพราะฉะนั้นวันนี้เนี่ย โดยจริงๆ อำนาจหน้าที่กรรมการสิทธิไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายในการตรวจสอบ เพราะมันเข้าข่ายมาตรา 22 แล้ว แต่เป็นประเด็นที่ผมเองในฐานะกรรมการสิทธิคิดว่า ควรจะใช้มุมมองในเรื่องหลักการสิทธิมนุษยชน ที่มองอะไรมากว่ากฎหมาย ในการที่จะเป็นคนกลางในการเข้าไปไกล่เกลี่ย หาทางจัดการในเรื่องของการแก้ไขปัญหานี้ พูดกันภาษาชาวบ้านก็คือเป็นเรื่องดีในบ้านเมืองที่ต้องช่วยกันแก้ไข ถ้าคนดีไม่คุยกัน บ้านเมืองก็คงพังครับ เพราะฉะนั้นถ้าคนดียังมาตั้งป้อมแล้วด่ากัน ทะเลาะกัน สงสัยมันไม่รอดอะครับ สังคมไทยคงไม่เหลืออะไรเลย อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ผมอยากจะฝากน้องๆ ไปบอกกับท่านนทีด้วยว่ายังไงกลับมาจากต่างประเทศแล้ว เดี๋ยวผมจะโทรศัพท์ไปติดต่อพูดคุยกัน
ประการที่ 2 หลักการในการที่จะแก้ไขปัญหานี้ก็อยากจะบอกให้น้องๆ แล้วก็ศิษยานุศิษย์ได้รับทราบ หลวงพ่อหรือท่านอาจารย์ก็ทราบดีแล้ว
ประการแรกคือ อย่าไปมองติดยึดในเรื่องของเทคนิค กฎหมายก็เป็นเทคนิคบรรดานักกฎหมายเนี่ย อาจจะมองว่า ขณะนี้บ้านเมืองเราปกครองด้วยกฎหมาย แต่จริงๆ กฎหมายเนี่ย ปกครองอย่างเดียวไม่เพียงพอ กฎหมายยังต้องมีเรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม ก็คือหลักนิติรัฐนิติธรรม Rule of law ซึ่งหลักนิติรัฐนิติธรรมเนี่ย ถ้าไปดูในตำรากฎหมายก็ต้องประกอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชน เพราะหลักสิทธิมนุษยชนเป็นหลักที่ทำให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชน คือหลักคุณธรรมศีลธรรมในศาสนาพุทธนั่นเองครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้คือสิ่งที่อยากให้เข้าใจว่า อย่างมองเรื่องเทคนิคอย่างเดียว ผมมีตัวอย่างเมื่อเร็วๆนี้ ประมาณเดือนหนึ่งที่ผ่านมา ผมไปสัมมนากับกสทช. หมอประวิทย์ ลี่สถาพร ว่ามีชาวบ้านมาร้องผมประมาณร่วม 10 รายในช่วง 5 ปีนี้ว่า ได้ผลกระทบต่อเรื่องการตั้งเสาในเรื่องรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณมือถือ ทั่วประเทศร้องมาว่า กลัวว่าจะได้รับผลกระทบต่อสัญญาณตรงนั้นเนี่ย กระทบต่อเรื่องสุขภาพ การเจ็บป่วย ในเรื่องของอัตราส่วนที่เป็นโรคมะเร็ง แล้วก็มีผลงานวิจัยโดยท่านอาจารย์ดร.สุเมธTDRI ได้รวบรวม แต่ปรากฏว่า ทางกสทช.ไปวัดที่คลื่นแล้วก็บอกว่า คลื่นไม่เกินค่ามาตรฐาน คือปกติ วัดแล้วมันปกติ แต่ว่าเรื่องที่ร้องเรียนมาและเหตุผลทางวิชาการเนี่ยมันขัดกัน ผมก็โทรไปหาหมอประวิทย์บอกว่า เก็บไว้อย่างนี้ไม่ได้หรอกครับ เพราะความเป็นจริงทางสังคมคือว่า มันมีคนที่เค้าเจ็บป่วยและมีผลกระทบจริงๆ มีหลักฐานทางวิชาการ ภาษาทางการแพทย์เค้าเรียกว่ามันเป็นcontroversialเพราะฉะนั้นเนี่ย คุณจะบอกเทคนิคว่า วัดแล้วไม่มีปัญหา มันไม่ได้ มันจะต้องเอาเรื่องมิติทางสังคมเข้ามาจับ ผมก็ดีใจที่หมอประวิทย์และคุณสุภิญญาจัดสัมมนาเวทีสาธารณะขึ้นที่โรงแรมมิลาเคิล ก็ไปให้ข้อมูลข้อเท็จจริง แล้วก็พยายามที่จะเสนอกสทช.ว่า ประกาศหรือหลักเกณฑ์กสทช.ต้องมีการปรับปรุง ตรงนี้ก็เป็นตัวอย่างที่อยากให้เห็นว่า เวลาแก้ไขปัญหาตรงนี้นี่ เทคนิคจะต้องเอาไว้ที่หลัง ต้องมองปัญหาทางสังคมและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเป็นตัวหลัก แล้วเราก็ปรับเทคนิคทางกฎหมาย ประกาศหลักเกณฑ์หรือว่าเรื่องของทางวิศวกรรมเข้าไป ในเรื่องของการจัดการ อย่างที่ผมบอกว่า วิทยุชุมชนตัวมันเองสามารถขยายเครือข่ายในการส่งกระจายเสียงได้ โดยที่ไม่มีปัญหาการรบกวนคลื่นสัญญาณ ในทางเทคนิคทำได้ ต่างประเทศก็ทำได้ ไม่จำเป็นจะต้องปรับว่า ไม่ใช่วิทยุชุมชน หรือในทางศาสนานั้น จริงๆ ต้องอยู่ในส่วนของวิทยุสาธารณะ แต่เราเห็นวิทยุสาธารณะขณะนี้มันกลายเป็นวิทยุของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเรายังไม่เรียกเก็บมา แต่ศาสนาไม่เคยถูกถือว่าเป็นสัดส่วนของสาธารณะ ซึ่งได้รับการคุ้มครองและสนับสนุน ตรงนี้ต่างหากที่กสทช. ก็ต้องคิดว่า เออจะเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนกิจการทางสื่อสารของศาสนาพุทธอย่างไรบ้าง เพราะขณะนี้เนี่ยเราก็รู้ว่าสังคมไทยเรียกร้องในเรื่องหลักคุณธรรม ศีลธรรม เห็นไหมครับว่า ประเพณีกินเจวันนี้เกือบทุกจังหวัดคนจะกินเจกัน เพราะอะไรครับ เพราะคนไทยขณะนี้มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง มีปัญหาเรื่องความรุนแรงเยอะ ก็จะน้อมนำเข้ามาหาเรื่องของศาสนา แต่การน้อมนำที่ถูกต้องก็คือ ต้องเข้ามาในเรื่องของหลักธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้อง ซึ่งพระอาจารย์หลายท่านเรามีตรงนี้อยู่ และถ้าสามารถมีเครือข่ายวิทยุเนี่ยเข้าไปกระจาย เป็นการช่วยลดภาระทำให้คนมีความรัก มีความสามัคคีต่อกัน บ้านเมืองเราที่มีความขัดแย้งความรุนแรง มันก็จะได้ลดลง ผมคิดว่า ถ้าเข้าใจตรงนี้ตรงกัน เรื่องเทคนิค เรื่องการจัดวิทยุชุมชนและขยายเครือข่ายหรือจัดในส่วนวิทยุสาธารณะ โดยเป็นเรื่องปัจจุบันและเป็นเรื่องด่วนที่จะจัดการ น่าจะเป็นข้อเสนออันหนึ่งที่กสทช.นำไปดำเนินการได้ ก็อยากจะฝากน้องๆ ไป
ประการต่อไปก็คือว่า สิ่งที่จะเข้าใจตรงนี้ได้ กสทช.เป็นองค์กรอิสระเหมือนอย่างกรรมการสิทธิฯ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ต้องยอมรับสิ่งที่เรียกว่า การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อย่างที่ผมพูดหลายครั้ง ผมไม่ได้ตั้งใจที่จะเยินยอพระอาจารย์หรือว่าพวกเรา แต่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนคือ ต้องรับฟังความเห็นของภาคประชาชน อย่ามองว่าสิ่งที่ภาคประชาชนพูดเนี่ย มันเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นคำพูดที่ไม่มีความหมาย แต่การมีส่วนร่วมภาคประชาชนคือต้องฟังความเห็นเค้า และทำให้เค้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผมบอกเลยวิทยุชุมชนเนี่ย ในส่วนของภาคประชาชนได้ เติบโตด้วยตัวเองมาตลอด ผ่านการถูกกล่าวหา เป็นวิทยุเถื่อน เป็นวิทยุนอกกฎหมาย เป็นวิทยุอ.บ.ต. เป็นวิทยุที่เอาแต่ธุรกิจ แต่ตัวจริงขณะนี้ล้มลุกคลุกคลานมาก วิทยุศาสนาก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้ากสทช. ใช้มิติของการมีส่วนร่วมภาคประชาชน รับฟังความเห็น จะทำให้ได้ข้อเสนอแนวทางในการแก้ไขได้ ก็อยากจะฝากสิ่งเหล่านี้นะฮะ คุณมณีรัตน์ใช่ไหม เป็นหัวหน้าทีมนะ คุณไปสรุปแล้วเสนอท่านนทีเลยนะฮะ แล้วเดี๋ยวผมจะโทรคุยกับท่านอีกทีหนึ่ง นะครับ เสนอบอกว่า หมอนิรันดร์สรุปว่าอย่างนี้แหละ มันไม่ใช่เป็นความผิดของคุณหรอกไม่ต้องกลัว ทำได้ใช่ไหม ทำได้นะฮะ
ทั้งหมดนี้ผมคิดว่า วันนี้ก็อยากจะเรียนพระอาจารย์และหลวงพ่อและศิษยานุศิษย์ว่า ก็ต้องขอโทษที่หลายคนอาจจะตั้งใจว่า ท่านนทีจะได้มาและแก้ไขปัญหาได้ ที่ผมบอกว่า มันคงแก้ไม่ได้ในระยะปัจจุบันทันด่วน ถึงท่านนทีมานั่งอยู่ตรงนี้ ก็ไม่มีทางบอกว่า โอเคเห็นด้วยหรอกครับ และกลับไปทุกอย่างมันจะดีหมด แต่มันอยู่ที่ว่า เราจะต้องทำให้มีขบวนการในการรองรับ ให้ท่านได้เข้าใจและในขณะเดียวกันนั้น ไปแก้ไขกฎหมาย ระเบียบหลักเกณฑ์ต่างๆ ตรงนี้ถึงต้องบอกว่า ต้องใจเย็นๆ นะครับ การที่จะทำให้คนยอมรับได้เนี่ย ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ยิ่งระดับ ดร. และเป็น กสทช. ด้วย ท่านไม่ใช่คนที่อยู่ดีๆ ก็ลอยมานะครับ ท่านก็มีศักยภาพในตัวท่านเองเยอะเหมือนกัน อันนี้ก็ต้องให้ความเคารพนับถือซึ่งกันและกันนะครับ เพราะฉะนั้นท่านอาจารย์วรเดชอย่างต่อว่าผมนะ เพราะฉะนั้นถ้าคราวหน้าผมนัดท่านนทีได้แน่ๆแล้ว ผมจะเชิญอาจารย์วรเดชมา แต่ห้ามมาทะเลาะกันนะ ถ้างั้นก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านนะครับ
|